นางเสาวลักษณ์ ปรปักษ์พ่าย หัวหน้างานปฏิบัติการชุมชน สำนักเลขานุการยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เป็นต้นมา ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความยากลำบาก เพราะมีการเลิกจ้างงาน การปิดกิจการ มีมาตรการเข้มงวดในการเดินทาง การขนส่งสินค้าและการค้าขายแบบเดิมไม่สะดวก ผู้คนหันมาค้าขายทางออนไลน์มากขึ้น
“พอช. จึงสนับสนุนให้เครือข่ายชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศนำสินค้าต่างๆ ที่ชุมชนมีอยู่ เช่น อาหารแปรรูป ข้าวสาร น้ำพริก ผลไม้ ขนม สมุนไพร เสื้อผ้า ฯลฯ มาค้าขายทางออนไลน์ โดยใช้ Facebook ‘ตลาดนัดองค์กรชุมชน’ เป็นช่องทางการติดต่อซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง เริ่มเปิดตลาดออนไลน์เมื่อเดือนเมษายน 2563 ทำให้พี่น้องชุมชนมีช่องทางการค้าขายมากขึ้น บางชุมชนที่เคยส่งผลไม้ไปตลาดต่างประเทศ เมื่อส่งออกไม่ได้ก็หันมาค้าขายออนไลน์ในประเทศ ช่วยลดความเดือดร้อนของพี่น้องได้มาก” นางเสาวลักษณ์กล่าว
ต่อมาในปี 2564 พอช.ได้ร่วมมือกับคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พัฒนาศักยภาพเครือข่ายธุรกิจชุมชนให้มีความรู้และทักษะในเรื่องต่างๆ เพื่อยกระดับให้เป็นผู้ประกอบการออนไลน์มืออาชีพ โดยการจัดฝึกอบรม เช่น การสมัครเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ การเขียนเรื่องเล่า เพื่อให้สินค้ามีความน่าสนใจ การตัดต่อภาพ ตัดแต่งคลิปโฆษณาสินค้าด้วยโทรศัพท์มือถือ การไลฟ์สดเพื่อการขายและรีวิวสินค้า การสร้างกลยุทธ์การขาย (โปรโมชั่น พรีออร์เดอร์) ฯลฯ มีผู้นำเครือข่ายธุรกิจชุมชนทั่วประเทศผ่านการอบรมจำนวน 515
นอกจากนี้ พอช.ยังได้จัดทำโครงการ ‘ชุมชนแบ่งปัน แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าสู้ภัยโควิด-19’ หรือ ‘Community Barter Trade’ เพื่อให้ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศมีช่องแลกเปลี่ยนสินค้าตามที่ชุมชนต้องการ โดยไม่ต้องซื้อหา เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามวิกฤต เช่น ชาวเลจากภาคใต้ที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว นำปลาแห้ง ปลาเค็มหมึก กะปิ ฯลฯ มาแลกข้าวกับชาวนาในภาคเหนือและอีสาน พี่น้องในภาคกลาง ตะวันตก และอีสาน นำข้าวสาร อาหารแห้ง สมุนไพร ผักสด มาช่วยเหลือหรือซื้อขายในราคาถูกกับพี่น้องชุมชนในเมืองในช่วงสถานการณ์โควิด
ปัจจุบันมีสินค้าจากเครือข่ายธุรกิจชุมชนทั่วประเทศมาวางจำหน่ายใน www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com 200 รายการ เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่สายน้ำแร่แจ้ซ้อน จากเครือข่ายธุรกิจชุมชนจังหวัดลำปาง เป็นข้าวกล้องอินทรีย์ ไรซ์เบอรี่ ปลูกด้วยน้ำแร่ธรรมชาติจากอุทยานแห่งชาติน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน
"คนสุขภาพดีด้วยออนเซ็น ข้าวมากคุณค่าด้วยน้ำแร่ ข้าวจึงมีสารต้านอนุมูลอิสระ และธาตุอาหารปริมาณมากกว่าในข้าวไรซ์เบอรี่ปกติทั่วไป ช่วยชะลอวัย อิ่มท้องได้นาน ควบคุมน้ำหนัก และลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด ทำให้สุขภาพแข็งแรง” คำบรรยายสรรพคุณที่ระบุเอาไว้
นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น กาแฟ Chef Coffee เป็นกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา จากชุมชนบ้านห้วยแก้ว จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไส้อั่วปลานิล จากจังหวัดแพร่ ปลากะพงขาวปรุงรส จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำตาลอ้อยอินทรีย์ จากจังหวัดปราจีนบุรี ผ้าคลุมไหล่ผ้าคราม จากจังหวัดสกลนคร กระเป๋าผ้าลายฟอสซิล จากจังหวัดสตูล ฯลฯ เชิญชมสินค้าเพื่ออุดหนุนธุรกิจชุมชนได้ที่ www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com
ไส้อั่วปลานิล อาหารสุขภาพ ไขมันน้อย จากจังหวัดแพร่
เรื่องและภาพ : สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’
พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’
‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด
เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”
คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย
บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ
สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ