เปิดศูนย์วิชาการรู้เท่าทันสื่อผู้สูงวัย เพิ่มเกราะป้องกันยุคดิจิทัล

เมื่อมีการส่งเสริมผู้สูงอายุให้เข้าถึงการใช้สื่ออุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้นและทุกวันนี้ผู้สูงอายุเปิดรับสื่อออนไลน์มากที่สุด ขณะเดียวกันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการใช้สื่อและบริโภคข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน มีการส่งต่อภาพและข้อมูลโดยไม่ตรวจสอบหรือกลั่นกรองความถูกต้องสูงกว่ากลุ่มคนช่วงอายุอื่นๆ รวมถึงกรณีผู้สูงอายุถูกหลอกลวงในยุคดิจิทัลก็เพิ่มขึ้น  สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผนึกกำลังกันจัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (Intelligence Center for Elderly Media Literacy : ICEM) โดยรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ให้บริการแก่ผู้สูงวัย เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานขับเคลื่อนผู้สูงวัยรู้เท่าทันสื่อ  ในโอกาสเปิดศูนย์ ICEM นั้น มีการแนะนำนวัตกรรมใหม่ “เกมออนไลน์ หยุด คิด ถาม ทำ หรือ STAAS (สต๊าซ) “ ให้ผู้สูงอายุเล่นได้เพลินๆ บนมือถือทั้งในระบบปฎิบัติการ iOS และ Android

นางญาณี รัชต์บริรักษ์

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ประกอบกับสื่อมีอิทธิพลสำคัญต่อโลกยุคใหม่ การเตรียมพร้อมปัจจัยสุขภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะ ทักษะเท่าทันสื่อ เพื่อให้ผู้สูงอายุก้าวข้ามขีดจำกัดไปเป็นพลเมืองสูงวัยเท่าทันสื่อจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนาหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ เพื่อเตรียมพื้นฐานก่อนที่จะให้ผู้สูงวัยเริ่มไปใช้สื่อ ฝึกให้ผู้สูงวัยมีสติก่อนเชื่อ สามารถใช้สื่อได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย มีโรงเรียนผู้สูงอายุเข้าร่วมกว่า 20 โรงทั่วประเทศ

ผู้สูงวัยเล่นเกมออนไลน์ STAAS

เมื่อผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงและต้องป้องกันผลกระทบ นางญาณี กล่าวต่อว่า สสส. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล เร่งขยายผลการขับเคลื่อนงานรู้เท่าทันสื่อให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อใช้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมสูงวัย

“ โดยเฉพาะประเด็นสูงวัยเท่าทันสื่อ ได้จัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ  โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้ และพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือที่ง่าย สร้างผลกระทบทางสังคมได้จริง ควบคู่ไปกับการพัฒนาหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อและสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมผู้สูงวัยของไทย โดยใช้กลไกของศูนย์วิชาการเป็นระบบสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ “ นางญาณี ย้ำกระบวนการพัฒนาผู้วัยอย่างมีสุขภาวะ

รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ

ด้าน รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (ICEM) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย 2,000 คนทั่วประเทศ ปี 2564 พบผู้สูงอายุเปิดรับสื่อออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ และสื่อบุคคลตามลำดับ ที่สำคัญพบความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงถึงร้อยละ 16 โดยเฉพาะการซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริง เชิญชวนลงทุนธุรกิจ และทำบุญ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุต้องเสียเงิน เสียความรู้สึก และเสียรู้  ได้รับสินค้าไม่มีคุณภาพแต่ราคาสูง  สะท้อนได้ว่าผู้สูงอายุไม่มีทักษะการรู้เท่าทัน ทำให้ถูกหลอกและหลงเชื่อสิ่งที่สื่อนำเสนอ

“ เพื่อเสริมพลังให้กับผู้สูงอายุ ไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง นำมาสู่การพัฒนานวัตกรรมเกมออนไลน์ “สต๊าซ” เป็นเครื่องมือให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ และฝึกทักษะ “หยุด คิด ถาม ทำ” ที่เป็นหัวใจของ ‘หลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ’ ในรูปแบบเกมออนไลน์ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง “ รศ.ดร.นันทิยา กล่าว 

เกม STAAS ฝึกทักษะรู้เท่าทันสื่อ

สำหรับเกมออนไลน์” สต๊าซ”  นั้น จำลองเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ มี 4 เหตุการณ์ คือ  1. ได้รับข่าวน้ำมะนาวเกลือรักษามะเร็ง 2. ข้อความจากครูหนุ่ม 3. ลูกสาวเข้าโรงพยาบาล และ 4. ตำรวจตรวจเงิน ผู้ร่วมเล่นเกมจะได้พิจารณาจากเหตุการณ์แล้วเลือกว่า ควรจะ หยุด คิด ถามหาแหล่งข้อมูล และตัดสินใจทำอย่างไร รวมถึงเกมยังให้ความสำคัญกับการส่งต่อข้อมูลอีกด้วย เป็นเกมออนไลน์ที่เข้ากับยุคสมัย ช่วยฝึกทักษะ บริหารสมอง แถมสร้างเกราะป้องกันให้ผู้สูงอายุไทยไม่ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ที่มาหลายรูปแบบด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming

ระดมความคิด"ถก"กม.โลกร้อน ชี้ทุกประเทศต้องร่วมมือพิทักษ์โลก

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนฐานสิทธิมนุษยชน ณ ห้อง 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ