อุทยานวิทย์ มจธ.พัฒนารูปแบบและประสิทธิภาพของแผ่นดามกระดูกส่วนไหปลาร้า เพิ่มความแข็งแรงให้กับแผ่นดามกระดูกเพื่อป้องกันการแตกหัก

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า สำนักอุทยานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ดำเนินโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ผ่านแผนงานยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม เรื่อง “การพัฒนารูปแบบและประสิทธิภาพของแผ่นดามกระดูกส่วนไหปลาร้าผสมผสานกับเทคโนโลยีกระบวนการยิงผิวด้วยอนุภาคละเอียด” ทั้งในส่วนของขอบเขตการดำเนินงาน การติดตามความก้าวหน้าการดำเนิน พร้อมให้ข้อมูลและคำแนะนำในการจัดทำรายงาน Industry Convergence ตลอดจนการแนะนำ Platforms ต่างๆ ที่สามารถช่วยสนับสนุนการต่อยอดงานวิจัยด้าน Deep Tech สู่เชิงพาณิชย์ต่อไป

            น.ส.ทิพวัลย์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ปัจจุบันมีภาคอุตสาหกรรมที่ประกอบธุรกิจด้านเครื่องมือแพทย์ให้ความสนใจในเทคโนโลยีของงานวิจัยพัฒนาชิ้นนี้มาก เพราะมีการนำเทคโนโลยีโลการปรับผิววัสดุด้วยการยิงอนุภาคอะเอียดมาใช้ในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับแผ่นดามกระดูกเพื่อป้องกันการแตกหัก หรือการเสียหายของแผ่นดามกระดูกระหว่างการรักษา ซึ่งอนาคตคาดว่าจะส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการลดปริมาณการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ มูลค่า 2 ล้านบาท เกิดการจ้างงานเพิ่มในภาคอุตสาหกรรม มูลค่า 1.5 ล้านบาท และเกิดการลงทุนเพื่อการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติม มูลค่า 2 ล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบเชิงสังคมที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้น มากกว่าเดิมอย่างน้อย 20% โดยวัดจากระยะเวลาในการรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดของแพทย์ได้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 15% โดยวัดจากระยะเวลาในการผ่าตัด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล