ขับเคลื่อน Happy Workplace บริษัทปลอดภัย 600 แห่ง ทั่วไทย ปี 65

ก.แรงงาน-สสส.ประชุมเดินหน้าขับเคลื่อน  “Happy Workplace” ปลุกปั้นกลุ่ม จป. นำร่องเจาะพื้นที่ศักยภาพทางเศรษฐกิจภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง เป็นผู้นำความปลอดภัย-ลดอุบัติเหตุ-ลดโรคในสถานประกอบการ ควบคู่พัฒนาชุดความรู้ การจัดการความเสี่ยงแบบองค์รวม-การสร้างเสริมสุขภาพ 10 Packages มุ่งขยายผลองค์กรสุขภาวะจาก 200 แห่ง เป็น 600 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 65

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “พัฒนา จป. เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ” รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานด้านสุขภาวะองค์กร เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2565 ที่โรงแรมโนโวเทล มารีน่า ศรีราชา แอนด์ เกาะสีชัง จ.ชลบุรี มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่ จ.ชลบุรีและระยอง เข้าร่วมอบรม 100 คน

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพ จป. เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ” ตามโครงการพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานด้านสุขภาวะองค์กร เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ  กล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีหน้าที่กำกับดูแลให้สถานประกอบการมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมาย เป็นบุคคลสำคัญในองค์กรซึ่งถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจสู่ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัย ไม่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน จึงร่วมกับ สสส. ริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานด้านสุขภาวะองค์กร เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) มุ่งพัฒนาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานให้มีทักษะที่จำเป็นในการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ขณะนี้โครงการได้นำร่องในสถานประกอบการแล้ว 200 แห่ง พร้อมขยายผลไปสู่ 600 แห่งทั่วประเทศ ภายในเดือน ธ.ค.2565

“การกำหนดนโยบาย Safety Thailand ขับเคลื่อนงานด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด สนับสนุนให้มีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความปลอดภัยในการทำงานให้เข้มแข็งและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สร้างการรับรู้และจิตสำนึกให้เกิดขึ้นทุกภาคส่วน มุ่งหวังให้สถิติอุบัติเหตุจากการทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ความปลอดภัยในการทำงานจะสำเร็จได้ต้องร่วมมือ พัฒนาบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเป็นระบบจากทุกภาคส่วน การรู้เท่าทันถึงอันตรายที่มาควบคู่กับพัฒนาการทางเทคโนโลยีต่างๆ”

จากการระบาดของโควิด-19 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีบทบาทสำคัญในการประสานงานหน่วยงานภาคสาธารณสุข ดำเนินมาตรการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดในสถานประกอบการ มาตรการ Bubble and Seal และ Factory Sand Box ทำให้ควบคุมการแพร่ระบาดในสถานประกอบการควบคู่กับกระบวนการผลิต

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส.

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. กล่าวว่า สสส.มุ่งพัฒนาสุขภาวะ “คนทำงานในองค์กร” บุคคลสำคัญและเป็นกำลังหลักของครอบครัว องค์กร ชุมชน และสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย กลุ่มที่เป็นกลไกสำคัญในการขยายผล ถ่ายทอด และติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในสถานประกอบการ สสส.ได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน พัฒนาชุดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิดสุขภาวะองค์รวมของวัยทำงาน อาทิ คู่มือขั้นตอนการดำเนินการโครงการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบกิจการ แนวคิดหลักการประเมินและจัดการความเสี่ยงแบบองค์รวม วิธีการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง หลักการและกลวิธีการสร้างเสริมสุขภาพ ชุดความรู้สุขภาพ 10 Packages และมาตรการ COVID Free Setting ในสถานประกอบกิจการ รวมถึงคู่มือการส่งเสริมสุขภาวะในองค์กร ผู้สนใจข้อมูลติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.happy8workplace.com

การจัดทำหลักสูตรให้เจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัยในการป้องกันอุบัติเหตุ ตั้งแต่การดูแลตัวเอง สังคมรอบข้าง โควิดสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การฉีดวัคซีนเป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะไปต่อ การสร้างความสุขเพื่อมองเห็นองค์รวมและสังคมของคนรอบข้าง การสร้างความสมดุล 4 มิติ การควบคุมเรื่องการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เรามีอัตราความตายจากโรค NCDs มากถึง 70% รวมถึงปัญหาสุขภาพจิต และจะต้องช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับลูกจ้างในสถานประกอบการด้วย

นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานด้านสุขภาวะองค์กร เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ มุ่งพัฒนาเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานให้มีทักษะที่จำเป็นในการเป็นผู้นำการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ที่มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมของลูกจ้างในสถานประกอบการ รวมทั้งให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ลูกจ้างมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและปลอดภัยในการทำงาน.

...............................................

นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

จังหวัดชลบุรีได้รับการวางแผนให้เป็นเมืองนวัตกรรม เป็นเมืองหลักทางด้านอุตสาหกรรม และการค้าขายของภาคตะวันออก กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองนวัตกรรมเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน มีท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือพาณิชย์สำคัญของไทย มีโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานน้ำตาลทราย โรงงานมันสำปะหลังอัดเส้นและอัดเม็ด โรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชลบุรีมีสถานประกอบการ 1.6 หมื่นแห่ง ลูกจ้าง 7.6 แสนคน เป็นแหล่งศูนย์รวมอุตสาหกรรมนำรายได้เข้าประเทศไทยจำนวนมาก ความสำเร็จจากการขับเคลื่อนผู้ใช้แรงงานพัฒนาอุตสาหกรรมส่งผลให้จังหวัดชลบุรีเป็นเมืองอุตสาหกรรมน่าอยู่ ความมั่นคงของประเทศ

ขณะเดียวกัน ชลบุรีมีแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมหลากหลายทางธรรมชาติ วัดวาอารามเก่าแก่ ชุมชนน่าสัมผัส งานหัตถกรรมประณีต สถานบันเทิงทันสมัย กิจกรรมผจญภัยหลายรูปแบบเป็นที่ดึงดูดนักลงทุน มีประชากร 1.3 ล้านคน มีประชากรแฝงเข้ามาทำงาน เมืองชลบุรีมีงานเทศกาลงานบุญกลางบ้าน งานเครื่องจักสานพนัสนิคม งานประเพณีวันไหล งานประเพณีกองข้าวศรีราชา งานประเพณีวิ่งควาย งานแห่พระพุทธสิหิงค์ งานกาชาดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความโดดเด่น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)