กองทุนสื่อฯ หนุนคนไทยสร้างกระแสฟีเวอร์ให้กลายเป็น Soft power ด้วย 3 ขั้นตอน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้า เดินหน้าผลักดันเป็นนโยบายระดับชาติ

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวถึงปรากฎการณ์ Soft power ผ่านสื่อเพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจไทย ว่า ปัจจุบัน มีการถูกนำมาใช้ เช่น "ลิซ่า" ซึ่งเป็นแม่เหล็กในวงการสื่อ การที่ลิซ่าสื่อสารออกมาและมีแฟนคลับก็ทำให้เกิดกระแสการทำตามบุคคลชื่นชอบ

ซึ่งเป็นวิธีการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างเรื่องราวจากสิ่งที่เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ในไทยมีต้นทุนนี้อยู่มากทำให้เกิดความได้เปรียบด้านการแข่งขันทางการค้า

โดยวิธีการสร้าง Soft Power ขั้นตอนแรกเริ่มจากการเล่าเรื่องราวสร้าง Content จากนั้นเป็นกระบวนการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ ทั้งรูปแบบละคร ภาพยนตร์ กิจกรรม เช่น กระแสแฟนบอล กระแสนิยมแฟชั่นบันเทิงเกาหลี ซึ่งมีสื่อเป็นหัวใจหลักที่ข้ามไปไม่ได้

และขั้นตอนที่ 3 ต้องมีผลลัพธ์ไปกระทบเชิงบวกต่อคนจำนวนมาก ซึ่ง Soft Power ก็มุ่งที่จะสร้างผลกระทบในเชิงนานาชาติอย่างไร้พรมแดน ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่ามหาศาลจากสิ่งที่มีคุณค่า ดังนั้นหากขาดขั้นตอนนี้ก็ยังไม่เรียกว่าเป็นเพราะ Soft Power

ทั้งนี้ในประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการขั้นที่ 2 โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ขอมีส่วนร่วมในกระบวนการทางหนึ่ง โดยเราได้พยายามมองหาการทำละครดีๆที่จะสามารถสร้างจากต้นทุนทางวัฒนธรรมได้ รวมถึงการสร้างคอนเท้นท์จากอาหาร อาชีพ เช่น ที่มาท่าทางของมวยไทยไปพร้อมกับการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยคนไทยมีความสามารถในการสร้างคอนเทนท์อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาอาจจะจัดการไม่เป็นระบบ

ซึ่งทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้รวมไปถึงภาครัฐบาลและภาคเอกชน

เพื่อรองรับภาคการแข่งขันที่ต่างจากแบบเดิม ผลที่ได้กลับมาเองก็สะท้อนตามนโยบายระดับชาติที่ต้องการสร้างมูลค่า สร้างเม็ดเงินเศรษฐกิจจากสิ่งที่เป็นมิติทางวัฒนธรรมความคิดสร้างสรรค์

ทั้งนี้กองทุนฯ ยังได้ขอร่วมสนับสนุนเป็นส่วนหนึ่งให้คนไทยหันมาทำสื่อรูปแบบ Soft Power เนื่องจากคนไทยเป็นคนที่มีความสามารถตั้งแต่การเล่าเรื่องราวในพื้นที่ในชุมชนของตัวเองจากต้นทุนที่มีอยู่ ให้กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยนำมาเล่าผ่านสื่อที่ทุกคนก็สามารถทำได้เองอยู่แล้วในโลกสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งอาจทำให้ชีวิตเปลี่ยนกลับมาเป็นรายได้ตอบแทน

"เชื่อว่าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Soft Power ได้ โดยเริ่มต้นจากเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุดและมีความชื่นชอบหรือรอบรู้ผ่านการสื่อสารที่มีหลายรูปแบบในโลกยุคดิจิตอลซึ่งสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลกหากมีเนื้อหาดีก็ได้เกิดแน่"

ทั้งนี้ ดร.ธนกร ยังมองว่า ปัจจัยที่จะช่วยให้ประเทศไทยลุกขึ้นมาทำSoft  power ได้อย่างจริงจัง คือการต้องมีองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ หากมีองค์ความรู้อยู่แล้วก็เป็นต้นทุน ที่จะทำให้เริ่มต้นได้เร็วกว่า ส่วนตัวผู้ผลิตเองก็ต้องมีศักยภาพในการผลิตซึ่งเชื่อว่าคนไทยมีสิ่งนี้ พร้อมกับอยากให้มีการผลักดันเป็นนโยบายระดับชาติที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สภาผู้แทนฯ รับทราบรายงานประจำปี 2566 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

(25 ก.ค.67 ) สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา รับทราบรายงานประจำปี 2566 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชี้แจงสรุปรายงานประจำปี 2566 โดย

รมว.ปุ๋ง ลุย Soft Power ผลักดันอุตสาหกรรมเกมไทยสู่สากล ชวนคอสเพลย์แสดงพลัง CAF2024

18 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกมให้เป็น Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย

ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชี้แจงกองทุนพัฒนาสื่อฯ มีกระบวนการและพิจารณาทุนโปร่งใส มีธรรมาภิบาล พร้อมร่วมมือตรวจสอบ

(3 กรกฎาคม 2567) ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชี้แจงกรณีตามที่มีข่าวผู้รับทุนยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. และ ป.ป.ท.

'พิธา' รับบทเอฟซี 'ลิซ่า' ยกเป็นผู้ทำคุณูปการให้ชาติ อัด 'ซอฟต์พาวเวอร์' ไม่ใช่การยัดเยียด

'พิธา' รับบทเอฟซีภูมิใจ 'ลิซ่า' ปล่อย MV บอก 'ทำเกิน' ไม่ใช่แค่ทำถึง ยกเป็นผู้ทำคุณูปการให้ชาติ ย้ำ 'ซอฟต์พาวเวอร์' ไม่ใช่การยัดเยียด-ประดิษฐ์ประดอย

บอร์ดกองทุนสื่อ “เห็นชอบ” ดร.ธนกร ศรีสุขใส ดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุน สมัยที่ 2

(28 มิถุนายน 2567 ) เวลา 15.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์