นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ร่วมปาฐกถาการประชุม German – Thai Conference ในหัวข้อ “The Future is Rail” และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงเพื่อความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างสมาคมอุตสาหกรรมระบบรางในเยอรมนี และประธานสมาคมระบบรางเยอรมัน - ไทย โดยมี นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ ได้แก่ ศ.ดร.นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล ประธานสมาคมระบบรางเยอรมัน-ไทย และ นายอักเซล ชุพเพ่ (Axel Schuppe) ผู้จัดการสมาคมอุตสาหกรรมระบบรางในเยอรมนี และผู้แทนภาคเอกชนและภาควิชาการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมระบบรางทั้งของไทยและเยอรมนี และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์สาทร กรุงเทพฯ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางระบบรางและการขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญภายใต้คำแถลงนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย โดยกำหนดให้การคมนาคมทางระบบรางรางเป็นรูปแบบการคมนาคมหลักของประเทศ สามารถรองรับการขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ โดยคำนึงถึงแนวคิดเรื่องความสะดวก ความปลอดภัย ตรงต่อเวลา และความคุ้มค่า รวมถึงช่วยลดการใช้พลังงานซึ่งอาจบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคการขนส่ง
และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว กระทรวงคมนาคมจึงให้ความสำคัญต่อการกำหนดแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟของไทยตลอดจนระดับการให้บริการ โดยแผนดังกล่าวจะกล่าวถึงโครงสร้างพื้นฐานของระบบรางในอนาคต และการให้บริการระบบรางสาธารณะด้วยการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ และเทคนิคการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้ารวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการในประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคมได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนในการแก้ปัญหาการขนส่งจากรถบรรทุกเป็นระบบราง นอกจากนี้ยังมีโครงการ MR Map ที่จะส่งเสริมการบูรณาการแนวทางการแก้ปัญหาการขนส่ง และการจราจรทางรถไฟที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการเติบโตของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นระบบเพื่อจัดการกับปัญหาการจราจรติดขัดและมลภาวะในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
กระทรวงคมนาคมยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าในเขตปริมณฑลต่อไป ปัจจุบันมี 11 เส้นทางและภายในปี 2579 จะมี 14 เส้นทาง รวมระยะทาง 554 กิโลเมตร ระบบรถไฟฟ้าไม่เพียงแต่ลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล แต่ยังช่วยปรับปรุงการสัญจรภายในเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ เราวางแผนที่จะพัฒนาระบบขนส่งไฟฟ้าในเมืองใหญ่อื่นๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต และนครราชสีมาในการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาค
รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงการใช้รถไฟเป็นรูปแบบหลักในการเชื่อมต่อการขนส่งทุกรูปแบบ ตั้งแต่ท่าเรือทางทะเล สนามบิน และท่ารถบรรทุก ภายในปี 2572 กระทรวงคมนาคมจะขยายโครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่มจาก 173 กิโลเมตรเป็น 3,327 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งและโลจิสติกส์ภายในประเทศ ปัจจุบันมีโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โครงการเหล่านี้เป็นโครงการเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมต่อทภายในภูมิภาคอาเซียน
ประเทศเยอรมนีเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมระบบรางที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยได้วิจัยค้นคว้าและผลิตเทคโนโลยีระบบรางมาอย่างยาวนาน โครงการรถไฟฟ้าหลายโครงการได้ใช้เทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี จึงมั่นใจว่าฝ่ายเยอรมนีจะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศไทยเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียมเช่นเดียวกับในเยอรมนี
โดยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 กระทรวงคมนาคมของไทยและเยอรมนีได้ลงนามในข้อตกลงขยายระยะเวลาร่วมประกาศเจตจำนง (JDI) ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาทางรถไฟในประเทศไทย โดยขยายเวลา JDI 2 ครั้ง นับตั้งแต่ลงนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ความร่วมมือทวิภาคีภายใต้ JDI ได้นำไปสู่ความคิดริเริ่มที่มีแนวโน้มดีหลายประการ รวมถึงการจัดตั้ง GTRA ตลอดจนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยของไทยและเยอรมนี
โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนให้ความรู้และฝึกอบรมในทุกระดับเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบรถไฟในประเทศไทย ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งซ่อมสร้าง แหล่งผลิต และแหล่งรวมวิทยาการระบบรางที่เป็นรูปธรรมภายใต้นโยบาย Thai First เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' แจงไปตีกอล์ฟ ไม่มีอะไรต้องเคลียร์ 'อนุทิน' เป็นเรื่องธรรมดาลิ้นกับฟัน
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีปรากฎภาพตีกอล์ฟร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสารัชถ์ รัตนาวะดี
ไม่ใช่อีแอบแล้ว แนวทางชัดขนาดนี้! 'สุขุม' อ่านเกม 'ภูมิใจไทย' ปมโหวตประชามติแก้ รธน.
ต่อประเด็นเรื่องการโหวตประชามติแก้ไข รธน. ที่พรรคภูมิใจไทย โหวตต่างจากพรรคแกนนำรัฐบาล ขณะที่พรรคร่วมบางพรรค ไม่ร่วมโหวต ซึ่งทาง สส.เพื่อไทย มองเป็นอีแอบ
'ทักษิณ' ขออย่าสนใจ 'อีแอบ' ยันคุยกับ 'ภูมิใจไทย' อยู่ตลอด
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยตบไหล่ผู้สื่อข่าว พร้อมกล่าวว่า “เดี๋ยวไว้เราเจอกันที่เชียงใหม่”
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
นายกฯอิ๊งค์ บอกไม่เป็นไร พรรคร่วมฯเห็นต่างกฎหมายประชามติ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมสส. -สว. ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงไม่เป็นเอกฉันท์