ผู้สื่อข่าวรายงาน อ้างอิงเอกสารถึง ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ยื่นโดย นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ ส.ส.จังหวัดศรีษะเกส ให้ตรวจสอบ การจัดทําโครงการประกวดราคาจ้างก่อสร้างขยายกําลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ํามหาสวัสดิ์ฯ
ระบุว่า จากกรณีที่ การประปานครหลวง จัดทําโครงการประกวดราคาจ้างก่อสร้างขยายกําลังการผลิตน้ำที่โรงงาน ผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ฯ มูลค่าราคากลาง 6,526.97 ล้านบาท เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ซึ่งบริษัท วงษ์สยาม ก่อสร้าง จํากัด และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ STEC ที่เสนอราคาต่ำสุด เป็นอันดับ 1-2 แต่กลับถูกตัดสิทธิ์การประมูล
โดยให้ผู้ซึ่งเสนอราคาสูงที่สุดชนะการประมูล โดยที่คณะกรรมการอ้างว่า ทั้ง 2 บริษัท "ขาดคุณสมบัติ ตามประกาศประกวดราคาข้อ 11 และเอกสารประกวดราคาจ้าง ข้อ 2.11 ที่ระบุว่า ผู้เข้าร่วมประมูลต้องมีผลงานก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาไม่น้อยกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน วงเงินไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งทางคณะกรรมการแจ้งว่า กําลังการผลิตน้ำประปาข้างต้นหมายถึงกําลังผลิตสุทธิ ต้องไม่นําตัวเลข ปริมาณน้ำสูญเสียเข้ามารวมด้วย
ต่อมา ผู้ร่วมประมูลที่เสนอราคาต่ำสุด อันดับ 1 และ 2 ส่งเรื่องอุทธรณ์ไปให้คณะกรรมการอุธรณ์ โดย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลาง ทําหน้าที่เป็น ประธานได้พิจารณาข้อเรียกร้องจากเอกชน และมีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และข้อร้องเรียนคณะที่ 1 เสนอ โดยมีมติว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) และ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จํากัด มีคุณสมบัติตามเอกสารประกวดราคา (TOR) ในการเข้าร่วมการประมูลจ้าง ก่อสร้างขยายกําลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์
จึงให้ กปน.กลับไปดําเนินการในขั้นตอนการพิจารณา ข้อเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องไปต่อไป ตามนัยมาตรการ 119 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลาง ทําหน้าที่เป็นประธานได้มี ข้อยุติในการสอบสวนแล้วนั้น แสดงให้เห็นถึงการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการประกวดราคาโครงการประกวด ราคาจ้างก่อสร้างขยายกําลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ฯ น่าจะเข้าข่ายเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ในการประกวดราคาครั้งนี้มีมูลเหตุอันควรสงสัยที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง เป็นเหตุให้ กปน.เสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ผู้เสนอราคาต่ำสุด และมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่
จึงขอให้มีการ สอบสวนเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ความจริงปรากฎเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ รวมถึงหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิด เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในอนาคตอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า วันที่ 29 ต.ค. 2554 การประปานครหลวง (กปน.) ออกประกาศ เรื่องประกวดราคาจ้างก่อสร้างขยายกำลังการผลิต น้ำ โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ขนาด 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมงานที่เกี่ยวข้องสัญญา GE-MS5/6-9 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 6,526.97 ล้านบาท เมื่อกำหนดยื่นข้อเสนอ (e-bidding) ในวันที่ 15 ธ.ค. 2564 มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 5 ราย จากเอกชนที่ซื้อซอง 9 ราย ผลปรากฏว่า บริษัทฯ เสนอราคาต่ำ สุด 3 อันดับแรก
ได้แก่ อันดับ 1 บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จํากัด เสนอราคา 6,150 ล้านบาท อันดับ 2 บมจ.ชิโน-ไทยฯ เสนอราคา 6,195.3 ล้านบาท อันดับ 3 ITA Consortium (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) และบริษัท อาควาไทย จํากัด) เสนอราคา 6.460 ล้านบาท
แต่ปรากฏว่า บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จํากัด ถูกตัดสิทธิไม่ได้รับการพิจารณา เนื่องจาก กปน. แจ้งว่า วงษ์สยามก่อสร้าง มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เพราะ "มีคุณสมบัติ ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ตามที่กําหนดในประกาศประกวดราคาข้อ 11 และเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2.11”
ขณะที่ บมจ.ชิโน-ไทยฯ ซึ่งถูกตัดสิทธิจากการเข้าร่วมประมูลด้วย นั้น กปน. แจ้งว่า บมจ.ซิโน-ไทยฯ มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เนื่องจาก ผลงานก่อสร้างที่ใช้ยื่นเป็น คุณสมบัติ ถูกตีความว่ามีขนาดน้อยกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
ส่งผลให้ ITA Consortium (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) และบริษัท อาควาไทย จํากัด) ซึ่งเสนอราคามาเป็นอันดับ 3 ที่ 6,460 ล้านบาท ชนะการประมูล จากนั้น กปน. เจรจาต่อรองราคากับ ITA Consortium และลดราคาจ้างลงมาเหลือ 6,400 ล้านบาท ก่อนจะประกาศให้ ITA Consortium เป็นผู้ชนะการเสนอราคา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565
อย่างไรก็ตาม 2 เอกชนที่ถูกตัดสิทธิ์ได้ยื่นอุทธรณ์ กับ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง พร้อมกับชี้แจงปัญหาเรื่องการเพิ่มคุณสมบัติเพิ่มเติมภายหลัง เรื่องกำลังการผลิตน้ำสุทธิ ไม่รวมปริมาณน้ำเสีย ซึ่งเอกชนสงสัยว่า เป็นการกำหนดคุณสมบัติ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่เอกชนบางราย ที่สุดแล้ว คณะกรรมการอุทธรณ์ฯ จึงมีมติให้ 2 เอกชนที่ร้องเรียนมีคุณสมบัติครบ ตามที่เป็นข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' แจงไปตีกอล์ฟ ไม่มีอะไรต้องเคลียร์ 'อนุทิน' เป็นเรื่องธรรมดาลิ้นกับฟัน
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีปรากฎภาพตีกอล์ฟร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสารัชถ์ รัตนาวะดี
ไม่ใช่อีแอบแล้ว แนวทางชัดขนาดนี้! 'สุขุม' อ่านเกม 'ภูมิใจไทย' ปมโหวตประชามติแก้ รธน.
ต่อประเด็นเรื่องการโหวตประชามติแก้ไข รธน. ที่พรรคภูมิใจไทย โหวตต่างจากพรรคแกนนำรัฐบาล ขณะที่พรรคร่วมบางพรรค ไม่ร่วมโหวต ซึ่งทาง สส.เพื่อไทย มองเป็นอีแอบ
'ทักษิณ' ขออย่าสนใจ 'อีแอบ' ยันคุยกับ 'ภูมิใจไทย' อยู่ตลอด
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยตบไหล่ผู้สื่อข่าว พร้อมกล่าวว่า “เดี๋ยวไว้เราเจอกันที่เชียงใหม่”
รัฐสภารับหลักการ ร่าง 'พ.ร.ป.ปราบทุจริต' สว.เสียงแตก หนุน-ค้าน
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายมงคล สุระสัจจะ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ... ซึ่งเสนอโดย คณะรัฐมนตรี (ครม.)
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน