เกษตร เร่งสำรวจความเสียหายสวนผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุวาตภัยในเขตภาคตะวันออก

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับรายงานความเสียหายจากเหตุวาตภัย ด้านพืช ในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคตะวันออก เมื่อช่วงวันที่ 28 -29 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา เช่น จ.จันทบุรี มีสวนทุเรียนร่วง ต้นโค่นล้ม รวม 3 อำเภอ ได้แก่ พื้นที่หมู่ 6 หมู่ 9 ม.6 ต.ปัถวี และ ม.3 ต.มะขาม อ.มะขาม ม.15 และ ม.17 ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ และ ม. 14 ต. แก่งหางแมว และ ม.3 ต. สามพี่น้อง อ.แก่งหางแมว มีเกษตรกรผู้ประสบภัยรวมทั้งสิ้น 55 ราย พื้นที่ประสบภัยรวม 8 ไร่ 2 งาน (ต้นล้ม) ผลผลิตเสียหาย (ลูกร่วง) รวม 67,200 กิโลกรัม ส่วนที่จังหวัดตราด ในพื้นที่ ม.9 ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง สวนผลไม้ของเกษตรกรผู้ประสบภัยรวม 3 ราย ได้รับความเสียหาย มีทุเรียนโค่นล้ม พื้นที่ประสบภัยรวมประมาณ 2 ไร่ ผลผลิตเสียหายรวม ประมาณ 7 ตัน ทั้งนี้ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่เพื่อเร่งสำรวจความเสียหาย ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเข้าให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในเบื้องต้น พร้อมทั้งแนะนำเกษตรให้นำผลผลิตทุเรียนที่ได้รับความเสียหายไปทำเป็นปุ๋ยหมักที่สามารถลดต้นทุนการผลิตเพิ่มความอุดสมสมบูรณ์ของดินส่งผลให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ 

สำหรับแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนได้รับความเสียหาย เกษตรกรสามารถยื่นแบบแจ้งความจำนงขอรับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช กับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.หรือเทศบาล อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผู้แทนเกษตรกรที่ประสบภัย เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในพื้นที่ เพื่อลงตรวจสอบพื้นที่จริง ซึ่งหลังจากได้รับแจ้งเรื่อง คณะกรรมการอนุกรรมการตรวจสอบความเสียหายระดับหมู่บ้าน ประกอบไปด้วย กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.หรือเทศบาล อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผู้แทนเกษตรกรที่ประสบภัย เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลจะลงพื้นที่ตรวจสอบ หากพบว่ามีเกษตรกรที่ผ่านหลักเกณฑ์การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 ตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2564 กำหนดให้การช่วยเหลือไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ในอัตรา (ไม้ผลไม้ยืนต้น) ในอัตราไร่ละ 4,048 บาท

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนฉบับใหม่เรื่องอากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 1 – 3 เมษายน 2565) ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2565 ระบุว่าในช่วงวันที่ 1 – 2 เมษายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงมีฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอให้เกษตรกรและประชาชนบริเวณระมัดระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยเฉพาะสวนไม้ผลซึ่งเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายปี เกษตรกรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งภัยแล้ง ลมพายุ และน้ำท่วมไว้ล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้ผลไม้ภาคตะวันออกหลายชนิดใกล้จะออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ส่วนภาคเหนือมีทั้งลำไยและลิ้นจี่ที่ใกล้ออกสู่ตลาด

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันบรรเทาความเสียหายหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิตออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่ต้านลม สำหรับต้นไม้ผลที่อายุมากและมีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัดแรง ขณะเดียวกันควรใช้เชือกโยงกิ่งและต้น เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก รวมทั้งใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงไม่ให้โค่นลงได้ง่าย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรสามารถขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 2 อากาศแปรปรวน 19-21 ต.ค. เปิดพื้นที่ฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19 - 21 ตุลาคม 2567)

'ศปช.' สรุป 5 ข้อหลัก น้ำท่วมเชียงใหม่-เชียงราย ยันเป็นเหตุไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) แถลงผลการประชุมว่าที่ประชุมมีการประมวลวิเคราะห์สถานการณ์

เตือน 6 อำเภอ ริมแม่น้ำกก จ.เชียงราย เตรียมรับมือฝนตกหนัก 2-9 ต.ค.นี้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผย ว่าจากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6

พัทลุงผุดศูนย์ฉุกเฉินป้องกันวาตภัย อุทกภัยและดินถล่ม จับตาพื้นที่ 'เทือกเขาบรรทัด'

ทหารพัฒนาภาค 4 ร่วม จ.พัทลุง  รับมืออุทกภัยซ้ำซาก วาตภัย ดินถล่ม เริ่มปลายเดือนตุลาคม-มกราคม จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ติดเทือกเขาบรรทัด

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด

มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท