เผย ปี 65 แรงงานไทย ยื่น ‘ลาออก’ กว่า 7.7 หมื่นราย พบ 87% เหตุเครียด ทำงานไร้ความสุข สสส. – สธ. ชู โปรแกรมอบรม “สร้างสุขด้วยสติในองค์กร MIO” รูปแบบ e-Learning

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เมื่อเดือนมกราคม 2565 พบวัยแรงงานขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงาน 392 ราย ของสายทั้งหมด 5,978 สาย สอดคล้องกับข้อมูลการลาออกของแรงงานในประเทศไทย ที่มีการขึ้นทะเบียนตนเป็นผู้ว่างงานตามระเบียบของสำนักงานประกันสังคมของประเทศไทย โดยกองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เมื่อเดือนมกราคม 2565 พบว่า มีผู้ขึ้นทะเบียนว่างงาน 88,119 คน สาเหตุเกิดจากการลาออกด้วยตัวเองจากภาวะหมดไฟ ไม่มีความสุขในการทำงานถึง 77,143 คน หรือร้อยละ 87.54 สะท้อนได้ถึงการขาดวิธีจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตของวัยแรงงาน

“สสส. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2565 นี้ สสส. ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการ “สร้างสุขและจิตสำนึกด้วยโปรแกรมสติในองค์กร” พัฒนาโปรแกรมสร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization : MIO) ภายใต้แนวคิด Happy Workplace เป็นโปรแกรมเพื่อมุ่งส่งเสริมให้มีความสุขในการทำงาน มีสุขภาพจิตที่ดี และเน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น มีสัมพันธ์ภาพกับเพื่อนร่วมงานดีขึ้น มีความสุขในการทำงานมากขึ้น และเกิดความสงบด้วยการรับฟังและสื่อสารอย่างมีสติ รวมถึงเกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งในระดับตนเอง ทีม องค์กร และสังคมได้ เนื่องจากกลุ่มแรงงานเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศให้อยู่รอดจึงต้องได้รับการดูแลสุขภาวะทุกมิติอย่างจริงจัง” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาโครงการสร้างสุขและจิตสำนึกด้วยโปรแกรมสติในองค์กร สสส. กล่าวว่า การมีสติและสมาธิ คือ การฝึกสภาวะจิตที่สูง เป็นเครื่องมือในลักษณะ Meta skill นำไปสู่คุณลักษณะที่ดี เช่น เห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบ มีความคิดบวก ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมแนวคิด Happy Workplace ของ สสส. เรื่อง Happy Soul ซึ่งเป็นความสุขด้านจิตใจ มีคุณธรรม และศีลธรรมในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้มีการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล เพิ่มความสุขในการทำงาน นำไปสู่สังคมที่ร่วมสร้างองค์กรแห่งความสุข

“โปรแกรมอบรม MIO  แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 3 เรื่อง 1. สติกับการเรียนรู้พัฒนาตน ประกอบด้วย 3 เรื่องย่อย คือ กรอบแนวคิดและบุคคลในดวงใจ การฝึกสมาธิ และการฝึกสติ 2. สติในทีมสัมพันธภาพ การทำงานร่วมกัน ประกอบด้วย 3 เรื่องย่อย คือ สติสื่อสาร สติสื่อสารระหว่างบุคคล และสติคิดบวก 3. สติกับการพัฒนาองค์กร ประกอบด้วย 2 เรื่องย่อย คือ การประชุมด้วยสติสนทนาแบบกัลยาณมิตร และการประชุมด้วยสติสนทนาแบบอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ โดยโปรแกรมจะแบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร หลักสูตรสำหรับวิทยากร และหลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้สนใจสามารถเรียนรู้หลักสูตรสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ลงทะเบียนเพื่อเรียนในรูปแบบ e-Learning ได้ที่ www.thaimio.com/elearning/” นพ.ยงยุทธ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2

เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม  ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

ฟิล์ม-รัฐภูมิ ยื่น กกต.ไขก๊อกพ้นสมาชิก พปชร. ‘ไพบูลย์’ ชี้เรื่องส่วนตัวไม่กระทบพรรค

เรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ที่ยังไม่รู้ว่าเขาผิดหรือเขาถูก เพราะเราไม่เกี่ยวข้อง และเรื่องนี้ไม่กระทบกับภาพลักษณ์พรรค ไม่ทำให้เรามีปัญหา

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม