โลกเปลี่ยนหลังโควิดระบาดหนัก องค์กรจะเดินหน้าอย่างไร? สสส.เปิดเวที“Happy Workplace Forum2022” จับมือภาคีเครือข่ายสร้างสังคมสุขภาวะยั่งยืน ชูนวัตกรรมแนวคิด‘Happy Workplace’ ช่วยคนทำงานมีความสุข-ตอบแทนผลกำไร 7 เท่า ยกระดับสู่ต้นแบบองค์กรสุขภาวะ 10,000 แห่งทั่วประเทศ
“องค์กร4.0ในยุคเมื่อโลกเปลี่ยน ปัจจัยที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกระทบต่อความสุขของคนในองค์กร เราจะเดินหน้ากันได้อย่างไร?” เป็นประเด็นคำถามที่นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร(สำนัก8) สสส.หยิบยกขึ้นมาให้วิทยากรไขคำตอบบนเวที“Happy Workplace Forum2022”ทั้งนี้เพราะสุขภาวะและการทำงานในอนาคต พัฒนาความสุขและสุขภาพเพื่อความสำเร็จในองค์กร ก่อนเกิดโควิดเป็นยุคDigital Disruption การบริหารองค์กรคนเป็นเรื่องสำคัญ เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม เมื่อเกิดโควิดมีการลาออกครั้งใหญ่ ความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นการทำงานแบบHybrid Workplace
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน Happy Workplace Forum 2022 : The Future of workplace well-being สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร พัฒนานวัตกรรมใหม่ สำหรับการบริหารองค์กรและการดูแลบุคลากรให้มีความสุขในสถานที่ทำงานไปสู่สังคมสุขภาวะ โดยมีผู้แทนจากต้นแบบองค์กรสุขภาวะทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เข้าร่วมงานทั้งออนไลน์และออฟไลน์กว่า500คน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ที่โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์
ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลภาวะการทำงานของประชากร ปี2564โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีประชากรวัยทำงานอายุ15-59ปี กว่า37.7ล้านคนใช้ชีวิตทำงานมากกว่า1ใน3ของชีวิตประจำวัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วัยแรงงานที่อาจต้องเป็นหลักของครอบครัวในการเตรียมตัว วางแผนรับมือกับสภาวะวิกฤต เกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่มั่นคงต่อการทำงาน ทำให้ไม่มีความสุข หลายองค์กรจึงจำเป็นต้องหาวิธีรักษาแรงงาน เพื่อเพิ่มความพร้อมให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้ สสส.มุ่งสนับสนุนและบูรณาการเพื่อสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดสุขภาวะองค์กร(Happy Workplace) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมสุขภาวะ8มิติ (Happy8) กลุ่มเป้าหมายหลักคือ “คนทำงาน ในองค์กร” ที่ถือเป็นบุคคลสำคัญและเป็นกำลังหลักในการสร้างเสริมองค์กร ครอบครัว ชุมชน และสังคมสุขภาวะ
“สสส.พัฒนาแนวคิดHappy Workplaceตั้งแต่ปี2558 ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทย ผลักดันสู่การเป็นนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของคนในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ส่งผลให้มีองค์กรที่ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรกว่า10,000แห่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ลงทุน1บาท ให้ผลตอบแทนทางสังคม7บาท สะท้อนแรงงานไทยมีความสุขมากขึ้น ทั้งนี้ในปี2565สสส.มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือ องค์ความรู้ แกนนำ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถสู่การผลักดันนโยบายสาธารณะในการดูแลคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน” ดร.ประกาศิตกล่าว
ม.ล.พัชรภากร เทวกุล
ม.ล.พัชรภากร เทวกุล ผู้อํานวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) อดีตเลขาธิการกพ.กล่าวว่าเป็นความภาคภูมิใจของราชการในภารกิจการเร่งสร้างคนรุ่นใหม่ในระบบราชการ เพื่อตอบโจทย์สภาวะการเปลี่ยนแปลง และมุ่งหวังให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย “ด้วยบริบทการเปลี่ยนแปลง ภาครัฐต้องปรับโครงสร้างการทำงานจะทำงานแบบเดิมๆไม่ได้ เครื่องมือแบบเดิมๆใช้ไม่ได้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกพ.SCB Academy PMAP TRUEสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อจะMove On ประเทศตอบคำถามไม่ต้องมองไกลให้มองความเป็นไปได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นใน3-5ปีข้างหน้า เตรียมความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดทำWhite Paperเผยแพร่เป็นความร่วมมือภาคส่วนต่างๆ ผมทำQuick Surveyกับคนรุ่นใหม่ เขาจะเติบโตเป็นผู้บริหารระดับสูงเป็นอนาคตข้าราชการไทย สิ่งที่เกิดขึ้นคือความขัดแย้งทางความคิด ช่องว่างของผู้คนในสังคม ช่องว่างความคิดระหว่างวัย ดังนั้นจะต้องพัฒนาเทคโนโลยี เปลี่ยนรูปแบบการทำงานทุกภาคส่วน”
ความเสื่อมถอยจากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและการจ้างงาน สังคม ค่านิยม วัฒนธรรม เทคโนโลยี รวมถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อรูปแบบวิถีชีวิตและการทำงาน ความสุขจากการทำงานและความสุขในการดำรงชีวิตประจำวันของวัยแรงงาน กลายเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ได้ และไม่สามารถวางขอบเขตเส้นแบ่งทางนโยบายขององค์การได้ ข้อกังวลจากความเสื่อมถอยความไม่เชื่อมั่นในภาครัฐ การบริหารจัดการของภาครัฐที่ไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ตามลำพัง ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง
พงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ
ด้วยแนวคิดHappy workplace ของสสส.ถือเป็นการออกแบบนโยบายสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตที่ผสมผสานกันเชิงบูรณาการแบบไร้รอยต่อ(Work–Life Integration) ตามความหมายของแต่ละกลุ่มคน (Customization) หรือรายบุคคล (Personalization) ด้วยความเข้าใจ ยืดหยุ่น ตามนิยามใหม่ The Future of workplace well-beingที่สอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงต่างๆ ตอบโจทย์ในการพัฒนาองค์กรให้อยู่รอด ควบคู่ไปกับการสร้างความสุขของพนักงานไปพร้อมกัน
“เมื่อย้อนเวลา5ปี เรานิยามความหมายของความสุขเป็นแบบเดิมที่เรานิยามหรือไม่ เป็นข้อคิดที่ท้าทาย ภายใต้สถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ เราพบว่าพื้นที่ปลอดภัยกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย การหยุดนิ่งกับที่เป็นการถอยหลัง เราไม่สามารถใช้รูปแบบเดิมๆได้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อีกต่อไป มีการเปลี่ยนแปลงNew Normal ทางการบริหาร ต้องก้าวข้ามการสร้างปัจจัยผลผลิต เพิ่มกำลังคน แต่เป็นการลงทุนทางเทคโนโลยี่ในการสร้างสมรรถนะ หยุดการรวมศูนย์อำนาจการบริหาร เราต้องสร้างคุณค่าประชาธิปไตยมอบอำนาจประชาธิปไตยไปสู่คนมากที่สุด”
ในยุคNew Normal การบริหารภาครัฐ เอกชน ตั้งโจทย์บริการประชาชนสมดุลกับคุณภาพชีวิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงจากเดิม จากเดิมเริ่มงาน8.30น.-16.30น.ในสถานทีราชการเปลี่ยนเป็นการยืดหยุ่นเวลาทำงานที่ไหนก็ได้ ยืดหยุ่นพื้นที่ทำงาน ใช้นโยบายทรัพยากรบุคคล ค่าตอบแทนการให้สิทธิประโยชนใช้ไม้บรรทัดเดียวแบบเดิมๆมาวัดผลงานไม่ได้แล้ว “ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือ ในขณะที่เพื่อนผมเดินทางท่องเที่ยวตลอด ไม่เคยอยู่ติดบ้าน เขาอยากได้ประสบการณ์ใหม่ๆในชีวิต เรียกว่าใช้สิทธิวันลาจนเต็ม ส่วนผมไม่เคยใช้วันลา30วัน ผมwork from homeที่บ้านในขณะที่เพื่อนผมไปเที่ยวตลอด กลไกการบริหารบุคคลภาครัฐนิยามความหมายของความสุขทีดีจะใช้ไม้บรรทัดเดียวกันมาวัดเป็นสิงที่ทำไม่ได้แล้ว”
ศรินทร์รา วงศ์ศุภลักษณ์ ผอ.กลุ่มทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร Group:Director :Human Resources&Organization Development บริษัททรู จำกัด(มหาชน)
คว้ารางวัลระดับโลกBest Companies to Work for in Asia 2021และยังกวาดรางวัลอื่นๆถึง9รางวัล ในฐานะผู้นำการจ้างงานพัฒนาศักยภาพได้มาตรฐานกล่าวว่าโลกสมัยนี้ความเร็วกับความยืดหยุ่น การทำAutomation ในกลุ่มGenY(อายุ21-38ปี) Genz(อายุ8-20ปี)ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
การเป็นleadershipให้Next Generation มีความสุข เด็กรุ่นใหม่มีจุดมุ่งหมายในการทำงานใหญ่ ฟ้าเปิดเมื่อไหร่ไปเที่ยว สมัยก่อนเราเที่ยวกันด้วยทัวร์แต่เด็กสมัยนี้เที่ยวคนเดียวไม่พึ่งทัวร์ หลายบริษัทเปลี่ยนแปลงเป็นPurpose Leadership ทุกวันนี้มีเรื่องความไม่แน่นอนเกิดขึ้นมากมาย องค์กรต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนจากการสร้างทีมเป็นการสร้างวัฒนธรรม เขากับเราไม่ได้เจอหน้ากันในที่ทำงาน เราในฐานะผู้บริหารก็ทำหน้าทีคอนดักเตอร์ใช้empower ไม่ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางแต่ใช้ความร่วมมือ เด็กเก่งเราต้องสนับสนุนทั้งProduct Platform ให้เขาครีเอทงานเกิดเป็นรูปร่างในองค์กร
ในการดูแลพนักงานประจำส่งเสริมให้เรียนรู้ไม่เฉพาะในประเทศ เพื่อเปลี่ยนแปลงMind Set Hybred Workplace เด็กสมัยนี้เรียนรู้ผ่านอากู๋(กูเกิ้ล) เราจัดสัมนาแบบHybrid ต่างคนต่างทำงานหนักอยู่กันคนละที่โดยไม่ได้พบหน้าค่าตากัน ทุกคนต่างมีpassionที่จะรักการทำงาน พนักงานส่วนหนึ่งขอลาออก บริษัทมีโอกาสเลือกคนทำงานคนที่พร้อมจะhappinessและอยู่กับองค์กรนานๆ คนที่มีความเป็นผู้นำเราก็ต้องเชื่อมั่นในความเป็นผู้นำของเขา การสร้างคุณค่าให้รางวัล การดูแลพนักงานรวมถึงคนในครอบครัวต้องมีความพร้อมในทุกสถานการณ์ ขณะเดียวกันก็ต้องรับฟังความต้องการของพนักงาน บางคนเป็นโรคซึมเศร้าเพราะอยู่คนเดียว มีนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา บางคนมีลูกเล็กไม่มีใครช่วยดูแลก็นำลูกมาฝากเลี้ยงและรับกลับหลังเลิกงานได้ หรือฝากลูกไว้ให้เจ้าหน้าที่ดูแลในห้องสมุด เราต้องเข้าใจคนทำงานแต่ละรุ่นมีความต้องการที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ภายในงานมีการบรรยายพิเศษนำโดย ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน สสส. และรองประธานบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช ผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนสงฆ์ไทยไกลโรคเพื่อการดูแลโภชนาการพระสงฆ์ในระดับประเทศ สสส. นายรักษ์ เจริญศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบริการธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นพ.ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) กระทรวงสาธารณสุข และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และการดูแลเรื่องความสุขของพนักงานอีกมากมาย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์www.happy8workplace.com และเฟซบุ๊กแฟนเพจ Happy8 Workplace
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2
เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน