พอช. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (Big Rock)

เช้าวันนี้ (27 พฤษภาคม 2565) ที่สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  นายปฏิภาณ  จุมผา  รองผู้อำนวยการ  รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.  นายสิน สื่อสวน ที่ปรึกษา พอช. และผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชน  ร่วมแถลงข่าวผลการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริต  โดยมีสื่อมวลชนหลากสำนักเข้าร่วมทำข่าว

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักกิจกรรมการปฏิรูปที่ 1 หรือ Big rock การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต  ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชน เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564  มีหลักคิดสำคัญคือให้ภาคประชาชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการสร้างสังคมสุจริต โดยการคิด ออกแบบและดำเนินการโดยเครือข่ายภาคประชาชนจากล่างขึ้นสู่บน (Bottom up)

เน้นภารกิจสำคัญ 4 ด้าน  ประกอบด้วย  การสร้างสำนึกพลเมือง  การสร้างระบบพื้นที่เปิดเผยโปร่งใส  การสร้างธรรมาภิบาลชุมชน  และการปฎิบัติการต้านทุจริต  ดำเนินการในระดับจังหวัด 17 จังหวัด  และระดับตำบล 171 ตำบลในปัจจุบัน  ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวในหมู่ประชาชน  เกิดคณะทำงานทำงานขับเคลื่อนของภาคประชาชนและมีแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ทุกพื้นที่  มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระดับประเทศ  มีการประสานความร่วมมือกับภาคีและหน่วยงานในระดับพื้นที่  

ทำให้เกิดระบบการป้องกันและเฝ้าระวัง  อาทิ  การสร้างธรรมนูญชุมชนด้านการสร้างชุมชนสุจริต การสร้างช่องทางการแจ้งข้อมูลและเบาะแสของเครือข่ายภาคประชาชน  การสร้างข้อตกลงกับหน่วยงานในการเปิดเผยข้อมูล  การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักแก่ประชาชนในพื้นที่  รวมทั้งการเข้าตรวจสอบการดำเนินการโครงการต่างๆ

ถือเป็นการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เครือข่ายภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทหลักในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศ  และมีการวางแผนที่จะขยายพื้นที่ดำเนินการให้ครอบคลุมทุกจังหวัด  โดยในแผน 5 ปีจะขยายผลพื้นที่ระดับตำบลให้ได้ใน 1 ใน 3  หรือประมาณ 2,500 ตำบลทั่วประเทศ

สำหรับกิจกรรม (Big rock) ภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริต  มี 5 กิจกรรม ประกอบด้วย 1.การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต 2.การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ 3.การพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว ฃโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติในการดำเนินคดีทุจริตทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  4.การพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใส  ไร้ผลประโยชน์ และ  5.การพัฒนามาตรการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ

รมว.พม. แจ้งตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ด้าน พอช. พร้อมอนุมัติงบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติภาคเหนือและอีสาน

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 จังหวัด 47 อำเภอ 207 ตำบล 22,817 ครัวเรือน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา