เมื่อวันที่ 26 พ.ค.รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ในฐานะโฆษก อว. เปิดเผยว่า อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัด อว.ดำเนินโครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศและโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ผ่านแผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยมีผลงานเด่นที่สร้างผู้ประกอบการชุมชน คือ น.ส.ปรียาวรรณ มีนุ่น บริษัท แอล ซี เอช ริช จำกัด โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ ได้เข้าไปช่วยเหลือให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการทำธุรกิจ การให้ความรู้และแนวทางการจัดทำแผนธุรกิจ โดยที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนธุรกิจ โดยแผนธุรกิจ(Business plan) จะเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะใช้ในผู้ประกอบการธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นใหม่ กระทั่งผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจมาก่อนแล้วก็ตาม แผนธุรกิจ ก็เปรียบเสมือนการร่างแผนที่ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบมีแนวทางในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
“การจัดทำแผนธุรกิจ (Business plan) ทางที่ปรึกษาได้จัดให้มีการ Workshop เพื่อนำความรู้ที่ได้ในการอบรม มาจัดทำเป็นแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ เคอร์คูมา ครีม เพื่อให้ผู้ประกอบการได้วิเคราะห์ถึงรายละเอียดธุรกิจในตัวแปรที่สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ขาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคต่าง ๆ ของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจมีความเป็นไปได้ มีความสามารถในการแข่งขัน และเกิดการบริหารจัดการที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งภายในกิจกรรมผู้ประกอบการจะต้องจัดทำแผนธุรกิจ 1 ฉบับ และมีการติดตามงาน รวมถึงการขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากปรึกษาผ่านทางออนไลน์ เพื่อให้ได้แผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ก่อนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พร้อมออกสู่ตลาด” โฆษก อว.กล่าวและว่า
ทั้งนี้ ทางโครงการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ตัวเดิม ที่เป็นแคปซูลเจลขมิ้น ที่บรรเทาอาการปวดข้อเข่า ข้อเข่าอักเสบ แต่ในผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ จะพัฒนามาเป็นครีมนวดผิวกายบรรเทาปวด ซึ่งทำให้ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานสารกลุ่มเคอร์คูมินอยได้ เนื่องจากมีโรคที่เป็นข้อห้ามทาน สามารถใช้ผลิตภัณฑ์แทนนี้แทนได้ โดยเปลี่ยนมาใช้การทา ถู นวด แทนการรับประทาน จากนั้นมีการจดแจ้งผลิตภัณฑ์กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยการจดแจ้งนั้นอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยมีชื่อทางการค้าว่า “คามีล่า นูริซซิ่ง มาสสาจ บอดี้ ครีม” “Camela nourishing massage body cream” เลขที่จดแจ้ง 13-1-6400009485 ประเภทเครื่องสำอาง นวด/ผิวกาย/ไม่ต้องล้างออก โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเน้นการผ่อนคลาย โดยใช้สีเหลืองเพื่อบอกสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนประกอบ มีการบอกถึงการใช้นวัตกรรมการดูดซึมที่ดี ขนาดบรรจุ 50 กรัม โดยขณะนี้ มีการวางจำหน่ายแล้ว
“จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์นั้น ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้รับความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และที่สคัญเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น” รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล