คนพิการและผู้สูงอายุจำนวนมากเผชิญปัญหาสถานที่สาธารณะขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเอื้อให้ออกมาใช้ชีวิต มาทำงาน ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากไม่มีการออกแบบให้เหมาะสม เป็นที่มาของการเปิดแพลตฟอร์ม Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย ภายใต้แนวคิด “เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุในสังคม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
แพลตฟอร์มนี้เป็นการขยายผลจากการประกวดภาพถ่ายสถานที่สาธารณะที่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในประเทศไทย ทั้งทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ ป้ายสัญลักษณ์ ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน ถึง 4,932 รายการ โดยจัดลำดับกลุ่มสถานที่แบ่งเป็น 7 ดาว รวม 11 ประเภท ทั้งสถานที่ราชการ, ปั้มน้ำ, ร้านอาหาร, สถานที่สาธารณะ, สถานที่ขนส่ง, สถานศึกษา ,ศาสนสถาน, โรงพยาบาล และห้างสรรพสินค้า ฯ เผยแพร่ในรูปแบบแพลตฟอร์ม Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย
นายณัฐพล เทศขยัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรเฉพาะกลุ่มเฉพาะ สสส.กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส. ให้การสนับสนุนต่อยอดการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ในส่วนเครือข่ายวิชาการมีมหาวิทยาลัยรวม 12 แห่ง ที่มีคณะสถาปัตยกรรมหรือการออกแบบบให้คำปรึกษาการออกแบบปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามแนวคิด Universal Design Center( UD) ซึ่งข้อมูลจริงจากแพลตฟอร์ม Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัยจะเสริมการทำงานในมหาวิทยาลัย เชื่อว่า หากสามารถรวบรวมข้อมูลการใช้สถานที่ต่างๆ ได้ จะนำไปสู่การวิเคราะห์และเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุ และคนทุกกลุ่ม สสส. จะประสานเนคเทคพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ให้เกิดการใช้งานระยะยาว และเตรียมส่งต่อข้อมูลให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นเจ้าภาพดูแลฐานข้อมูลนี้ อนาคตสามารถนำไปใช้ต่อยอดรองรับสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในปี 2575
ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม นักวิจัยอาวุโส และหัวหน้าทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) เนคเทค กล่าวว่า มีแผนต่อยอดทางวิชาการและเทคนิคเพื่อให้ข้อมูลจากแพลตฟอร์ม “Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย”ใช้ประโยชน์ได้จริงและเข้าถึงได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สถานที่สาธารณะย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา อาจชำรุด ใช้งาน ฐานข้อมูลในแพลตฟอร์มต้องทันเหตุการณ์ตลอดเวลา ความร่วมมือจากประชาชนในการปรับปรุงข้อมูลมีส่วนสำคัญอย่างมาก
ภาพถ่ายสถานที่สาธารณะที่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในไทยเกือบ 5,000 รายการนี้ ดร.วสันต์ ให้ข้อมูลว่า จะใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยประเมินมาตรฐานเบื้องต้น ประหยัดเวลา ไม่ต้องไปสถานที่จริง ถ้าประเมินไม่ผ่าน ต้องปรับปรุง ถ้าผ่านผู้เชี่ยวชาญทาง UD จะไปประเมินสถานที่จริงอีกครั้ง
“ เมื่อมีข้อมูลสถานที่ที่มีคุณภาพด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแล้ว มีข้อเสนอให้ภาคธุรกิจที่มีแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือธุรกิจท่องเที่ยวนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์ เช่น แจ้งว่าที่ร้านมีทางลาดหรือห้องน้ำสะอาดที่เอื้อสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้เกิดการประชาสัมพันธ์บอกต่อ เป็นสิ่งจูงใจให้ไปใช้บริการ เดินทางท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกทางด้วย คาดหวังให้ข้อมูลนี้ไปสู่ผู้ใช้งานจริงมากที่สุด ” ดร.วสันต์ กล่าว
ด้าน นางศิริลักษณ์ มีมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ พม. กล่าวว่า จากการสำรวจของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า ในปี 2565 จะมีประชากรผู้สูงอายุ 20% ขึ้นไป และครึ่งหนึ่งของผู้พิการเป็นผู้สูงอายุ แพลตฟอร์ม Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย เกิดประโยชน์ต่อประชากรผู้สูงอายุในประเทศ อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาให้แพลตฟอร์มนี้มีความยั่งยืน เกิดการปฏิบัติได้จริง ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งแอปพลิเคชั่นไลน์เป็นสื่อที่ผู้สูงอายุเข้าถึงมากที่สุด ใช้งานง่าย ปลอดภัย สะดวก ทำให้เกิดการขยายผลส่งต่อเรื่องราว ผลจากการร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้ง สสส. และ เนคเทค สร้างโอกาสเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น นอกจากนี้ การขึ้นทะเบียนเพิ่มภาพถ่ายของสถานที่ต่างๆ ใน Line Chatbot เมืองใจดีเที่ยวทุกวัย ยังเกิดการเรียนรู้เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ และผู้สูงอายุ ประชาชนที่ร่วมแชร์ภาพถ่ายสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกกลายเป็นทูตสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน