จากข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต พ.ศ.2564 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กระ ทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ผู้สูงอายุไทย อายุระหว่าง 57-73 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6 ชั่วโมง 21 นาทีต่อวัน และที่น่าสนใจคือ ช่วงเว้นระยะห่าง อันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องงดเว้นการรวมกลุ่มทำกิจกรรม เป็นเหตุให้การใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น
ด้วยเหตุปัจจัยของวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปนี้เอง การเสริมสร้างสมรรถนะด้านการรู้เท่าทันสื่อให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในสังคมไทยจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.), สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, บริษัท ทำมาปัน จำกัด และภาคีเครือข่ายสูงวัยรู้ทันสื่อ 12 จังหวัด ร่วมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “สร้างสังคมสูงวัย รู้ทันสื่อ” เพื่อขับเคลื่อนการทำงานสร้างสังคมสูงวัยรู้ทันสื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ นำไปสู่การสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะยั่งยืน ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ "นพ.วิชัย โชควิวัฒน" เปิดเผยว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ ผู้สูงวัยต้อง “รู้เท่าทัน” สื่อ เนื่องจากสื่อมีพัฒนาการที่มีความสลับซับซ้อน (Complexity) จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตามทันสื่อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องมี “ตัวช่วย” ให้ผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ สมาคมสภาผู้สูงอายุฯ จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนงานสังคมสูงวัยรู้ทันสื่อ มุ่งพัฒนาระบบองค์ความรู้และนวัตกรรมเครื่องมือ เพื่อสร้างเป็นหลักการพื้นฐานของการรู้ทันสื่อในกลุ่มผู้สูงอายุ
ผู้สูงวัยผ่านโลกและชีวิต ผ่านร้อนและหนาวมาแล้วอย่างยาวนาน ผ่านการลองผิดลองถูกมาอย่างโชกโชน รู้เท่าทันผู้คนมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นก็พูดกันว่า 4 เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง เพราะข่าวสารบนโลกใบนี้มีความซับซ้อน การรู้เท่าทันสื่อจึงกลายเป็นเรื่องยาก เนื่องจากผู้สูงอายุรู้ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงต้องสร้างระบบเป็นตัวช่วยเพื่อให้ผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ
ทุกวันนี้เราใช้โทรศัพท์ smart phone เกิดเป็นจักรวาลนฤมิต ทำอย่างไรเราจะได้ประโยชน์จากสื่อที่พัฒนาแล้ว หลักการพื้นฐานรู้ทันสื่อ การใช้ประโยชน์จากสื่อ ป้องกันอันตรายจากสื่อ อุปกรณ์สื่อมีการพัฒนาได้หลากหลายมาก จากกล้องถ่ายรูปปัญญาอ่อน พัฒนาเป็นกล้องถ่ายรูปอัจฉริยะอยู่ในโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวกัน ไม่ต้องปรับโฟกัส ถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้สูงวัยใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การป้องกันอันตรายจากสื่อ สื่อหลอกลวงจากแก๊ง Call Center แก๊งตกทอง ยั่วยุให้คนโลภตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ หลอกลวงให้ไปลงทุนทำให้เสียทรัพย์ โดยเฉพาะในช่วงโควิด มีข่าวเท็จข่าวลวงเกี่ยวกับวัคซีนเกินกว่าความจริงเป็นจำนวนมาก ทำให้คนหลงเชื่อกลัววัคซีนยิ่งกว่าการกลัวโควิด หลายคนต้องเสียชีวิตอย่างน่าเสียดาย จำเป็นต้องมีระบบตรวจสอบอะไรควรเชื่อและไม่น่าเชื่อถือ ด้วยการรับฟังข่าวจากแหล่งข่าวทางราชการ วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย หรือสารคดีข่าวมีความน่าเชื่อถือ ฉะนั้น อย่าด่วนรีบแชร์ข่าวลวงข่าวเท็จเป็นการสร้างความเสียหาย และยังผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ด้วย
นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย 20% จากจำนวนประชากรมีผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 20% และในอีก 20 ปีข้างหน้า สังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุสุดยอด เศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยสื่อยุคดิจิทัลส่งผลต่อพฤติกรรมการดำรงชีวิต ผลการสำรวจผู้สูงอายุต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีเพื่อรับทราบข่าวข้อมูลอย่างเป็นทางการ ขณะนี้จำนวน 75% มีทักษะที่จะรู้เท่าทันสื่อ ปี 2563-2564 ระดับโดยรวมของสังคมไทยถือว่าใช้ได้ถึง 70% เมื่อโฟกัสไปที่ผู้สูงอายุ 63% ยังมีช่องว่าง เราต้องสร้างอาวุธในการใช้สื่อ “การเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุไม่ใช่เป็นภาระ แต่เป็นการเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักสื่อสารสุขภาวะให้บุคคลแวดล้อม เพราะผลกระทบจากข่าวลวงทำให้ผู้สูงอายุต้องสูญเสียทรัพย์สิน การระบาดโควิด-19 มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้สูงอายุ
“ยูนิเซฟมีคำขวัญ พยาบาล หมอ ข้อเท็จจริงเป็นผู้ช่วยชีวิต การเข้าถึงข้อมูลรู้จักใช้ข้อมูลอย่างถูกต้อง อาศัยความร่วมมือของสื่อทุกแขนง การพัฒนาศักยภาพทำให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ สื่อจึงเสมือนกับเหรียญสองด้าน เน้นในการเสริมพลังประชาชนสู่การเป็นผู้สูงอายุตื่นรู้ ขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม”
สสส.มุ่งเน้นเสริมพลังประชาชนสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ตื่นรู้ มีทักษะเท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถใช้สื่อเป็นเครื่องมือดูแลตนเอง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีสุขภาวะที่ดี โดยมียุทธศาสตร์การทำงานมุ่งพัฒนา “คน” และ “ปัจจัยแวดล้อม” สร้างระบบนิเวศสื่อสุขภาวะที่มีความสมดุลจัดการความรู้และสร้างเครื่องมือที่สามารถนำไปยกระดับการทำงานและการขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติมีพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัด 21 จังหวัดทั่วประเทศ
“เอ็มโอยู 'สร้างสังคมสูงวัย รู้ทันสื่อ' ครั้งนี้ มีแนวทางส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงวัย 4 ข้อ ได้แก่ 1.พัฒนาทักษะเท่าทันสื่อ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ขยายผลเกิดเป็นเครือข่ายอาสาสูงวัยเฝ้าระวังสื่อในทุกพื้นที่ 2.พัฒนากลไกการทำงานในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ สร้างกระบวนการเรียนรู้ กลไกเฝ้าระวังสื่อ 3.สนับสนุนการจัดการความรู้ งานวิชาการ เครื่องมือ และหลักสูตร ที่สอดคล้องกับบริบทการบริโภคสื่อของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ รวมถึงจัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็น Knowledge Hub เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนงานด้านการรู้เท่าทันสื่อผู้สูงอายุในสังคมไทยยั่งยืน และ 4.พัฒนาการสื่อสาร สร้างความเข้าใจด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง และสื่อสารสาธารณะสร้างการรับรู้ประเด็นผู้สูงอายุกับการรู้เท่าทันสื่อ มุ่งเป้าสู่การขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบาย” นางญาณีกล่าว
นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. กล่าวว่า กรมกิจการผู้สูงอายุ มุ่งพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพเต็มตามศักยภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในพื้นที่ระดับจังหวัด.
“คาถาสูงวัย รู้ทันสื่อ”
นายวันชัย บุญประชา ที่ปรึกษากลุ่มคนตัว D บริษัท ทำมาปัน จำกัด เปิดเผยว่า “กลุ่มคนตัว D ร่วมกับ สสส.และภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนงานสร้างพลเมืองเท่าทันสื่อตั้งแต่ปี 2562 มีบทบาทในการออกแบบกระบวนการการจัดการความรู้ ซึ่งในปี 2565 ได้พัฒนาเครื่องมือ “คาถาสูงวัย รู้ทันสื่อ” 3ข้อ ได้แก่
1.จำเป็นหรือไม่?
2.หาข้อมูลเพิ่มเติม
3.เดือดร้อนตัวเองและคนรอบข้างหรือไม่?
เพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์สื่อ รับสื่อ และใช้สื่ออย่างปลอดภัย ตอบโจทย์บริบทการใช้สื่อในแต่ละพื้นที่ ทั้งสื่อออนไลน์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อบุคคล ถือเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของข่าวลวงและเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์”
“เราถือหลักว่าจำเป็นไหมที่จะต้องซื้อ หากซื้อแล้วจะเดือดร้อนคนในครอบครัวหรือไม่? ถ้าเดือดร้อนต้องกล้าปฏิเสธ No ก่อนตัดสินใจซื้อต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วน ต้องใช้สติยั้งคิดก่อนตัดสินใจ ขณะนี้ อบจ.เทศบาลมีหลักสูตรเพื่อประยุกต์ขยายการสอนไปยังทุกจังหวัด”นายวันชัย บุญประชา ให้ข้อคิดปิดท้าย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ผู้สูงอายุผิดหวัง มติ ครม. ปรับเบี้ยคนชราแบบขั้นบันได แทนที่จะปรับถ้วนหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)สัญจรที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ