2เมษายนของทุกปี วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 40กว่าองค์กรทั้งในและนอกประเทศรวมพลังจัดงาน ถ่ายทอดสด“FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย” สสส. ปลื้มนวัตกรรม“โคแฟค” ขยายผลสู่ระดับภูมิภาค ปีที่3ปั้นพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ ร่วมใช้งานกว่า480,000ครั้ง เล็งดึงกลุ่มผู้ผลิตสื่อ ร่วมรับผิดชอบสังคม-สร้างความเป็นธรรม-ทะลายกำแพงความเหลื่อมล้ำ มุ่งสร้างสังคมสุขภาวะ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับ โคแฟค ประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามันเพื่อเสรีภาพ(FNF) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) และภาคีเครือข่ายตรวจสอบข่าวลวงกว่า40องค์กรจัดงานถ่ายทอดสดวาระพิเศษ“FactCollabTHภาคีขับเคลื่อนข่าวจริงประเทศไทย”เนื่องในวาระวันตรวจสอบข่าวลวงโลกปี2565 เมื่อวันที่2เมษายน2565ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯจัดขึ้นในเมืองไทยเป็นปีที่2ภายใต้สถานการณ์โควิด จึงไม่สามารถจัดงานเต็มรูปแบบได้ วิทยากรจากต่างประเทศทำกิจกรรมออนไลน์ผ่านZoom
ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์
ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวทางZoomมาจากเชียงใหม่ว่า ในวันที่2เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันตรวจสอบข่าวลวงโลก(International Fact-Checking Day) สสส. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพลเมืองดิจิทัลรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งในปี 2563 สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมกลไกโคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ cofact.org และไลน์ @cofact โดยมีฐานข้อมูลด้านสุขภาพกว่า 5,400 ข่าว พร้อมขยายผลกลไกการเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อบนฐานวัฒนธรรมการใช้สื่อของพลเมืองดิจิทัลไปสู่ชุมชน และสถานศึกษา เกิดเป็นชุมชนโคแฟคที่ประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบข่าวลวง(Fact Checker) และให้ความสนใจใช้ข้อมูลการตรวจสอบข่าว ในช่องทางต่างๆกว่า480,000ครั้งซึ่งมีเครือข่ายร่วมกันสอดส่อง เฝ้าระวัง และสกัดกั้นข่าวลวงที่สะท้อนความสำเร็จในการขับเคลื่อนการต่อต้าน ป้องกัน และรับมือกับปัญหาข่าวลวงในระดับประเทศ
“การจัดงานFactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย ครั้งนี้ สสส. ได้รับความร่วมมือจากองค์กรสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมขับเคลื่อนกลไกป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง เพื่อพัฒนาความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชน ที่มีความสำคัญต่อการผลิตข้อมูลที่ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่สังคมสุขภาวะ ถือเป็นการยกระดับการตรวจสอบข่าวตามมาตรฐานของ International Fact- Checking Network หรือ IFCN ที่ยังไม่มีองค์กรในไทยเป็นสมาชิก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสานพลังทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนกลไกการป้องกันและรับมือกับปัญหาข่าวลวงในยุคดิจิทัลในระดับสากล” ดร.จิรพร กล่าว
International Fact-Checking Day 2022
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผจก.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะสสส.กล่าวว่า สสส.และภาคีเครือข่ายร่วมกิจกรรมระดับโลกในวันตรวจสอบข่าวลวงโลกเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง ทุกวันนี้เราประสบปัญหาข่าวลวงเป็นจำนวนมาก ข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพ1ใน3หากเชื่อจะเป็นผลเสีย ขาดโอกาสในการรักษา ยิ่งข้อมูลที่บิดเบือน จึงต้องร่วมมือกันจับมือกับไทยพีบีเอส มูลนิธิฟรีดิช โคแฟคและอีกหลายภาคส่วนเห็นความสำคัญการสร้างกลไกเครือข่ายPlatformเข้ามาสอบถาม
จากการทำงานร่วมกันช่วยกันตรวจสอบข่าวลวงให้ทันท่วงทีก่อนที่จะนำเผยแพร่กันต่อไป กลไกตรวจสอบนี้ได้ทำขึ้นเป็นปีที่3แล้ว สร้างกลไกนำผลงานที่ได้ทำแล้วเข้าถึงชุมชน องค์กรนำงานของCofactทำให้รู้ถึงกลยุทธข่าวลวง ด้วยการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อกลบข่าวลวง ทุกวันนี้ข้อมูลที่เข้ามาถึง5แสนmessageจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง เพราะข่าวลวงสร้างผลกระทบมากมาย ต้องสร้างความรอบรู้ในการตรวจสอบข่าวสารอย่างเข้มแข็ง คิดวิเคราะห์ข้อมูลก่อนหลงเชื่อข่าวที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง เร่งตรวจสอบข้อมูลให้ทันท่วงทีและเสนอข้อมูลที่ถูกต้องให้ทันสถานการณ์
ข้อความสั้นๆเป็นสิ่งเตือนใจในการใช้สื่อออนไลน์
ข่าวลวงที่มาจากสังคมออนไลน์ ด้วยการนำAIซึ่งมีความน่าเชื่อถือ นำเสนอเป็นรูปภาพโดยเฉพาะเมื่อนักวิชาการนำมาใช้ด้วยระบบITในเมืองไทยเพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร ประชาชนจะต้องมีกระบวนการแยกแยะ ไม่ควรหลงเชื่อข้อมูลง่ายๆ ทั้งโลกสรุปแล้วว่าข่าวลวงมีความรุนแรงยิ่งกว่าโควิด ขณะนี้สสส.ขอความร่วมมือกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพื่อที่จะนำอสม.เข้ามาช่วยกันทำงาน นำหลักสูตรออนไลน์ที่โคแฟคพัฒนาออกเผยแพร่เข้าไปในชุมชน เพื่อรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพอย่างถูกต้อง
นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SONP) กล่าวว่า ข่าวลวง คือ ข้อมูลบิดเบือน หรือข้อมูลเท็จในสื่อออนไลน์ เป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบทั่วโลก สื่อสารมวลชน หรือกลุ่มผู้ผลิตสื่อโดยตรง พยายามทำหน้าที่สร้างการรับรู้ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ผ่านการตรวจสอบข้อมูล และรับผิดชอบในการสื่อสารต่อสังคม สิ่งสำคัญคือ ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งขยายเครือข่ายเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึง และการสื่อสารให้กับประชาชนมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับปัญหาข่าวปลอม เป็นเสมือนวัคซีนคุ้มกันไม่ให้ข่าวปลอมระบาดในวงกว้างจนทำให้สถานการณ์วิกฤตในประเทศแย่ลง
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค ประเทศไทย กล่าวว่าโคแฟคประเทศไทยได้นวัตกรรมการออกแบบไอเดียมาจากไต้หวัน ส่วนใหญ่แล้วข่าวลวงได้จากการใช้app ได้ข้อมูลผ่านมาทางไลน์ด้วยการส่งข้อความ หากจะตรวจสอบว่าได้รับข่าวลวงหรือไม่ให้หาคำตอบที่ถูกต้องผ่านทางโคแฟคโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทางอย.ตรวจสอบแล้ว ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่ใช้เว็ปค่อนข้างสะดวกกว่าทั้งยังมีเนื้อหาที่อ้างอิงได้ ข่าวที่เกี่ยวกับสงครามรัสเซียและยูเครนก็ต้องเช็คแหล่งทีมาของต้นตอข่าว เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม
ในช่วงสัปดาห์วันตรวจสอบข่าวลวงโลกประจำปี2565 (Fact-Collab Week to Celebrate International Fact-Checking Day 2022) ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 2 เมษายน 2565 โคแฟค ประเทศไทย ร่วมกับสสส.และภาคีเครือข่าย ได้จัดกิจกรรมทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ 1.กิจกรรมเสวนาผลการสำรวจแบบสอบถามปัญหา SMS Call centerหลอกลวง 2.กิจกรรมเสวนารับมือปัญหามิจฉาชีพยุค5G ถึงเวลาวาระแห่งชาติ 3.กิจกรรมเสวนาสิทธิดิจิทัลในประเทศไทยคืออะไรทำไมจึงสำคัญ? และควรเริ่มต้นที่ตรงไหน? 4.กิจกรรมเสวนาบทบาทของอัลกอริทึม กับการเข้าถึงข้อเท็จจริงของประชาชน 5.อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การตรวจสอบข้อมูล ทั้งนี้ โคแฟค ประเทศไทย จะมีการจัดกิจกรรมทั้งในเชิงวิชาการ การขับเคลื่อนประเด็น และการสัมมนาร่วมกันตลอดทั้งปี เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายต่อไป
โปสเตอร์นำเสนอ40กว่าองค์กรร่วมกันจัดงาน“FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย”
นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มงานข่าว ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ไทยพีบีเอส มุ่งผลิตรายการทางด้านข่าวสารที่มีประโยชน์ในมิติต่างๆทั้งด้านการศึกษา และสาระบันเทิง โดยปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ไทยพีบีเอส ร่วมกับ โคแฟคตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อร่วมขับเคลื่อนข่าวจริง โดยร่วมสร้างมาตรฐานการสื่อสารเพื่อประโยชน์ของสังคม และร่วมสานพลังยกระดับงานตรวจสอบข่าวให้ได้มาตรฐาน International Fact Checking Network (IFCN)
ทั้งนี้ภายในงานมีการเสวนา “บทบาทสื่อไทยในการสกัดข่าวปลอม : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” นำโดยนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยพีบีเอส นายนพปฏล รัตนพันธ์ รองเลขาธิการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โคแฟค www.cofact.org https://blog.cofact.org และเฟซบุ๊กแฟนเพจ Cofact โคแฟค
นายเฟรดเดอริค ชปอร์ หัวหน้าสำนักงานประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ
มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ได้ร่วมเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนข่าวจริงกับโคแฟค ประเทศไทยตั้งแต่เริ่มต้น มีบทบาทในการจัดกิจกรรมสื่อสารสาธารณะต่างๆ รวมถึงสนับสนุนทุนพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในการร่วมตรวจสอบข้อมูล ส่งผลให้กลไกโคแฟคมีความเข้มแข็ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้างพลเมืองเท่าทันสื่อของประเทศไทย
จากสภาพข้อเท็จจริงที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในการรับรู้ข่าวสาร ประชาชนมีสุขภาพกายใจแข็งแรง เลือกที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ สสส.ตระหนักรู้ถึงเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสในการรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้อง การพัฒนาพลเมืองดิจิทัลรู้เท่าทันสื่อ มีขีดความสามารถ มาตรการระบบนิเวศผลักดันให้เกิดกลไกสื่อสารสุขภาวะ ตรวจสอบด้วยวัฒนธรรมการใช้สื่ออย่างถูกต้อง
สสส.เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานของโคแฟคในการสร้างเครือข่าย ร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชนช่วยกันตรวจสอบ สอดส่องเฝ้าระวังสะกัดกั้นข่าวลวง โคแฟคสร้างนวัตกรรมมีฐานข้อมูลสุขภาพ ขยายกลไกเฝ้าระวังการตรวจสอบสื่อ 4.8แสนเครือข่ายสกัดกั้นข่าวลวง ขยายองค์กรสื่อเพื่อผลักดันการตรวจสอบข่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ทุกวันที่2เม.ย.ของทุกปีเป็นวันตรวจสอบข่าวสาร ช่วยกันเตือนสติไม่หลงกลเชื่ออะไรง่ายๆ มีภาคีหลายภาคส่วนมารวมกันเป็นชุมชน แสวงหาความจริงร่วมสร้างพลเมืองดิจิทัลที่เข้มแข็ง มีกิจกรรมเสวนาที่น่าสนใจจำนวนมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต