สสส. ผนึก ทส. ชง ปรับแก้ค่ามาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ราย 24 ชม. และ 1 ปี เข้มงวด เพิ่มระดับป้องกันผลกระทบสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคทางเดินหายใจ-โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชู หมุดหมายสู่เกณฑ์แนะนำ WHO ภายในปี 65

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กล่าวว่า มลพิษทางอากาศฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เป็นปัญหามากว่า 10 ปี ทำให้ ครม. มีนโยบายให้การแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ ปี 2562-2567 มีมาตรการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพื้นที่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งต้องมีการกำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง และค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การอนามัยโลก (WHO) ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงถือเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรฐานฝุ่น PM 2.5 และร่วมกันพัฒนาแผนงานหรือกลยุทธ์ที่จะดำเนินการให้ชัดเจน เพื่อรองรับการกำหนดค่ามาตรฐานที่ปรับปรุงใหม่ มุ่งขับเคลื่อนแก้ปัญหาฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ได้ยกระดับการดำเนินงานปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ด้าน “การลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม” เป็น 1 ใน 7 ทิศทาง และเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 10 ปี (2565-2574) มลพิษทางอากาศ ถือเป็นเรื่องที่ต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ที่ผ่านมา สสส. จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) สนับสนุนงานวิชาการขับเคลื่อนแก้ปัญหามลพิษอากาศ ขยายเครือข่ายภาคประชาสังคมสนับสนุนการดำเนินงานสภาลมหายใจภาคเหนือ แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 แบบองค์รวม รวมถึงผลักดันปทุมวันโมเดลลดฝุ่นเขตเมือง เนื่องจากฝุ่นเพิ่มความเสี่ยงโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

“ประเทศไทยใช้มาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา สอดคล้องกับค่าเป้าหมายระหว่างทางระดับที่ 2 (Interim Target-2; IT-2) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งปัจจุบัน WHO ได้ประกาศปรับเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่ที่เข้มข้นขึ้นในรอบ 16 ปี แม้ยังไม่มีประเทศใดประกาศใช้ค่ามาตรฐาน PM 2.5 เท่าเกณฑ์ใหม่ของ WHO ก็ตาม แต่การปรับเกณฑ์ของประเทศไทยให้อยู่ในระดับ Interim Target-3; IT- 3 ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำให้ต้องเร่งแก้มลพิษอากาศจริงจัง และบังคับใช้ในเร็ววัน เพื่อให้จำนวนวันที่อากาศสะอาดของคนไทยมีเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ทางสุขภาพ” นายชาติวุฒิ กล่าว

นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษ ทส. มีหน้าที่เสนอแนะกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การปรับแก้ไขมาตรฐานคุณภาพอากาศสิ่งแวดล้อมจะนำไปสู่การปรับปรุง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อป้องกันผลกระทบสุขภาพจากการได้รับฝุ่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จากเกณฑ์แนะนำใหม่ของ WHO โดยปรับปรุงค่ามาตรฐานราย 24 ชม. จากเดิมไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นไม่เกิน 37.5ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จากเดิมไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นไม่เกิน 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ร่างมาตรฐานฝุ่นฉบับนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา เพื่อประกาศใช้ให้ทันภายในเดือนกันยายน 2565

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต