Universal Design อารยสถาปัตย์เพื่อสังคม ตอบโจทย์โลกผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่มีความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายโดยส่วนใหญ่มักพบปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคงจากการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก สายตาพร่ามัว อาการหูตึง ดวงตาฝ้าฟาง เดินไม่สะดวก บางรายเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นผู้สูงอายุนอนติดเตียงหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ผู้สูงอายุบางรายอยู่ตามลำพังไม่มีญาติหรือครอบครัวดูแล ครอบครัวต้องออกจากบ้านเพื่อประกอบอาชีพ ทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพใช้ชีวิตประจำวันอย่างยากลำบาก ก่อให้เกิดสภาพความเครียด เนื่องจากไม่มีคนที่คอยดูแลหรือคนที่สามารถพูดคุยได้ 

โจทย์ปัญหาเหล่านี้ กำลังค่อยๆขยายเพิ่มขึ้นพร้อมกับตัวเลขรายงานที่ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ14ล้านคน คนพิการ2ล้านคนและคนพิการที่ไม่ได้ลงทะเบียนอีก2ล้านคนเมื่อรวมผู้สูงอายุ คนพิการ คนทีกำลังตั้งครรภ์เกือบ20ล้านคน ในปี2576 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุระดับสุดยอดคือ28%จำนวน หรือเท่ากับจำนวนผู้สูงอายุที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นที่สำคัญคือ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว ประเทศไทยจะกลายเป็นแชมป์มีผู้สูงอายุจำนวนสูสีกับประเทศสิงคโปร์

จากข้อเท็จจริงเหล่านี้  ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสุขภาวะของผู้สูงวัย มองหาทางเลือกทางออกที่จะบริหารจัดการกับอนาคตของโลกผู้สูงวัย ซึ่ง "อารยสถาปัตย์" (Universal design) คือคำตอบ เพราะเป็นแนวคิดการออกแบบที่เป็นธรรม เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับบริการสาธารณะ และผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เอื้อประโยชน์กับผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันแตกต่างจากบุคคลทั่วไปด้วยข้อจำกัดต่างๆ ให้ได้มากที่สุด

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญที่ให้เข้าใจเข้าถึงโจทย์ปัญหาการสร้างเสริมสุขภาวะของโลกผู้สูงวัยในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดสสส.ได้ร่วมกับเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal design) ครั้งที่1The First National Academic Conference on Universal Design: 1st NACUD2022 รูปแบบการจัดงานแบบ Hybrid ภายใต้หัวข้อ “Inclusive Environment : A New Normal Life” รวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรม ด้านการปรับสภาพแวดล้อม เพื่อผลักดันนโยบายให้ผู้สูงอายุและคนพิการให้มีสุขภาวะที่ดี ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ห้อง201เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565

การประชุมดังกล่าวมีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 12มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (UDC) หรือเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนเข้าร่วม ตั้งแต่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิวิทยาเขตนนทบุรีจับคู่กันทำงาน

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่2 (สสส.) และรองประธานกรรมการกำกับทิศทางการจัดปรับสภาพแวดล้อมและระบบขนส่งสาธารณะ กล่าวเปิดงานผ่านทางZoomว่า สสส.ยินดีอย่างยิ่งที่ได้ขับเคลื่อนและผลักดันโครงการเครือข่ายศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จนเกิดเป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สะท้อนให้เห็นว่าภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้ความสนใจต่อสิทธิความเป็นอยู่ในชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุ เพราะอยู่ในกลุ่มเปราะบางที่ต้องเผชิญความยากลำบากในชีวิตประจำวัน เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณะ ที่ยังขาดแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัย เพื่อทำให้คนกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีศักดิ์ศรี

นพ.อนุชากล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน2.09ล้านคน คิดเป็นร้อยละ3.21ของประชากรทั้งประเทศ และในปี2565เมืองไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) เพราะจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ60ปีขึ้นไป ร้อยละ20ของประชากรทั้งประเทศประมาณ66.19ล้านคน และอีก12ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มเป็นร้อยละ28ของประชากรทั้งประเทศ ทำให้สสส.และภาคีเครือข่ายคำนึงถึงการออกแบบที่เป็นธรรม เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับบริการสาธารณะ และผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เอื้อประโยชน์กับชีวิตประจำวันของกลุ่มเปราะบางให้มากที่สุด

ในขณะที่ รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน กล่าวรายงานว่า วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจข้อมูลปี2559พบว่าประเทศไทยมีสิ่งอำนวยความสะดวก เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ได้แก่ โรงพยาบาล คิดเป็น40% สำนักเขต คิดเป็น30.8% ห้างสรรพสินค้า คิดเป็น12.5% บ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คิดเป็น7.3%ของประเทศ และยังมีพื้นที่ที่ต้องเร่งผลักดันให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกได้แก่ ตลาดสด ศูนย์บริการสาธารณะสุข สวนสาธารณะ สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ศาสนสถาน และห้องสมุด เพราะการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล หรือ Universal Design(UD) ถือเป็นการยกระดับสุขภาวะของประชากรกลุ่มเปราะบาง หลักสำคัญของการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทั้งมวล มีความเป็นสากลและเป็นธรรม ไม่เพียงแต่ครอบคลุมกลุ่มประชากรเปราะบาง แต่ยังครอบคลุม“คนทุกคน

ส่วน ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์  ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ว่าสหประชาชาติมีนโยบายให้สังคมโลกเป็นสังคมสำหรับทุกคน มีสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อทุกคน โดยเฉพาะคนพิการที่ต้องใช้Wheel Chair มีทางลาดเพื่อสะดวกในการเข้าประชุมร่วมกิจกรรมเหมือนคนทั่วไป คนตาบอดมีอุปกรณ์เตือนเพื่อเลี่ยงเส้นทางที่มีต้นไม้ หลุมบ่อ การสื่อสารกับคนหูหนวกมีล่ามภาษามือสื่อสาร

คนพิการในเมืองไทย พิการการมองเห็น คนหูหนวก พิการทางสติปัญญา ต้องใช้การสื่อสารให้รับรู้ข้อมูลได้เท่าๆกับคนปกติ คนที่เรียนล่ามภาษามือต้องใช้เวลาเรียนถึง5ปี ค่าจ้างล่ามภาษามือค่อนข้างแพง จึงต้องใช้เมื่อจำเป็น  หรือการใช้ล่ามภาษามือผ่านทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะช่วยประหยัดค่าจ้างล่ามได้ ขณะนี้มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการดูแล การที่คนหูหนวกไปเที่ยวป่าเขา จะพาล่ามไปด้วยเป็นเรื่องลำบาก บนป่าเขามีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ใช้ไอแพ็ด โทรศัพท์มือถือสื่อสารให้ล่ามช่วยพูดคุยกับคนหูดีถามเส้นทาง ขณะนี้สวทช.(NECTEC)ทุ่มเททำงานวิจัยเทคโนโลยีบริหารล่ามภาษามือ มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่สมัยก่อนต้องเช่าจากต่างประเทศในสนนราคาที่แพงมาก แต่ปัจจุบันเราเช่าจากสวทช.ถูกกว่าการเช่าจากต่างประเทศ ส่งผลให้นวัตกรรมในเมืองไทยมีการพัฒนาเดินหน้าไปได้อย่างดียิ่ง

นอกจากการประชุมด้านวิชาการแล้ว ภายในงานยังมีการมอบรางวัลบทความดีเด่น บุคคลต้นแบบ องค์กรต้นแบบ Universal Design presented by TOTO โดย นายทาคายะสุ ชิมาดะ ประธานบริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งองค์กรต้นแบบที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย กรมส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ กรมธนารักษ์ ,เทศบาลนครรังสิต ,  เทศบาลนครหนองตองพัฒนา เชียงใหม่ ,ชมรมเพื่อคนพิการ จ.เลย ,องค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ด

ประเภทรางวัลบุคคลต้นแบบ นายกฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยะสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล นายกรกิจ พวงมาลีผู้ประสานงานชุมชนกทม. นายมานพ ตันสุภายนต์ ประธานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลหนองตองพัฒนา เชียงใหม่ รศ.ดร.พญ.สิรินาถ ตงศิริ รองคณบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  นายจำเนียร มานะกล้า สาธารณสุขตรัง

 

มาตรฐานญี่ปุ่นออกแบบห้องน้ำใช้ได้นาน15-30ปี

นายนาคายะสุ ชิมาดะ ประธานบริษัทโตโต้(ประเทศไทย)จำกัดกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อเรื่อง “The Revolution of Universal Design Restroom”วิวัฒนาการออกแบบห้องน้ำเพื่อทุกคน ว่า  ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจสร้างสังคมไทยสำหรับทุกคน ด้วยเป้าหมายให้ทุกคนออกไปใช้ชีวิตข้างนอกบ้านได้อย่างสะดวกกายสบายใจ มุ่งหวังให้ธุรกิจท่องเที่ยวมีชีวิตชีวา ยกระดับสังคมไทยสร้างเสริมความตระหนักรู้ในการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล ด้วยการสนับสนุนงานวิจัยUniversal design 30ปี การออกแบบห้องน้ำขึ้นอยู่กับสังคม กฎหมาย วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ แต่ขณะเดียวกันยึดหลักสถิรศาสตร์ทำให้ทั่วโลกมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นการออกแบบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ห้องน้ำมีความเป็นเอนกประสงค์มากขึ้นทั้งความสูงของเครื่องสุขภัณฑ์ ราวจับ ทุกอย่างถูกสุขอนามัย การใช้รถเข็นเข้าไปในห้องน้ำได้อย่างสะดวกสบาย ผู้ที่มีถุงทวารเทียมผ่านทางหน้าท้องก็ใช้ห้องน้ำได้สะดวกมากขึ้น การออกแบบยังคำนึงถึงผู้พิการผู้สูงอายุที่ไปไหนมาไหนด้วยตัวเอง การเดินทางไปสนามบิน ศูนย์การค้า สถานที่ต่างๆ

ด้วยแนวคิดมาตรฐานญี่ปุ่น การทำห้องน้ำอเนกประสงค์ เป็นการออกแบบเพื่อใช้ห้องน้ำได้นาน15-30ปี เพราะถ้าออกแบบห้องน้ำไม่เหมาะสมก็ต้องทนใช้นานถึง30ปี ก๊อกน้ำ สุขภัณฑ์อัตโนมัติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกสุขอนามัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น