ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วย นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายอภิรัฐ  ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่ โดยมี นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย  ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน ประชาชนชาวอำเภอเมืองและอำเภอวังหิน ร่วมให้การต้อนรับ ณ หอประชุมเทศบาลเมืองศรีสะเกษ (เกาะกลางน้ำ) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2565

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศ โดยเร่งรัดการเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยงการเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศเวียดนาม สนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามภารกิจดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้   สู่ท้องถิ่น ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จึงได้มอบหมายให้หน่วยงาน   ในสังกัดดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้

มิติทางบก ประกอบด้วยถนนทางหลวงระยะทาง 1,032.13 กิโลเมตร และถนนทางหลวงชนบทจังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 1,198.68 กิโลเมตร โดยมีโครงการที่สำคัญ ดังนี้

1.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง ปัจจุบัน ทล. มีโครงการทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 226 สาย อำเภอห้วยทับทัน - ศรีสะเกษ ระยะทาง 13.795 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 659.129 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 30.84 % 2) โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 221 สายศรีสะเกษ - อำเภอพยุห์ ระยะทาง 6.00 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 154.33 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 0.29 % และ 3) โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 2085      สายอำเภอกันทรลักษ์ - กันทรารมย์ ตอนบ้านน้ำอ้อม - บ้านสี่แยก ระยะทาง 4.450 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 138.58 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 0.34 %

2.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท ประกอบด้วย งานก่อสร้างทางและสะพาน งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย รวม 40 โครงการ งบประมาณรวม 415.275 ล้านบาท ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างถนนและยกระดับชั้นทาง ถนนเชิงลาดสะพานข้ามห้วยขะยูง บ้านกุดผักหนาม - บ้านเขวาธนัง อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 2.235 กิโลเมตร งบประมาณ 18.50 ล้านบาท 2) โครงการก่อสร้างถนนและยกระดับชั้นทาง ถนนสาย ศก.4020 แยกทางหลวงหมายเลข 2200 - บ้านกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 3.40 กิโลเมตร งบประมาณ 49.50 ล้านบาท 3) โครงการพัฒนาสะพานขนาดกลาง สะพานข้ามคลองตาเสก ในสายทาง ศก.5060 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 30 เมตร งบประมาณ 4.95 ล้านบาท และ 4) โครงการก่อสร้างโครงข่ายสะพานข้ามห้วยทับทัน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 140 เมตร งบประมาณ 48.78 ล้านบาท

3.การศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP ซึ่งกระทรวงฯ ได้ศึกษาแผนแม่บทโครงข่าย MR-MAP ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บทแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างร่างแผนการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Pre-FS) ทุกเส้นทาง จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์การพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยเส้นทางที่จะเชื่อมกับจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ 1) เส้นทาง MR5 มีจุดเริ่มต้นที่จังหวัดนครสวรรค์ สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 722 กิโลเมตร

มิติทางราง มีขบวนรถไฟที่วิ่งผ่านสถานีจังหวัดศรีสะเกษ เที่ยวขึ้น - เที่ยวล่อง มีวันละ 20 ขบวน โดยกระทรวงฯ มีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ดังนี้ 1) แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2560 - 2564) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 993 กิโลเมตร ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางชุมทางฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย และชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 5 เส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2566 2) แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2569) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการและจัดทำรายงาน EIA

มิติทางน้ำ มีการพัฒนาทางน้ำในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและยโสธร ซึ่งปัจจุบันกระทรวงฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้ 1) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือในแม่น้ำโขงบริเวณเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม วงเงินลงทุน 36.8000 ล้านบาท มีความคืบหน้าโครงการแล้ว ร้อยละ 58.00 2) โครงการจ้างก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศที่แม่น้ำชี กม. ที่ 55+000 - 60+000 วงเงิน 7.0357 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง 3) โครงการซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง แม่น้ำลำโดมใหญ่ บริเวณท่าน้ำวัดแสงเกษม วงเงินลงทุน 107,000 บาท มีความคืบหน้าโครงการแล้ว ร้อยละ 98.70 และ 4) โครงการซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง แม่น้ำลำเซบาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 340,000 บาท มีความคืบหน้าโครงการแล้วร้อยละ 98.70 นอกจากนี้ กระทรวงฯอยู่ระหว่างดำเนินการโครงการจ้างก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศที่แม่น้ำชี กม. ที่ 195 - 200 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ถึง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 41.8000 ล้านบาท โดยช่วงกม. ที่ 155+000 - 165+000 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 45.5649 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการชี้แจงคณะกรรมาธิการ งบประมาณ  ปี 2566 ในช่วง กม. ที่ 120+000 และ กม. ที่ 135+000 - 145+000 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

มิติทางอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี เพียง 60 กิโลเมตร ประชาชนสามารถเดินทางไปใช้บริการได้อย่างสะดวก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์ เพื่อเป็นศูนย์การขนส่ง (Transportation Hub) งบประมาณ 86.80 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2566

ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะสามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งทุกโหมดการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด สามารถรองรับปริมาณการเดินทางและคมนาคมขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม พร้อมรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน ในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้องใจ! 'นายกฯอิ๊งค์-บิ๊กเพื่อไทย' ทำไมขยันลงพื้นที่ภูเก็ต

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "อุ๊งอิ๊ง หนีกระทู้สภา ไปกระทู้ภูเก็ต" โดยระบุว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

“ไชยชนก” นำกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย ถวายแจกันดอกไม้และลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา 8 มกราคม 2568

วันนี้ (9 ม.ค. 2568) ที่วังศุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย ได้แก่ นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ สส.พระนครศรีอยุธยา รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย, นายกรวีร์

ส่อง 'พรรคปฏิบัติการ' ปี 68 'ภูมิใจไทย' ถูกขวางยิ่งโต

“พรรคภูมิใจไทย” ภายใต้การนำของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ถือเป็นองค์กระกอบตัวแปรสำคัญทางการเมือง ที่ทำให้เกิดรัฐบาลไฟต์บังคับนี้ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย

‘อนุทิน’ ยันไม่ประเมินผลงานนายกอิ๊งค์ ย้ำสามัคคีทำงานดี 

“อนุทิน” ยัน รัฐบาลแพทองธาร สามัคคีทำงานได้ดี  - ออกตัวไม่ขอประเมินผลงาน “นายกฯอิ๊งค์” แต่ยกภาวะผู้นำสูง  ย้ำปรับ ครม.เป็นอำนาจผู้นำปท.แต่ ”ภูมิใจไทย“ ยืนยันโควตาเดิม ลั่นปีหน้าพร้อมผลักดันภารกิจกระทรวงมหาดไทย  ปราบผู้มีอิทธิพล - แก้ยาเสพติด-  เพิ่มมิติป้องกันภัยพิบัติหลังลดงบเยียวยาพุ่งสูง

“สิริพงศ์” รับเรื่องร้องเรียนจากศูนย์สิทธิผู้บริโภค โซนกรุงเทพฯ เหนือ ยัน 3 ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค - พ.ร.บ.อาหาร - พ.ร.บ.ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า รอฝ่าย กม.พรรค ภท.พิจารณา

ที่ทำการพรรคภูมิใจไทย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รับหนังสือร้องเรียนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) นำโดยนางกนกวรรณ ด้วงเงิน ประธานโซนกรุงเทพฯ เหนือ พร้อมคณะศูนย์สิทธิผู้บริโภค จากเขตหลักสี่ จตุจักร ดอนเมือง สายไหม บางเขน และลาดพร้าว ได้ยื่นหนังสือ 3 ฉบับ อาทิ