กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แผนงานการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติกเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของจังหวัดสตูล สร้างมาตรฐานจำเพาะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่สื่อถึงสมบัติด้านคุณภาพ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีนางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) หน่วยงานและผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าร่วมงาน โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล ให้การต้อนรับ ณ อาคาร เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล
นางสาวภัทริยา ไชยมณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า วศ. เป็นหน่วยงานหนึ่งใน “สี่เสือ อว.” ที่มุ่งสร้างโมเดลความร่วมมือของหน่วยงานภาคราชการในกระทรวง อว. เพื่อพัฒนาจังหวัดสตูล และเป็นหน่วยงานมีศักยภาพความพร้อมด้านการวิจัยพัฒนา วิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการฯ รวมทั้งเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานขั้นสูงของประเทศ (SDO) มีนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบท้องถิ่นในจังหวัดสตูล สนับสนุนให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้งานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับสากลและเป็นจังหวัดเศรษฐกิจใหม่ของภาคใต้ ซึ่งภายในงานสัมมนาฯมีเสวนาแผนงานการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติก รวมถึงแนะนำโครงการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกและการจัดการขยะในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลอย่างยั่งยืน ช่วงบ่ายเป็นภาคปฏิบัติเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและรับสมัครเข้าร่วมโครงการจากผู้ประกอบการด้านการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติก โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะจังหวัดสตูล ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป
นางสาวธัญรัศม์ ไตรพันธ์รัชตะ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสตูล กล่าวว่า จังหวัดสตูล มีวิสัยทัศน์การพัฒนาของจังหวัดให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยาธรณีโลก เศรษฐกิจมั่นคง สังคมน่าอยู่ สันติสุขยั่งยืน ประตูสู่อาเซียน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยว การเกษตรและการค้าสู่อาเซียน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและอุทยานธรณีสตูลอย่างสมดุลและยั่งยืน และการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความมั่นคงและสังคมสันติสุข ดังนั้น การดำเนินงานของ กระทรวง อว. โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาผู้ประกอบการและประชาชนในจังหวัดสตูล นับว่ามีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันให้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสตูลประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล