เมื่อวันที่ 30 พ.ค.รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ในฐานะโฆษก อว. เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.) สำนักงานปลัด อว.ดำเนินโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศและโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ผ่านแผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในโครงการพัฒนาสูตรอาหารต้นทุนต่ำและการแปรรูปไก่งวงสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวงในเขตตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ที่มี ผศ.ดร.สุทิศา เข็มผะกา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส.เป็นผู้ดูแลโครงการ
รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไก่งวงครบุรี เป็นกลุ่มที่มีการเลี้ยงไก่งวงเพื่อจำหน่าย มีสมาชิก 22 ครัวเรือน และมีแนวโน้มที่จะมีการเลี้ยงไก่งวงมากขึ้นเพื่อเป็นอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำนาหรือปลูกมันสำปะหลัง โดยกลุ่มหลักจะอยู่ที่ หมู่ 8 ตำบลแชะ อำเภอครบุรี มีกิจกรรมการเลี้ยงไก่งวง 2 รูปแบบ คือ เลี้ยงไก่งวงพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกจำหน่าย และเลี้ยงไก่งวงขุน อย่างไรก็ตามเกษตรกรกลุ่มนี้ยังมีปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ที่ทำให้เกษตรกรขาดศักยภาพในการผลิตไก่งวงให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานของตลาด ถึงแม้ว่าความต้องการเนื้อไก่งวงขุนของตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่องก็ตาม ซึ่งปัญหาที่เกษตรกรต้องการแก้ไขในเบื้องต้น คือ 1.ต้องการอาหารไก่งวงคุณภาพดีแต่ต้นทุนต่ำ 2.ต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่งวงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดความเสี่ยงในบางช่วงที่ไม่สามารถจำหน่ายไก่งวงขุนได้ โดยผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการพัฒนาสูตรอาหารให้กับเกษตรกรใน 2 รูปแบบ คือ อาหารผสมสำเร็จรูปสำหรับไก่งวงระยะขุน อายุ 12–16 สัปดาห์ ที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 21 % และหัวอาหารเข้มข้นที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 40% สำหรับไก่งวงขุนอายุ 16–24 สัปดาห์ โดยหัวอาหารเข้มข้นสามารถนำไปผสมต่อกับวัตถุดิบแหล่งพลังงานที่เกษตรกรสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ข้าวโพด รำละเอียด มันเส้น เป็นต้น
“ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ดำเนินการผลิตหัวอาหารเข้มข้นจำหน่ายให้กับกลุ่มสมาชิก ทำให้ต้นทุนค่าอาหารลดลง 15-20% ค่าอาหารเหลือ 13-14 บาท/กก. จากเดิม 16 – 18 บาท/กก. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 40-45% หรือ รายได้เพิ่มขึ้น 50-100 บาท /กิโลกรัม ในส่วนของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่งวงจ๊อได้มีการพัฒนาสูตรขึ้น ผ่านการประเมินคุณภาพในห้องปฏิบัติการและทดสอบ sensory test จากผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่งวงทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น 60 % โดยไก่งวง ราคา 520 บาท สามารถขายได้ 800 บาท” รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล