เมื่อวันที่ 18 พ.ค. น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.กลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ ภายใต้กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังสรุปผลการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้โครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาคเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ซึ่งกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น โดยมีคณะผู้บริหารกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น นำโดย ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น บรรยายสรุปภาพรวมสรุปผลการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้แผนงานการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาคเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ
ดร.อภิรชัย กล่าวว่า ภายใต้โครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาคเพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ โดยเฉพาะแผนงานการสร้างผู้จัดการนวัตกรรม (CIM ) จะมุ่งเน้นการผลักดันให้ผู้บริหารจาก 3 หน่วยหลักของประเทศ คือผู้บริหารสถาบันการศึกษา ผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ และผู้บริหารจากภาคเอกชน โดยนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการช่วยพัฒนานวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ เกษตรกรในการสร้างธุรกิจฐานองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในพื้นที่ ซึ่งการนำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมกว่า 6 สัปดาห์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ด้านนายกฤษติวกร ธรรมแสง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสานดอทคอม จำกัดและตำแหน่งกรรมการบริหาร สมาคมซอฟต์แวร์และธุรกิจนวัตกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผู้ใช้บริการพื้นที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ หนึ่งในผู้เข้าร่วมแผนงานการสร้างผู้จัดการนวัตกรรม (CIM) ที่ดำเนินธุรกิจซอฟต์แวร์ให้บริการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ตามความต้องการของบริษัท โรงงาน และองค์กรระดับท้องถิ่น ซึ่งนายกฤษติวกร ได้มีความร่วมมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังร่วมกับบริษัท พรีเมียร์ ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด โดยมีนายรัฐวิรุฬห์ ชาญจึงถาวร กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ บริษัทฯ จัดหา วัตถุดิบ ผลิต การแปรรูปและการขายแป้งมันสำปะหลังทั้งในและต่างประเทศเป็นเจ้าใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนครอบคลุมพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร นครพนม สกลนคร โดยเชื่อมโยงระบบออนไลน์เพื่อตรวจสอบมันสำปะหลังที่ถูกส่งมอบเข้าโรงงานที่ใช้ในการแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลัง
สำหรับการดำเนินงานแผนงานการยกระดับงานวิจัยขั้นสูงสู่ภาคอุตสาหกรรมผลงานเครื่องวัดคุณภาพหัวมันสำปะหลังแบบพกพา (Portable Cassava Quality Meter)" ดำเนินการโดย ผศ.ดร.เจษฎา โพธิ์สม ซึ่งได้ยกระดับผลงานวิจัยพัฒนาเครื่องวัดคุณภาพหัวมันสำปะหลังที่ใช้ทดลองสู่การพัฒนาต้นแบบเครื่องวัดคุณภาพหัวมันสำปะหลังที่สามารถทดลองในแปลงปลูกได้ ซึ่งเครื่องวัดคุณภาพหัวมันสำปะหลังนี้สามารถวัดคุณภาพหัวมันสำปะหลังได้โดยที่ไม่ต้องขุดขึ้นจากดิน หรือสามารถวัดได้ในขณะที่หัวมันอยู่ในแปลงปลูก โดยการวัดค่าความถ่วงจำเพาะที่ใช้ในการประมาณค่าเปอร์เซ็นต์แป้ง และแสดงผลภายใน 3 วินาที/ครั้ง ซึ่งผลงานวิจัยนี้เป็นเพียงการพัฒนาในส่วนของ Hardware ซึ่งยังขาดส่วนของ ซอฟต์แวร์ หรือระบบ Platform ที่สะดวกต่อการใช้งาน บริษัท อีสานดอทคอม จำกัด จึงเข้ามาร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการพร้อมทั้งเกิดความร่วมมือในการนำองค์ความรู้พัฒนาระบบเพื่อยกระดับงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม
อีกทั้งเชื่อมโยงระบบนวัตกรรมในพื้นกับ บริษัท พรีเมียร์ ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด ที่ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมที่หลายหลากในอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง จึงมีความมุ่งเน้นค้นคว้าวิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มาจากมันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลัง ที่ได้จากกระบวนการหรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมที่ ช่วยพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกร หรือ สิ่งแวดล้อม ไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล