ศูนย์พึ่งได้OSCCต่อยอดพันธกิจ พัฒนาคนเสริมศักยภาพ"คุ้มครองเด็ก"

โลกเปลี่ยน คนจำเป็นต้องปรับ ..น่าจะใช้อธิบายวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล และสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญกับวิกฤตแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างดี

การปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยน มิได้หมายถึงการเปลี่ยนแนวคิด หรืออุดมการณ์ ทัศนคติ ความเชื่อดั้งเดิมโดยปราศจากเหตุผล แต่คือการก้าวตามให้ทันกับกระแสของการพัฒนา ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อีกทั้งนวัตกรรมต่างๆ ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เฉกเช่นเดียวกับการสื่อสารในโลกโซเชียล ที่เราจำเป็นต้องรู้เท่าทันนั่นเอง

ล่าสุด!! การเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองเด็ก ของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก ถือเป็นตัวอย่างที่จับต้องได้ว่า ไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำ เมื่อโลกเปลี่ยน ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้ายและถูกละเลยทอดทิ้งนั้นมีศักยภาพและสอดคล้องกับเป้าประสงค์

"สถานการณ์การทำงานด้านการคุ้มครองเด็ก มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบทั้งทางกายและจิตต่อผู้ปฏิบัติงาน เราเห็นภาพข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้น เด็กถูกล่วงละเมิดเกิดความรุนแรง เสมือนหนึ่งเป็นปัญหาอยู่บนยอดภูเขาน้ำแข็ง มีเจ้าหน้าที่จาก อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ช่วยกันคัดกรองเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงส่งต่อมายังศูนย์พึ่งได้ เพื่อให้คำปรึกษา และเพื่อเด็กที่มีปัญหาจะได้รับการดูแลเยียวยา มีการประสานงานกับกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เพื่อช่วยเหลือเด็กจำนวน 58% ที่ถูกล่วงละเมิดทั้งทางกายและจิตใจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากคนใกล้ชิด” คำบอกเล่าจาก นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สำนัก 7) สสส.

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์

เล็งเห็นความสำคัญของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กและเยาวชนว่าควรได้รับการดูแลสนับสนุนทางด้านอารมณ์ จิตใจ รวมถึงการจัดการความเครียด ความกังวล และปัญหาสุขภาพจิต  ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว สสส.จึงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ "ศูนย์พึ่งได้" (One Stop Crisis Center : OSCC) จัดโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทั้งความรู้ ทักษะ และรูปแบบการทำงานกับเครือข่าย เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนา เสริมสร้างความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่ทัศนคติ ความรู้ รวมถึงทักษะในการทำงานเชิงลึกกับเด็กและเยาวชนร่วมด้วย

ทั้งนี้ สสส.เห็นว่าการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กควรเน้น 1.การเฝ้าระวัง 2.ป้องกัน 3.การช่วยเหลือ 4.การฟื้นฟูเยียวยาเด็ก แต่สิ่งเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ ทรัพยากรบุคคลคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข คือกำลังใจสำคัญในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรง สสส.จึงสนับสนุน 1.การพัฒนาศักยภาพ 2.องค์ความรู้ 3.ตลอดจนสร้างกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน โดย สสส.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิพัฒนาการคุ้มครองเด็ก พร้อมสนับสนุนการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และเครือข่าย รวมถึงการทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถคัดกรอง ส่งต่อ และร่วมมือในการดูแลเยียวยาปัญหาทางกายและทางจิตใจผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงในเบื้องต้นได้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คุณหมอพงศ์เทพให้ข้อมูลว่า คนทำงานโรงพยาบาลชุมชนจะมีความชำนาญในบทบาทภารกิจ เมื่อได้รับมอบงานจากจังหวัด มีนักสังคมสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือด้วยระบบบริการดูแลเด็ก มีโรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน เมื่อเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศกลายเป็นแม่วัยใส เมื่อเจาะลึกพบว่า 80% เกิดจากพ่อแม่แยกทางกัน ไม่ได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เด็กหญิงเจอผู้ชายถูกล่วงละเมิดทางเพศได้ง่าย อีกทั้งอยู่กับพ่อเลี้ยงก็มีโอกาสถูกล่วงละเมิด อสม.ทำหน้าที่สอดส่องปัญหาด้วยการนำเด็กมาอยู่ในระบบที่มีหน่วยงานทำงานเป็นเครือข่ายช่วยกันดูแลเด็กให้ปลอดภัย กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงสาธารณสุข

“เด็กที่มีบาดแผลได้รับการเยียวยาเพื่อไม่ให้เด็กไปละเมิดสิทธิคนอื่น เด็กที่ยังไม่มีบาดแผลก็ต้องได้รับการเยียวยาไม่ให้มีบาดแผล ถ้าเราอยากเป็นสังคมสุขภาวะที่ดี ก็ต้องร่วมมือกัน ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง มิฉะนั้นเขาจะแก้แค้นสังคม” ผู้อำนวยการ สสส. (สำนัก 7) ตอกย้ำ

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต

ในการเปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กและให้กับบุคลากรศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ครั้งนี้ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยด้วยว่า เรื่องเด็กเป็นงานสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เด็กเกิดน้อยด้อยคุณภาพ โดยเฉพาะปีที่ผ่านมามีเด็กเกิดใหม่เพียง 5 แสนคน เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนถึง 20% ของจำนวนคนไทยทั้งหมด ทำให้การพัฒนาประเทศมีข้อจำกัด เด็กกลายเป็นเหยื่อถูกกระทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวด้วยหลายสาเหตุ ดังที่เราได้ยินได้ฟังเป็นระยะๆ  เด็กไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยไม่ต่างไปจากในต่างประเทศ  ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยเป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว มีความพยายามในการแก้ไขปัญหานี้ กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งศูนย์พึ่งได้ตั้งแต่ปี 2547 เพื่อให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีในภาวะวิกฤตจากความรุนแรงในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ

การให้บริการของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข ยังมีข้อจำกัดโดยเฉพาะระบบการให้คำปรึกษาแก่บุคลากรที่กำลังให้บริการหน้างาน เด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงขาดโอกาสได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรเกิดความเครียดในการดูแล ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านองค์ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และอารมณ์ จิตใจในการปฏิบัติงาน ระบบการให้คำปรึกษาจะช่วยให้กลุ่มเด็กและสตรีได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรหน้างานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 "ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของศูนย์พึ่งได้ เป็นหน่วยงานที่มีโอกาสพบเจอกลุ่มเด็กที่เข้ารับความช่วยเหลือจากการถูกทำร้ายและละเลยทอดทิ้ง ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานคุ้มครองเด็ก ดังนั้นโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็กของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย จึงเป็นช่องทางเพื่อให้บุคลากรผู้รับผิดชอบงานศูนย์พึ่งได้ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายทางสังคม ได้มีองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งมีความเข้าใจ ในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็ก และสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานทางด้านอารมณ์ จิตใจ ในการปฏิบัติงาน ปัญหาความเครียด ความกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยืนยันเช่นเดียวกัน

ดังนั้น โครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาและกลไกพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองเด็ก จึงนับเป็นการ "ต่อยอด" พันธกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กให้มีศักยภาพ และมีดุลยภาพที่สอดคล้องกับโลกที่หมุนไม่หยุด อันถือเป็นหัวใจสำคัญในการก้าวให้ทันกับปัญหาสังคมทุกยุคทุกสมัยนั่นเอง.

 

รู้จัก OSCC

รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ชี้แจงว่า งานศูนย์ OSCC เป็นงานที่ให้คำปรึกษาปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การล่วงละเมิดทางกายและใจ การดูแลสุขภาพจิตเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ด้วยการงบประมาณจาก สสส. นำศูนย์ OSCC ไปสานพลังกับกระทรวงสาธารณสุข ใช้จุดแข็งแต่ละหน่วยงาน มหาวิทยาลัยหนุนเสริมทำมาแล้ว 2 ปี พัฒนาโครงการแพลตฟอร์มที่ผู้สนใจเปิดเว็บไซต์เข้าไปกรอกข้อมูลสมัครเป็นสมาชิก

เมื่อเด็กตกอยู่ในสภาพอึดอัด มีบาดแผล ต้องได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงทีจากผู้เชี่ยวชาญ ในขณะนี้มีทั้งหมด 7 คน และยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้อยู่เป็นประจำ ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว ใช้องค์ความรู้และทักษะเฉพาะตัว ต้องสร้างความรู้สึกที่ดีให้มั่นใจว่าเขาปลอดภัย ในบางครั้งมีความจำเป็นต้องแยกเด็กออกจากครอบครัว การช่วยเหลือเด็กต้องทำได้จริง ด้วยการใช้สื่อความรู้ผ่านทางบทความ วิดีโอ

ขณะนี้ศูนย์ OSCC จัดทำหลักสูตรอบรมทางออนไลน์ 30 หลักสูตร ตลอดทั้งปี มีทั้งหลักสูตรวันเดียว หลักสูตรอบรมหลายวัน (5 วัน, 10 วัน, 1  เดือน) ที่ต้องมีการทำ workshop ใครสมัครก่อนย่อมมีสิทธิก่อน เพื่อให้เกิดความรู้และมีทักษะ เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการดูแลครอบครัว เราต้องเฝ้าระวังเด็กบางคนที่ฆ่าพ่อแม่ได้อย่างที่เราเห็นเป็นข่าวทางทีวีมาแล้ว คนแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องคอยเฝ้าระวัง ให้คำปรึกษาตลอด 48 ชั่วโมง ถ้ายังไม่กระจ่างชัด ก็สามารถซูมถามปัญหากับผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะได้อีก  เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วสามารถเลือก Counselor ได้ฟรี ติดต่อกันผ่าน inbox เราพร้อมเป็นเพื่อนร่วมทางเพื่อให้ครอบครัวเข้มแข็ง  แก้ไขปัญหาไปด้วยกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ขณะเดียวกันเราสร้างผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่เข้ามาทำงานในชุมชน เป็นการขยายเครือข่ายสร้างระบบพัฒนาต่อไป เราเริ่มสร้างผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพี่เลี้ยงทำงานหน้างาน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง ! ความเหงา-โดดเดี่ยว ภัยเงียบที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน หรือดื่มเหล้าวันละ 6 แก้ว

เวลา 09.00 น. วันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับธนาคารจิตอาสา ภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “เดือนการฟังแห่งชาติ” หรือ “National Month of Listening” เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญของการดูแลความสัมพันธ์ด้วย

“รองนายกฯประเสริฐ” มอบนโยบาย สสส.สั่งด่วนยกระดับสร้างความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน 3 ด้าน “รถบัสปลอดภัย-สวมหมวกนิรภัย-ส่งเสริมวินัยจราจร”

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สสส.

“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center

คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67

รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ สานพลัง สสส. ประกาศความร่วมมือเข้มแข็ง ผสานองค์ความรู้-สร้างนวัตกรรมฐานข้อมูล เตรียมพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ บรรจุในการเรียนการสอน ม.วลัยลักษณ์

ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน

ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร

สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร