MOU หยุดมลพิษขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างอากาศสะอาด

สสส.ร่วมลงนาม MOU ตัดวงจรมลพิษซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ปัญหามลพิษจากการคัดแยกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นอีกวิกฤตที่สร้างผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพของประชาชน แต่ละปีประเทศไทยมีปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นมากกว่า 4.3 ตัน ถูกเก็บรวบรวมไปกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 70 ตันเท่านั้น  ซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีค่าจะถูกขายให้ซาเล้ง หรือร้านรับซื้อของเก่า ส่วนที่ไม่มีค่าจะถูกทิ้งปะปนกับขยะชุมชน เกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม

เพื่อยับยั้งปัญหาดังกล่าว กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายจำนวน 118 แห่ง ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการร้านขายของเก่า โรงหลอมโลหะ โรงงานรีไซเคิล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การไม่รับซื้อวัสดุมีค่าจากการเผาซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์”  ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อวานนี้

ประกาศเจตนารมย์ยกเลิกรับซื้อทองแดงจากการเผา

นายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทส.กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการฟื้นฟูมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ปัญหาการเผาในที่โล่งคือสาเหตุหลักเกิดมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ  PM 2.5 โดยเฉพาะการเผาสายไฟขนาดเล็กในซากผลิตภัณฑ์ในบ่อขยะหรือตามที่รกร้าง เพื่อคัดแยกทองแดงไปขายให้ร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ ส่งต่อไปที่ร้านรับซื้อของเก่ารายใหญ่ก่อนขายให้กับโรงหลอม ต้องทำงานเชิงรุก ทส. ร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่ายเร่งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจระดับพื้นที่ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมลดมลพิษนำไปสู่การแสดงเจตนารมณ์ไม่รับซื้อทองแดงจากการเผาซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสนับสนุนผู้ถอดแยกซากผลิตภัณฑ์ฯ และใช้วิธีการที่เหมาะสมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จาก MOU นี้จะช่วยให้การบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปริมาณขยะ ลดมลภาวะทางอากาศ สอดรับกับ ร่าง พ.ร.บ.การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเร็วๆนี้

**แนวทางการปฏิบัติใน MOU ครั้งนี้ ให้ท้องถิ่นควบคุมการเผาในที่โล่งและให้ประกอบกิจการถอดแยกอย่างถูกต้อง ,จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนและสนับสนุนเครื่องจักรบดย่อยสายไฟเพื่อใช้คัดแยกทองแดงแทนการเผา ,ประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายที่เกิดจากการเผาสายไฟและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ,ห้ามการเผาสายไฟในที่โล่งอย่างเด็ดขาด ฝ่าฝืนปรับ 5 หมื่นบาท ,ให้ผู้ประกอบกิจการร้านรับซื้อของเก่าและโรงงานรีไซเคิลทองแดงส่งขายทองแดงที่ได้จากการเผาที่รับซื้อหรือมีครอบครองไว้ภายใน 60 วัน และให้ยกเลิกการรับซื้อทองแดงจากการเผาอย่างเด็ดขาดต่อไป และผู้ที่มีสายไฟขนาดเล็กให้ระบายไปสู่โรงงานหลอมทองแดง

สนับสนุนความรู้ในการประกอบกิจการถอดแยกซากขยะอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่ สสส.ซึ่งเกาะติดปัญหามลภาวะอากาศ โดยเฉพาะอันตรายจากฝุ่น PM2.5 ร่วมขับเคลื่อน MOU  ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในการ ไม่เผา ไม่ซื้อ ไม่ขาย โลหะทองแดงที่มาจากการเผา ตัดวงจรการสร้างฝุ่นพิษ

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับการป้องกันแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยอย่างรุนแรง ทั้งมลพิษจากอุตสาหกรรม มลพิษจากขยะ และมลพิษทางอากาศ  ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 10 ปี (2565-2574) ที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ปัญหาสะสมที่อยู่กับสังคมไทย 10 ปี เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆ การเผาซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ แผงวงจร สายไฟ จอภาพแอลซีดี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา ฝุ่น PM 2.5 MOU ครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทุกภาคส่วนทั้งภาคนโยบาย เอกชน  สมาคม ผู้ประกอบ อปท. และภาคประชาสังคม ร่วมขับเคลื่อนแก้ปัญหามลพิษ โดยยินดีจะสนับสนุนการดำเนินเรื่องนี้ให้ประสบผลสำเร็จ

“ การเผาซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ก๊าซฟอสจีน สารประกอบไดออกซิน เป็นสารตั้งต้นก่อมะเร็ง กลุ่มเสี่ยงมีทั้งผู้เผา  ผู้ถอดแยก คนในชุมชนที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกต้องและชุมชนใกล้เคียง เพราะสารอันตรายปนเปื้อนในดิน น้ำ และอากาศ  นอกจากทำลายสิ่งแวดล้อม ยังทำลายสุขภาพของคนไทย ถ้าสูดดมเป็นเวลานาน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต  “ นายชาติวุฒิกล่าว

นอกจากการผู้ประกอบการไม่เผา ไม่ซื้อ ไม่ขาย โลหะทองแดงที่มาจากการเผา หยุดสร้างฝุ่นพิษ สร้างอากาศสะอาดให้คนไทยแล้ว นายชาติวุฒิ กล่าวในท้ายว่า อีกแนวทางแก้ปัญหาสำคัญ คือ การรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กลับมาใช้หรือกำจัดอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีหลายช่องทางรับคืนซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและขยะอิเล็กทรอนิกส์ อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการอย่างถูกต้อง ไม่ทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป  รวมถึงใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคุ้มค่า เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้กับประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"

การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี

เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่

กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง