ปรับปรุงมาตรฐาน’ฝุ่นพิษ’ ขับเคลื่อนอากาศสะอาด

ปัญหาฝุ่นและมลพิษอากาศวาระสำคัญของประเทศไทย

ประเด็นปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ  PM2.5 และมลพิษอากาศเป็นวาระสำคัญของประเทศไทย  ในการทวงอากาศสะอาดคืนมาต้องให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมวางแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา  ซึ่งขบวนการทางกฎหมายตั้งแต่การผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด ไปจนถึงบังคับใช้กฎหมายเพื่อกำกับดูแลและสร้างแรงจูงใจให้ภาคส่วนต่างๆ กระตือรือร้นลดฝุ่นพิษทำลายสุขภาพมีความสำคัญ

การปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ให้ดีขึ้นและไม่ตกขบวนมาตรฐานสากล เท่าทันกับปัญหาที่รุนแรง เป็นอีกมาตรการเพื่อลดมลพิษอากาศ ซึ่งที่ผ่านมามีการร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยกร่างดังกล่าวเพื่อรับมือกับปัญหาฝุ่น

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กล่าวว่า มลพิษทางอากาศฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหามากว่า 10 ปี ทำให้ ครม. มีนโยบายให้การแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ ปี 2562-2567 มีมาตรการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพื้นที่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งต้องมีการกำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง และค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การอนามัยโลก (WHO) ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงถือเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรฐานฝุ่น PM 2.5 และร่วมกันพัฒนาแผนงานหรือกลยุทธ์ที่จะดำเนินการให้ชัดเจน เพื่อรองรับการกำหนดค่ามาตรฐานที่ปรับปรุงใหม่ มุ่งขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

วิกฤตฝุ่นคุกคามชีวิตคนไทย นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส.  กล่าวว่า สสส. ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ได้ยกระดับการดำเนินงานปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ด้าน “การลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม” เป็น 1 ใน 7 ทิศทาง และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 10 ปี (2565-2574) มลพิษทางอากาศ ถือเป็นเรื่องที่ต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ที่ผ่านมา สสส. จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) สนับสนุนงานวิชาการขับเคลื่อนแก้ปัญหามลพิษอากาศ ขยายเครือข่ายภาคประชาสังคมสนับสนุนการดำเนินงานสภาลมหายใจภาคเหนือ แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 แบบองค์รวม รวมถึงผลักดันปทุมวันโมเดลลดฝุ่นเขตเมือง เนื่องจากฝุ่นเพิ่มความเสี่ยงโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

นายชาติวุฒิ วังวล

“ ประเทศไทยใช้มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา สอดคล้องกับค่าเป้าหมายระหว่างทางระดับที่ 2 (Interim Target-2; IT-2) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งปัจจุบัน WHO ได้ประกาศปรับเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่ที่เข้มข้นขึ้นในรอบ 16 ปี แม้ยังไม่มีประเทศใดประกาศใช้ค่ามาตรฐาน PM 2.5 เท่าเกณฑ์ใหม่ของ WHO ก็ตาม  แต่การปรับเกณฑ์ของประเทศไทยให้อยู่ในระดับ Interim Target-3; IT- 3 ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำให้ต้องเร่งแก้มลพิษอากาศจริงจัง และบังคับใช้ในเร็ววัน เพื่อให้จำนวนวันที่อากาศสะอาดของคนไทยมีเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ทางสุขภาพ ” นายชาติวุฒิ กล่าว

ภาครัฐมีบทบาทสำคัญดับฝุ่น นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่เสนอแนะกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การปรับแก้ไขมาตรฐานคุณภาพอากาศสิ่งแวดล้อมจะนำไปสู่การปรับปรุง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อป้องกันผลกระทบสุขภาพจากการได้รับฝุ่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จากเกณฑ์แนะนำใหม่ของ WHO โดยปรับปรุงค่ามาตรฐานราย 24 ชม. จากเดิมไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เป็นไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.  ส่วนค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จากเดิมไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. เป็นไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม.  (สอดคล้องกับระดับ Interim Target-3; IT- 3 ของ WHO) เมื่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เห็นชอบ คาดว่าจะประกาศใช้ให้ทันภายในเดือน ก.ย. 2565

ความคืบหน้าล่าสุดในการผลักดันร่างมาตรฐานฝุ่นพิษ  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 ได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตามที่กรมควบคุมมลพิษเสนอเป็นที่เรียบร้อย  พร้อมมีมติให้บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศ จากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานยูโร 5 พร้อมกับน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่  1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567