สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แต่ละระลอกสร้างผลกระทบโดยตรงกับคนไทยอย่างรุนแรง ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีลดลง
โจทย์ปัญหานี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีพันธกิจหลักคือ ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ให้คนไทยมีสุขภาพดี ดูเหมือนว่าจะเข้าถึง เข้าใจ และตระหนักรู้เป็นที่สุด เพราะตั้งแต่เกิดวิกฤตสงครามโรคการแพร่ระบาดไวรัส สสส.ได้ริเริ่มโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเอาจริงเอาจัง โดยในปี 2563 มีเป็นโครงการย่อยเพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต สร้างเสริมสุขภาพในชุมชนและองค์กรต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 100 โครงการ ภายใต้หน่วยการจัดการทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง 5 หน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มเกษตรในเมือง, กลุ่มชายแดนใต้, กลุ่มแรงงานในระบบ, กลุ่มแรงงานนอกระบบ และกลุ่มสร้างอาชีพและรายได้ (มหาวิทยาลัยรังสิต)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มสร้างอาชีพและรายได้ (มหาวิทยาลัยรังสิต) มีการดำเนินการถึง 33 โครงการ เป็นโครงการนำร่องที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ส่งผลดีสามารถนำไปต่อยอดในแต่ละชุมชนได้ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะอาชีพที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้กว่า 1,000 คน ทั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของ 3 องค์กร ได้แก่ สสส., มหาวิทยาลัยรังสิต และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อยืนยันว่า ความร่วมด้วยช่วยกัน และลงมือทำด้วยตัวเอง นับเป็นยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ สร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างแท้จริงและยั่งยืนนั้น ทั้ง 3 องค์กรประสานพลังได้จัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการที่สามย่านมิตรทาวน์ เปิดมิติใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาพและฟื้นฟูพัฒนาคุณภาพชีวิต โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. เปิดเผยว่า การทำงานในเชิงรุกในปี 2565 นี้ สสส.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต และ อบจ.ปทุมธานี พัฒนา “แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะจังหวัดปทุมธานี” โดย สสส.ร่วมทุนร้อยละ 70, มหาวิทยาลัยรังสิตร่วมทุนร้อยละ 30 พร้อมจัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาหลักหก” เป็นหน่วยงานดูแลด้านงบประมาณและการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งการร่วมทุนครั้งนี้ สสส.มุ่งฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้ครอบคลุมทุกคนในพื้นที่ จ.ปทุมธานี ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต โดยมีแนวทางพึ่งพาตัวเอง สามารถปรับตัวดำรงชีวิตในสภาวะวิกฤต ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือกลุ่ม NGO ประสงค์ร่วมลงทุน ก็เสนอโครงการเข้ามาเพื่อขอการสนับสนุนได้ ถือเป็นการร่วมลงทุนรูปแบบใหม่ด้วย
"ที่สำคัญคือ สร้างการขยายความร่วมมือและผนึกกำลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเพิ่มทรัพยากรทั้งทุนด้านงบประมาณ ทุนทางสังคม ทุนบุคลากรและองค์ความรู้ ซึ่งจะช่วยกระจายและเข้าถึงการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในวงกว้างมากขึ้น"
ผู้จัดการ สสส.บอกด้วยว่า สสส.ร่วมกันทำงานเชิงรุกมากกว่า 20,000 องค์กรทั่วประเทศ ใช้ยุทธศาสตร์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะทุกวันนี้สุขภาพดีไม่ได้อยู่ที่หมอ ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาพ วันนี้โครงการกว่า 2,000 โครงการส่งเสริมสุขภาพปกติทำไม่ได้ เพราะมีความเสี่ยงอยู่รอบตัว โดยเฉพาะทุกขภาวะจากโควิด-19 มีการปรับให้เยียวยาในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มต้นจากเศรษฐกิจฐานราก ทดลองให้มีการลงทุนร่วมกันทางด้านสุขภาพ 6 จังหวัด มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ได้รับการคัดเลือกทำกิจกรรม 33 โครงการ ถือเป็นโครงการที่ดีในจังหวัดปทุมธานี มีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยรังสิต อบจ.ปทุมธานี ผู้เชี่ยวชาญจาก สสส. ที่มีโครงการหมื่นโครงการให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เพื่อการขับเคลื่อนโครงการศูนย์พัฒนาหลักหก ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ม.รังสิตได้ทำการดัดแปลงพื้นดินว่างเปล่า 100 ไร่ที่ถูกทิ้งรกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นพื้นที่ทำประโยชน์ด้วยการปลูกผัก ไม้ดอกไม้ประดับ มิฉะนั้นเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีจากการปล่อยที่ดินรกร้างไม่ก่อประโยชน์ จากนั้นได้นำนักศึกษาเข้าไปช่วยชาวบ้านปลูกผัก เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีคนที่มีฐานะดีอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเมืองเอกเป็นลูกค้าอุดหนุนผักปลอดสารพิษ เท่ากับเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อหนุนกัน ในขณะที่มหาวิทยาลัยก็มีที่ดินเพื่อให้นักศึกษาปฏิบัติการจริง เป็นงานจิตอาสาที่นักศึกษาไม่ได้เกรดแต่อย่างใด
“ผักตบชวาเป็นขยะ ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ ดัดแปลงเป็นพวงหรีด ดอกไม้จันทน์ นำมาผลิตเห็ดเป็นปุ๋ยชีวภาพ องค์ความรู้งานวิจัยขึ้นหิ้งนำมาใช้ร่วมมือกับ สสส.ช่วยเหลือชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ขณะนี้ สสส.เชิญ ม.รังสิตร่วมลงทุนเป็นเฟสระยะยาว เกิดเป็นโครงการยั่งยืน” ผศ.ดร.นเรฏฐ์กล่าว และเปิดเผยอีกว่า เมื่อไหร่ที่ทางราชการอนุญาตให้มีการปลูกกัญชา (ตามกฎหมายต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย.เป็นต้นไป จึงจะปลูกกัญชาได้ถูกต้องตาม กม.) ก็ได้เตรียมที่ดินแปลงว่างใช้ปลูกกัญชาไว้แล้ว ขณะนี้ปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร บางโครงการชาวบ้านมีส่วนร่วม 1,000 คน บางโครงการ 30 คน บางโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ขายสินค้าได้หมด แต่บางโครงการการทำเทียนหอมยังต้องมีการพัฒนา ที่ต้องมีการถอดบทเรียนเพื่อขายได้ ทุกวันนี้กลุ่มชุมชนที่ทำเศรษฐกิจมีกลุ่มไลน์เพื่อขายผลผลิต ทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มต้นจาก ม.รังสิตเข้าไปช่วยเหลือให้ชุมชนฉีดวัคซีนป้องกันโควิดจนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
ความร่วมมือกับ สสส. พัฒนาแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะจังหวัดปทุมธานี ได้แบ่งการบูรณาการกับทุกภาคส่วนออกเป็น 3 เฟส คือ เฟสที่ 1 พัฒนาพื้นที่ชุมชนหลักหก ร้อยละ 80 และชุมชนใกล้เคียง ร้อยละ 20, เฟสที่ 2 พัฒนาพื้นที่ชุมชนหลักหก ร้อยละ 50 และชุมชนใกล้เคียง ร้อยละ 50 และเฟสที่ 3 จังหวัดปทุมธานีทั้งหมดที่มีผู้อาศัยมากถึง 1,176,412 คน เพื่อเร่งยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่เกิดขึ้นอย่างตรงจุด
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ในฐานะเป็นองค์กรส่วนหนึ่งของการพลิกโฉมหลักหกโมเดลต้นแบบการพัฒนาจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า 40 ปีที่ผ่านมาหมู่บ้านเมืองเอกเป็นความภาคภูมิใจของชาวปทุม เมืองมหาวิทยาลัยรังสิต มีสนามกอล์ฟ 2 สนาม ปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่เสียหายมากต้องฟื้นฟูครั้งใหญ่ ช่วง 3 ปีหลังมีเรื่องโควิด พัฒนาต่อสู้จนพ้นโควิด ทั้งจังหวัดปทุมธานี ม.รังสิต สสส.ส่งเจ้าหน้าที่ประสานงานกับ อบจ.ปทุมธานี ถึงวันนี้ปทุมธานีเป็น 1 ใน 8 จังหวัดใช้ชีวิตปกติ จัดกิจกรรมท่องเที่ยวได้ ต่อไปจะพัฒนาคลองเปรมประชากร เป็นโครงการในพระราชดำริ ปลูกต้นพุทธรักษาเป็นต้นแบบ โครงการขุดลอกผักตบชวา แก้ไขปัญหาน้ำเสีย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนในการสร้างเสริมสุขภาวะ สามารถสอบถามและติดตามได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ “สร้างสรรค์โอกาส”.
ผลงานนักศึกษาคณะนวัตกรรมเกษตร
"องค์ความรู้จากห้องเรียนสู่ภาคปฏิบัติ"
Eco Pot กระถางต้นไม้มินิมอลจากใยมะพร้าว ลดขยะพลาสติกด้วยการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ 100% ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ การปลูกผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไมโครกรีนและเห็ดอินทรีย์ ชุดสะดวกปลูกไม้ดอก ชุดสะดวกปลูกผัก โครงการปลูกผักจิ๋วเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน “อยู่ตรงไหน สดใสตรงนั้น” เป็นโครงการส่งเสริมอาชีพ การเพาะเห็ดอินทรีย์เห็ดดีเพื่อสุขภาพ ต้นทุนต่ำ สู่ชุมชนริมคลองลัดรังสิต ด้วยการนำพื้นที่รกร้างว่างเปล่าสู่แปลงปลูกสาธิตเพื่อชุมชน ผลผลิตสดใหม่ ปลอดภัยจากสารตกค้างและดีต่อสุขภาพ เป็นผลงานที่นักศึกษาคณะนวัตกรรมเกษตรใช้องค์ความรู้จากการเรียนและลงมือปฏิบัติจริง กลายเป็นผลงานภายในชุมชน เพิ่มพูนรายได้เป็นอย่างดีในช่วงวิกฤตโควิด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เจียระไนเพชร 3 องค์กรต้นแบบ สร้างเสริมสุขภาวะในที่ทำงาน
"ในอดีตเรารบกับเชื้อโรค มีการโจมตีด้วยเทคโนโลยี แต่วันนี้เรากำลังสู้กับกิเลสของมนุษย์ โรค NCDs เกิดขึ้นจากเราสร้างสุขเทียมเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตัวเอง เติมรสหวาน มัน เค็ม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า
อึ้ง ! ความเหงา-โดดเดี่ยว ภัยเงียบที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน หรือดื่มเหล้าวันละ 6 แก้ว
เวลา 09.00 น. วันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับธนาคารจิตอาสา ภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “เดือนการฟังแห่งชาติ” หรือ “National Month of Listening” เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญของการดูแลความสัมพันธ์ด้วย
“รองนายกฯประเสริฐ” มอบนโยบาย สสส.สั่งด่วนยกระดับสร้างความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน 3 ด้าน “รถบัสปลอดภัย-สวมหมวกนิรภัย-ส่งเสริมวินัยจราจร”
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สสส.
“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center
คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67
รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ สานพลัง สสส. ประกาศความร่วมมือเข้มแข็ง ผสานองค์ความรู้-สร้างนวัตกรรมฐานข้อมูล เตรียมพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ บรรจุในการเรียนการสอน ม.วลัยลักษณ์
ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค
นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน