ดร.อุมา ราชรัฐนาม ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวในงานประชุมออนไลน์ หัวข้อ “ประเทศไทยไปทางไหน ต่อเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่ของ WHO” ว่า มลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาใหญ่ที่สะสมมาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี ถือเป็นภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก ในเดือนตุลาคม ปี 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดทำเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศฉบับใหม่ในรอบ 15 ปี ให้ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อปี 2548 โดยระบุระดับคุณภาพอากาศสำหรับฝุ่น PM 2.5 ให้มีค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากเดิมที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากเดิม 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กำหนดเป็นค่ามาตรฐานเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับกำหนดเป้าหมายทางนโยบาย รวมถึงเป็นเครื่องมือในการออกแบบมาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ และปกป้องสุขภาพของประชาชน
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางอากาศต้นเหตุสำคัญในการกระตุ้นให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งคิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิตจากทั้งหมดของประเทศ สอดคล้องกับในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 73 ปี 2561 ประกาศที่ให้มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยความเสี่ยง 1 ใน 5 ร่วมกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีกิจกรรมทางกาย สสส. ตระหนักถึงผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้น จึงมุ่งขับเคลื่อนการทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน.
ดร.สุปรีดา กล่าวว่า สสส. เน้นขยายผลจากระดับปัจเจกหรือระดับพื้นที่ นำไปสู่การผลักดันนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับสภาลมหายใจ 8 จังหวัดภาคเหนือ ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับภูมิภาค เช่น ลดการเผาภาคเกษตร จัดทำแนวกันไฟชุมชน พร้อมจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อพัฒนางานวิชาการที่ตอบโจทย์บริบทของสังคม เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เป็นแนวทางการทำงานแต่ละพื้นที่ มุ่งผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในสังคม ลดปัญหามลพิษอากาศที่ส่งผลกระทบสุขภาพคนในประเทศ
นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คนไทย 38 ล้านคน อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งในจำนวนนี้ 15 ล้านคน เป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบรุนแรง ทั้งเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคทางเดินหายใจ ในปี 2560-2563 พบคนไทยป่วยจากโรคที่เกิดจากการกระตุ้นของมลพิษอากาศ 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมะเร็งปอด เมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีมูลค่าสูงเกือบ 200,000 บาทต่อรายต่อเดือน ซึ่งหากคุณภาพอากาศดีขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มของค่าใช้จ่ายทางสุขภาพลดลงตามไปด้วย
รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า ผลประโยชน์ด้านสุขภาพที่ได้จากการควบคุมมลพิษทางอากาศในประเทศไทย เมื่อทำการเปรียบเทียบค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศตามเกณฑ์แนะนำของ WHO ระหว่างค่ามาตรฐานเดิมในปี 2548 กับค่ามาตรฐานใหม่ปี 2564 พบว่า หากประเทศไทยใช้เกณฑ์แนะนำเดิมที่ค่าเฉลี่ยรายปี 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 110,000 รายต่อปี คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ด้านสุขภาพ 3.75 ล้านล้านบาทต่อปี และหากใช้เกณฑ์แนะนำปี 2564 ที่ค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ถึง 170,000 รายต่อปี คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ด้านสุขภาพถึง 5.82 ล้านล้านบาทต่อปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้
เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี
เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่
กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ชลประทานเชียงใหม่ งัดไม้แข็งจะไม่ปล่อยน้ำ หากมีการเผาป่าในพื้นที่เกษตร
นายชัยณรงค์ นันตาสาย ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมหารือแนวทางการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางณัฐธัญ กาหลง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
'ดร.เอ้' เผยพ่อป่วยเข้าไอซียู เพราะสูดฝุ่นพิษ PM 2.5 เรื่องเศร้าคนกรุงตายผ่อนส่ง
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผมขอ "ขอบพระคุณ" ทุกท่านที่แสดงความห่วงใยคุณพ่อครับ
เปิดไทม์ไลน์ แก้ฝุ่นพิษ PM 2.5 จากฝั่งการเมือง ฉะยับหลายกระทรวงไม่ขยับ
นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตรองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์เฟซบุ๊กกรณีค่าฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯอยู่ในระดับอันตรายว่า