ผุดนวัตกรรมเกมออนไลน์ ‘สต๊าซ’รุกปั้นสูงวัยฉุกคิดรู้ทันสื่อ

ปัง ปัง ! ยุคสื่อออนไลน์กลบสื่อกระแสหลักตัวจริงเสียงจริง   สสส. จับมือ ม.มหิดล เปิดตัว "ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ" แก้ปัญหาช่องว่างจากการต้มตุ๋นทางออนไลน์   ยกปมผู้สูงอายุถูกหลอกในโลกออนไลน์ ผุดนวัตกรรมเกมออนไลน์ หยุด-คิด-ถาม-ทำ ‘สต๊าซ’ รุกปั้น สูงวัยรู้ทันสื่อ

ภาพผู้สูงวัยในสมัยก่อนจะนั่งเก้าอี้โยก ถักไหมพรมโดยมีแมวคู่ใจอยู่ใกล้เคียง หรือผู้สูงอายุนั่งเอกเขนกอ่านหนังสือพิมพ์ดื่มกาแฟตามศูนย์การค้าต่างๆแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ปัจจุบันนี้กลุ่มผู้สูงวัยอยู่กับโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน ไอแพ็ดตั้งกลุ่มไลน์กลุ่มก่อการดี ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างที่เรียกว่าปฏิบัติการเพื่อสังคม บริหารจัดการปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มีศักดิ์ศรี มองเห็นอนาคต แต่ยังมีกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งรู้ไม่เท่าทันข้อมูล   เมื่อใช้โทรศัพท์มือถือถูกแก็งค์Call Center ต้มตุ๋นหลอกลวงให้โอนเงิน หรือการเล่นแชร์ลูกโซ่ การเล่นเกมออนไลน์อย่างเสียรู้เสียทรัพย์โดยใช่เหตุ

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานแถลงข่าว “การจัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ และการเสวนา หยุด-คิด-ถาม-ทำ : วัคซีนออนไลน์เพื่อสูงวัยรู้ทันสื่อ” เมื่อวันที่31มีนาคม2565 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรม “เกมออนไลน์ หยุด คิด ถาม ทำ หรือ STAAS (สต๊าซ) เครื่องมือ พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ด้วยตัวเอง บนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ ทั้งในระบบปฎิบัติการ iOS และ Android เป็นการถ่ายทอดสดผ่านทางFacebook Live:RILCA.Mahidol University ที่ห้อง305 อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรศ.ดร.นิธิดา แสงสิงแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ 

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ประกอบกับสื่อมีอิทธิพลสำคัญต่อโลกยุคใหม่ การเตรียมพร้อมปัจจัยสุขภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะ ทักษะเท่าทันสื่อ เพื่อให้ผู้สูงอายุก้าวข้ามขีดจำกัดไปเป็นพลเมืองสูงวัยเท่าทันสื่อจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนาหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ เพื่อเตรียมพื้นฐานก่อนที่จะให้ผู้สูงวัยเริ่มไปใช้สื่อ ฝึกให้ผู้สูงวัยมีสติก่อนเชื่อ สามารถใช้สื่อได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย มีโรงเรียนผู้สูงอายุเข้าร่วมกว่า 20 โรงทั่วประเทศ

นางญาณีกล่าวว่าสสส. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เร่งขยายผลการขับเคลื่อนงานรู้เท่าทันสื่อให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อใช้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมสูงวัย โดยเฉพาะประเด็นสูงวัยเท่าทันสื่อ ได้จัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (Intelligence Center for Elderly Media Literacy : ICEM) โดยมีสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือที่ง่าย สร้างผลกระทบทางสังคมได้จริง ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อและสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมผู้สูงวัยของไทย โดยใช้กลไกของศูนย์วิชาการเป็นระบบสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

คนในกรุงฯคนในชนบทมีการใช้สื่อดิจิทัล สื่อบุคคลกระจายเข้าไปในพื้นที่ชุมชน รพ.สต.อสม.เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อ การจัดการความรู้ได้เป็นอย่างดี ผู้สูงอายุวัย๖๐-๗๐ปีใช้สื่อออนไลน์เป็นมีโอกาสถูกหลอกลวงมากกว่าคนวัย๗๐ปีขึ้นไปที่ไม่ใช้สื่อออนไลน์ หลอกให้ซื้อสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งหาย คนกลุ่มวัย๗๐ปีขึ้นไปในชนบทจะเลือกใช้สื่อบุคคล “ผู้สูงอายุบางคนเชื่อข่าวลวงที่มีการบอกต่อจากบุคคลน่าเชื่อถือในสังคม เกิดความเกรงใจ ทั้งๆที่ข้อความส่งมานั้นเป็นเรื่องบิดเบือน ไม่ถูกต้อง เกิดความเกรงใจไม่กล้าเตือนว่าส่งข่าวเท็จ เมื่อมีการส่งต่อก็กลายเป็นsuper spreader กลายเป็นการแพร่ระบาดข้อมูลที่ผิด ดังนั้นสังคมจะต้องช่วยกันดูแลกันเอง อสม.จะช่วยทำงานได้เป็นอย่างดีเพราะทำงานอยู่กับชุมชนอย่างใกล้ชิด มีโอกาสตรวจสอบข่าวลวงข่าวเท็จ”

รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (ICEM) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าในช่วง5ปีที่ทำงานรู้เท่าทันสื่อ ต้องเน้นผู้สูงวัยเป็นหลัก ลดช่องว่าง เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสื่อได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงสื่อออนไลน์ขณะเดียวกันต้องใช้สื่ออย่างรู้เท่าทันด้วย สมัยก่อนมีสื่อกระแสหลัก มีหลากหลายสำนักพิมพ์ให้ตรวจสอบได้   สื่อบุคคล แต่ปัจจุบันมีช่องว่างเกิดขึ้น ด้วยการยึดหลักการรู้เท่าทันตัวเองจะทำให้รู้เท่าทันสื่อได้ ต้องใช้คาถาเพื่อให้รู้ทันสื่อไม่ถูกหลอกด้วยการใช้สติเปิดรับสื่อ ยิ่งมีเกมออนไลน์เป็นการฝึกทักษะทดลองเล่น

จากข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย 2,000 คนทั่วประเทศ ปี 2564 พบผู้สูงอายุเปิดรับสื่อออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ และสื่อบุคคลตามลำดับ ที่สำคัญพบความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงถึงร้อยละ16โดยเฉพาะการซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริง เชิญชวนลงทุนธุรกิจ และทำบุญ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุต้องเสียเงิน เสียความรู้สึก และเสียรู้ (ได้รับสินค้าไม่มีคุณภาพแต่ราคาสูง) สะท้อนได้ว่าผู้สูงอายุไม่มีทักษะการรู้เท่าทัน ทำให้ถูกหลอกและหลงเชื่อสิ่งที่สื่อนำเสนอ

ผลงานวิจัยเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจเปิดรับสื่อมากที่สุด 1.ข่าวทั่วไป 2.รายการบันเทิง 3.รายการเกี่ยวกับสุขภาพ 4.รายการศาสนาและทำบุญ 5.รายการด้านการเมือง สื่อที่ผู้สูงอายุเปิดรับมากที่สุด 1.โทรทัศน์ 2.สื่อบุคคล โทรศัพท์จากCall Center และ3.สื่อออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์ใช้สิทธิโครงการภาครัฐ โครงการคนละครึ่ง แชร์ข้อมูลเพื่อทักทาย ส่งต่อความรู้ที่เป็นประโยชน์

“นวัตกรรมเกมออนไลน์ “สต๊าซ” เป็นเครื่องมือให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ และฝึกทักษะ “หยุด คิด ถาม ทำ”ที่เป็นหัวใจของ ‘หลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ’ ในรูปแบบเกมออนไลน์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเกมที่จำลองเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ มี 4 เหตุการณ์ คือ 1. ได้รับข่าวน้ำมะนาวเกลือรักษามะเร็ง 2. ข้อความจากครูหนุ่ม 3. ลูกสาวเข้าโรงพยาบาล และ 4. ตำรวจตรวจเงิน ผู้ร่วมเล่นเกมจะได้พิจารณาจากเหตุการณ์แล้วเลือกว่า ควรจะ หยุด คิด ถามหาแหล่งข้อมูล และตัดสินใจทำอย่างไร รวมถึงเกมยังให้ความสำคัญกับการส่งต่อข้อมูลอีกด้วย ทั้งนี้ เกมออนไลน์ “สต๊าซ” ถือเป็นนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อที่เข้ากับยุคสมัย เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุไทยเป็น ‘สูงวัยหัวใจสต๊าซ’ รู้เท่าทันสื่อ” รศ.ดร.นันทิยา กล่าว

ทั้งนี้ภายในการเสวนาหยุด-คิด-ถาม-ทำ : วัคซีนออนไลน์เพื่อผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุกกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 สสส. เข้าร่วมย้ำให้เห็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมรู้ทันสื่อของผู้สูงวัย สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลติดตามได้ทางเว็บไซต์ สสส.

 

         ไอดอลด้านสุขภาพในการรักษาสุขภาพเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม

รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.

สังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้สูงวัยไม่ได้ขึ้นตรงต่อลูกหลาน แต่เชื่อมต่อกับเครือข่าคนนอกกับสื่อออนไลน์โดยตรงหลายรูปแบบ ผู้สูงวัยต้องรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ใช้ประโยชน์จากสื่อให้เกิดความสมดุล ใช้อย่างรู้เท่าทันสื่อ

กลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีจะเข้ามาทำตัวสนิทสนมผู้สูงวัย มีการพูดชักจูงใจให้เสียทรัพย์ มีปัญหาทางจิตใจ ยิ่งในวันนี้สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย มีผู้อายุ๖๐ปีขึ้นไปจำนวนมากกว่า๒๐%ของประชากรของประเทศ เราต้องช่วยกันปกป้องผู้สุงวัยในการใช้Social Media ไม่ให้ถูกหลอก ต้องสร้างความสมดุลทางด้านจิตใจ ด้วยการหยุด คิด  ถาม  ทำ ให้เกิดความสมดุลทางสติ เพื่อควบคุมกิเลส วัฒนธรรมไทยมีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันช่วยเหลือกัน ถ้าจะเปรียบเทียบตาชั่งต้องสร้างความสมดุลระหว่างสติ และ กิเลส สติจะต้องควบคุมมิให้เกิดกิเลสมากไปหรือน้อยไป เพื่อให้เกิดความสมดุลจะเกิดเป็นความสุขใจ ถ้าปล่อยให้ตาชั่งเอียงสติสตังค์ก็จะเกิดความเสียหายได้

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะของโลกเคยกล่าวถ้อยคำคมไว้ว่า If there is religious that would cope with modern scientific needs it would be Buddhism  ปรัชญาพุทธสติ-กิเลส การแก้ไขปัญหาต้องรู้ให้เท่าทัน ผู้สูงวัยมีปัญหาทางจิตใจถึง70%มากที่สุด เน้นหนักให้มีการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม วิชาการสื่อสารต่างๆ ต้องใช้สติสัมปชัญญะ สติคือการรู้เท่าทัน ใช้ในเหตุการณ์เฉียบพลัน ต้องใช้ความยับยั้งชั่งใจ หยุดความคิดชั่ววูบด้วยการใช้สติเป็นเครื่องมือ ให้เกิดความรู้สึกตัวและรู้เท่าทัน มีความรู้ตัวตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้ใจลอย สติเสริมพลังรู้ผิดชอบชั่วดี มีเพื่อนคู่หูที่พร้อมจะเดินเคียงข้างกันเมื่อประสบปัญหาชีวิต  สติ(รู้เท่าทัน) สัมปชัญญะ(รู้สึกตัว) สติมาปัญญาเกิด ถ้าตาชั่งเอียงเมื่อไหร่โอกาสเกิดความเศร้าหมองทำให้เสียทรัพย์ได้

ถ้าสติเล็ก กิเลสจะขยายใหญ่ขึ้น ถ้าสติใหญ่ กิเลสจะอาย และเล็กลง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming

ระดมความคิด"ถก"กม.โลกร้อน ชี้ทุกประเทศต้องร่วมมือพิทักษ์โลก

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนฐานสิทธิมนุษยชน ณ ห้อง 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ