“ดวงฤทธิ์” เลขานุการ รมว.อว.ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ “เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช” อ.บรบือ จ.มหาสารคาม พัฒนา “แอปเปิล สายพันธุ์ฟูจิ” หนุนต่อเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตและแหล่งท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.รศ.(พิเศษ)ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ดำเนินงานโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเปิดโรงอนุบาลต้นพืช วิสาหกิจชุมชนบ้านโนนสำราญ ต.วังไชย อ.บรบือ พร้อมกล่าวว่า อว.ให้การสนับสนุนศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืชที่ดำเนินการโดยบริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ผ่านกลไกการบ่มเพาะของอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหลากหลายสายพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นพืชเศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ได้พืชจำนวนมาก ภายในระยะเวลาอันสั้น และมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการทั้งของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มพ่อค้าต้นพันธุ์พืชโดยได้ดำเนินกิจการภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดเชื้อที่เกิดจากพืช ทำให้เกษตรกรได้รับพืชพันธุ์ที่ดี มีคุณภาพ บริษัทยังได้คิดค้นการนำนวัตกรรมมาใช้กับพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยคิดค้นสารเคมีในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้เนื้อแข็งให้สามารถแตกยอดและเจริญเติบโตได้ดี และได้ทำการทดลองนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยการนำนุ่นมาทดแทนวุ้นในอาหารสังเคราะห์ในรูปการปลูกพืชที่คล้ายการปลูกแบบไฮโดรโปรนิกส์

เลขานุการ รมว.อว.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ บริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ได้เข้าร่วมหลักสูตรผู้จัดการนวัตกรรม รุ่นที่ 1 ในแผนงานการสร้างผู้จัดการนวัตกรรม  ภายใต้โครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ กำกับดูแลโดย สกสว.ส่งผลให้บริษัทฯ ได้วิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ไม้ด่าง กล้วยและที่สำคัญ แอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าสายพันธุ์นี้มาจำนวนมากที่สุด และเป็นที่นิยมให้สามารถเพาะปลูกได้ในเขตภูมิภาคของประเทศไทยและเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต

ด้าน น.ส.สาวิตรี ศรีพงษ์ ผู้ประกอบการบริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืชในการพัฒนาแอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิ จากประเทศญี่ปุ่นและได้ทดสอบในแปลงนำร่องได้ผลผลิตรสชาติหวาน แน่นและเตรียมขยายเพิ่มอีก 50 ไร่ ถือว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถนำแอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิ มาปลูกได้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและจะพัฒนาให้การปลูกแอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดและเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากต่อไป

น.ส.สาวิตรี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ ผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันสำปะหลัง เพื่อแก้ปัญหาโรคพืชในมันสำปะหลัง คือโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลัง ส่งผลให้เกษตรกรได้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลอดโรค ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในจำนวนที่เพิ่มมาก สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ อว.

“บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยการนำชิ้นส่วนต่างๆ ของพืชที่มีชีวิต อาทิ ใบ ดอก เมล็ด ก้าน ใบ และลำต้นของพืช มาเลี้ยงในสภาวะปลอดเชื้อด้วยอาหารวิทยาศาสตร์ที่สังเคราะห์ขึ้นพร้อมด้วยการควบคุมสภาพแวดล้อม ทั้งแสงและอุณหภูมิ เพื่อให้ต้นพืชเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนและทำการคัดสรรต้นพืชที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อทำการกระตุ้นต้นพืชให้เกิดรากจนสามารถนำไปอนุบาลในโรงเรือน เพื่อให้ต้นพืชเจริญเติบโตแข็งแรง สมบูรณ์ก่อนจะจัดจำหน่ายให้แก่เกษตรกรและกลุ่มลูกค้า ณ ศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช บ้านโนนสำราญ”  น.ส.สาวิตรี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” หารือ “แอนดรูว์ อึ้ง” ผู้ทรงอิทธิพลด้าน AI ระดับโลก ผนึกความร่วมมือนำ AI มาประยุกต์ใช้ในระบบอุดมศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การต้อนรับ นายแอนดรูว์ อึ้ง (Mr.Andrew Ng)

ทบ. ส่งทหารช่างสร้างสะพาน ระดมกำลังช่วยประชาชน เหตุอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำแตก

ร.อ.หญิง จุฑาพัชร เปรมบัญญัติ ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากไหลลงอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ ในพื้นที่ บ.บ่อหลุม ต.โนนราษี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จนทำให้

'อว.แฟร์' โชว์พลัง อววน. 4-6 ก.ค.นี้ ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าจัดงานต่อครั้งที่ 3 “อว.แฟร์ ระดับภูมิภาค” ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ชูไฮไลท์ 6 โซนกิจกรรม ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมโชว์ศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

'อนุทิน-ผบ.ทบ.' ลงชายแดนใต้ ให้กำลังใจส่วนงานศึกษาขับเคลื่อนพื้นที่สันติสุข

พันตรีหญิง กัญญ์ณณัฐ พรนิพัทธ์กุล ผู้ช่วยโฆษก ทบ เปิดเผยว่า พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบกร่วมคณะ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ

“ศุภมาส” ปลื้ม !!! สภาฯ รับหลักการร่างกฎหมายจัดตั้ง “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” ที่มุ่งเน้นการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางและพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 2 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1) นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)