อุทยานวิทย์ ม.มหาสารคาม นำนวัตกรรมช่วยชุมชนถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดต้นแบบระบบน้ำสั่งการผ่านสมาร์ทโฟนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์เชิงการค้า

    เมื่อวันที่ 27 พ.ค.รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ในฐานะโฆษก อว. เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.) สำนักงานปลัด อว.ดำเนินโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศและโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ผ่านแผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดต้นแบบระบบน้ำสั่งการผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์เชิงการค้าเพื่อตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดย ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกผักอินทรีย์บ้านหนองแปน บ้านหนองแปน ต.หนองจิก อ.บรบือ จ.มหาสารคาม  

เลขานุการ รมว.อว.กล่าวว่า อุทยานฯ ได้ทำการลงพื้นที่ สำรวจเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ ด้านปัญหาที่ต้องการปรับปรุงการให้บริการบริหารจัดการภายในฟาร์ม (IoT) การออกแบบระบบการจัดการภายในฟาร์ม เช่น ระบบการให้น้ำ ให้ปุ๋ย แบบฟอร์มบันทึกที่จำเป็นต่อระบบการผลิตผักอินทรีย์ แบบสมาร์ทฟาร์ม ตลอดจนเทคนิคและเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ให้ได้คุณภาพ การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดต้นแบบระบบน้ำสั่งการผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์ผ่าน “ชุดต้นแบบระบบน้ำสั่งการผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์เชิงการค้าเพื่อตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คน ปรากฎว่า  สามารถลดต้นทุนการผลิตด้านแรงงานและการบริหารจัดการภายในฟาร์ม ได้แก่  การลดการจ้างแรงงานรายวันโดยมีการนำระบบการบริหารจัดการแบบสมาร์ทฟาร์มเข้ามาควบคุมระบบการให้น้ำให้ปุ๋ย ผ่าน application ทางสมาร์ทโฟน ซึ่งทำให้ลดระยะเวลาในการดูแลรักษาตลอดอายุการเก็บเกี่ยวของผลผลิตในแต่ละรอบ

รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญ ยังลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เมื่อสามารถลดการใช้สารเคมีและสารกำจัดแมลงศัตรูพืช จึงทำให้ระบบนิเวศน์ไม่เกิดการปนเปื้อนสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำและตกค้างในดิน มีความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งทำให้สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่องและควบคุมคุณภาพผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ

“ผู้ประกอบการมีรายได้ที่เกิดขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการ โดยคิดเป็นร้อยละ 25 จากรายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีรายได้หลักจากการผลิตและจำหน่ายผักสลัดและต้นอ่อนทานตะวันงอกและจากนี้ จะมีการขยายผลในพื้นที่โดยพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตพืชผักตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ขณะที่ ผู้ประกอบการสามารถสร้างเครือข่ายการผลิตในรูปแบบ Contact Farming ในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง สามารถสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับเกษตรสมาชิกได้โดยมีแผนที่จะพัฒนาเป็นผู้ประกอบการด้านการผลิตพืชอาหารเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อาหาร” รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

กระทรวง อว.ลุยยกระดับผลการประเมิน PISA เด็กไทยปี 68

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายในการส่งเสริมสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางและดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว.โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

“ศุภมาส” หนุน สกสว. ขับเคลื่อนการใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในงาน “TRIUP FAIR 2024” ดึงภาครัฐ-เอกชน ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจให้ประเทศไทยอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 หรือ TRIUP FAIR 2024 ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand :

“ศุภมาส” สั่งการ “สุชาดา” นำทีมผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่ลุยช่วยสุโขทัย เตรียมรับมือมวลน้ำเหนือก้อนใหญ่จาก จ.แพร่

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้