เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม ThaiHealth Watch 2022 The Series หัวข้อ “เรื่องกินเรื่องใหญ่ กินอย่างไร ไม่ขาด ไม่เกิน” ในรูปแบบถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจและยูทูบช่อง ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์กว่า 1,000 คน
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า 1 ใน 10 เทรนด์สุขภาพคนไทย ปี 2565 โดย Thaihealth Watch 2022 สสส. คือการบริโภคที่ขาดสมดุล ล้นเกิน หรือขาดแคลน จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป จากข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชากร ปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจ 84,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ พบพฤติกรรมของคนไทยที่นิยมรับประทานเป็นประจำ หรือความถี่ 3-7 วันต่อสัปดาห์ คือ อาหารไขมันสูง 42% อาหารแปรรูป 39% และเครื่องดื่มเติมน้ำตาลบรรจุขวดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 34% กลายเป็นรายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย 7,450 บาทต่อสัปดาห์ สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยกำลังขาดความมั่นคงทางอาหาร และยังเสี่ยงต่อการป่วยโรค NCDs ในระยะยาว
“ช่วงเปิดเทอมนี้ เด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี ยิ่งน่าเป็นห่วง เพราะเป็นวัยที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำ และยังพบว่า สัดส่วนการกินผักที่เหมาะสมอยู่ที่ 63% ส่วนการกินผลไม้ที่เหมาะสมมีเพียง 1 ใน 3 ของมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดเท่านั้น ท่ามกลางการบริโภคแบบขาด ๆ เกิน ๆ นี้ สสส. ได้เร่งต่อยอดการดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์ให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมถูกต้องอย่างยั่งยืน ผู้สนใจติดตามข้อมูลได้ที่ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
นางสาวแววตา เอกชาวนา นักโภชนาการ และที่ปรึกษาโครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม สสส. กล่าวว่า คนไทยมีการบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้น กินผักและผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการรับสารเคมี เช่น ไนเตรท ไนไตรท์ หรือสารยืดอายุอาหาร รวมถึงขาดวิตามิน และแร่ธาตุ สิ่งสำคัญคือ การวางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้เหมาะสมกับช่วงวัย ลดการกินจุบจิบระหว่างมื้อ ลดอาหารไขมันสูง และเครื่องดื่มชง ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปเกิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะมีไขมันอิ่มตัวและสารเคมีที่เข้าไปสะสมในร่างกาย และควรรับประทานผักและผลไม้เพิ่มในทุกมื้อเพื่อสร้างสมดุล
นายชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต นายแบบและนักแสดงที่ใส่ใจสุขภาพ กล่าวว่า สุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องดูแลใส่ใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นดาราหรือนายแบบ นอกจากการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการมีสุขภาพที่ดีคือกำไรชีวิตในระยะยาว ส่วนตัวรับประทานอาหารแบบนับแคลอรี่ มีการวางแผนที่ยืดหยุ่น เช่น ถ้ามื้อนี้อยากรับประทานของทอด มื้อถัดไปก็จะเลือกกินสลัด หรือถ้ามื้อนี้รับประทานของหวาน มื้อถัดไปจะลดน้ำตาลลง เพื่อให้เกิดความสมดุลในการใช้ชีวิตโดยที่ไม่ต้องบังคับหรือฝืนตัวเองจนอาจส่งผลเสียต่อจิตใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต