สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย ต้นแบบ"สุขสร้างได้" บนแนวคิด Happy Workplace สสส.

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ติดต่อกันมายาวนานกว่า 2 ปี ประกอบกับมาตรการ Social distancing  เพื่อควบคุมโรค ย่อมมีผลกระทบไปถึงการชะงักงันของเศรษฐกิจการค้า การทำงานผลิต และอุตสาหกรรม ธุรกิจทุกภาคส่วน รวมถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ และวิถีการใช้ชีวิตของทุกคนในสังคม

ธุรกิจจำนวนมากต้องหยุดกิจการ หรือทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนทำให้คนส่วนหนึ่งขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการเยียวยาผู้ขาดรายได้ในรูปแบบ "คนไทยไม่ทิ้งกัน" แต่ก็ยังเกิดความเครียดและปัญหาทางสุขภาพจิตตามมา

ความสุขที่เคยมี ค่อยๆ หดหายไปตามสถานการณ์ และตามสถานภาพของแต่ละครอบครัว แต่ละองค์กร ...อย่างไม่ต้องสงสัย

แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนท่ามกลางวิกฤตนั้น มีหลายองค์กร และหลายครอบครัว ที่สร้างโอกาสให้ชีวิตอยู่ได้ อยู่เป็น กับโควิด-19 ได้อย่างน่าสนใจและน่าศึกษา นำมาเป็น "ต้นแบบ" เพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือถอดบทเรียนนำไปบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพในเม็ดงาน และเสริมคุณภาพชีวิตได้ไปในคราวเดียวกัน

ในงานมอบโล่และใบประกาศเกียรติคุณให้แก่องค์กรต้นแบบและองค์กรที่เข้าร่วมโครงการ “สุขสร้างได้ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19”  ของโครงการพัฒนาสร้างเสริมเติมสุข สู่การเป็นองค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน ในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ถือเป็นข้อพิสูจน์ทราบที่ชัดเจน

งานดังกล่าว เป็นการจับมือระหว่าง สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย (Thai Furniture Association) กับ สสส. โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจเฟอร์นิเจอร์จำนวน 50 องค์กรร่วมด้วย ซึ่ง นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. บอกกล่าวเล่าสิบว่า  สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการในไทยตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจหยุดนิ่ง หลายบริษัทจำเป็นต้องมีวิธีรักษาสถานภาพการจ้างงานไม่ให้กระทบกับผู้ใช้แรงงาน เพิ่มความพร้อมให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องลดขนาดหรือปิดกิจการ

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส.

สสส.ร่วมกับสมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาสร้างเสริมเติมสุข สู่การเป็นองค์กรสุขภาวะอย่างยั่งยืน ในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ตั้งแต่ปี 2564 มุ่งสนับสนุนและบูรณาการเพื่อสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน ภายใต้แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace)มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ “คนทำงานในองค์กร” ที่ถือเป็นบุคคลสำคัญและเป็นกำลังหลักขององค์กร ครอบครัว ชุมชน และสังคม

“สสส.มุ่งหวังให้กลุ่มคนวัยทำงานมีความสุข เพื่อให้ความเครียด อุบัติเหตุ และโรคที่เกิดจากการทำงานลดลง เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไทยครบทั้ง 4 ด้านคือ สุขภาพกาย ใจ ทัศนคติในการทำงาน และบรรยากาศในการทำงานหรือสังคม ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้พัฒนาให้เครือข่ายองค์กรสุขภาวะในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 50 องค์กร ผ่านการคัดเลือกให้เป็นองค์กรสุขภาวะต้นแบบ 30 องค์กร โดยมีองค์กรที่สามารถทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการดำเนินงานแก่องค์กรอื่นๆ 10 องค์กร ขณะนี้ สสส.ได้เร่งรวบรวมองค์ความรู้จากกระบวนการพัฒนาสุขภาวะในองค์กร เพื่อผลิตเป็นชุดความรู้ที่นำไปใช้ต่อยอดขยายผลในองค์กรภาคสาธารณะและภาคเอกชนทั่วประเทศให้แล้วเสร็จในปี 2565” นายพงษ์ศักดิ์กล่าว

เครื่องมือที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยจัดให้มีการสื่อสารผ่านช่องทางในสังคมออนไลน์ facebook blog web board ซึ่งมีความเหมาะสมกับองค์กร สถานประกอบการในปัจจุบัน เป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรของกลุ่มองค์กรที่สนใจเข้าร่วมงาน นำไปสู่การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนที่มีความพร้อมที่จะเป็นนักปฏิบัติ ทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรที่จะสร้างสรรค์กิจการที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในอนาคต สร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงในสังคม มีการคัดเลือกความรู้ การจัดกิจกรรมดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ นายกสมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย บรรยายพิเศษ

นายจิรวัฒน์ ตั้งกิจงามวงศ์ นายกสมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย เจ้าของธุรกิจโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ฝังมุกในฐานะรองกรรมการ ผจก.บ.อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด ดำเนินธุรกิจเมื่ออายุเพียง 20 ปี ทั้งนี้ เพราะบิดาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน เขาตัดสินใจปรับธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เอาต์ดอร์มุ่งสู่งานดีไซน์ เป็นงานดีไซน์ระดับโลก ถึงวันนี้ผ่านงานมาแล้วกว่า 20 ปี ผลงานของเขาเป็น 1 ใน 15 SME ที่คว้ารางวัลเถ้าแก่ติดดาวจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องเถ้าแก่ในเครือ ASTV เป็นเครื่องการันตีอย่างดี ด้วยความคิดนอกระบบ ปรับโครงสร้างบริษัทให้เล็กลง นำเฟอร์นิเจอร์เอาต์ดอร์ไปจัดแสดงในต่างประเทศ ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เดนมาร์ก อิตาลี ได้ลูกค้าจากต่างประเทศต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก

ในตอนหนึ่งของการบรรยายพิเศษทิศทางธุรกิจหลังโควิด-19 นายจิรวัฒน์กล่าวว่า โครงการฯ เน้นการสนับสนุนการดำเนินงานในระดับนโยบาย ด้านการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตในสถานประกอบการ มีการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และวิธีป้องกันตัวเองจากโควิด-19 พร้อมผลิตหน้ากากผ้าแจกฟรีแก่พนักงาน ครอบครัว และชุมชนรอบข้าง รวมถึงเปิดพื้นที่สำหรับการเรียนรู้แนวปฏิบัติและเสริมทักษะชีวิตลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์

การจัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงานมีความสุข ต้องคำนึงถึงความต้องการของพนักงาน พร้อมส่งเสริมให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติให้ได้ นอกจากนี้ยังนำแนวคิด Happy Money จัดกิจกรรมช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือนให้แก่พนักงาน อาทิ ปลูกฝังการออม ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยเพื่อการบริโภค มีแปลงปลูกผักเพื่อรับประทานและจำหน่าย ความปลอดภัยของอาหารที่ปลอดสารพิษเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อบรมช่างฝีมืองานไม้โดยมีใบประกาศนียบัตรรับรอง ผลจากการดำเนินทำให้พนักงานมีความสุขทุกมิติ ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภาพในมิติด้านคุณภาพ ต้นทุน ความปลอดภัยในการทำงาน การสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม และจริยธรรมในการทำงาน

ตัวอย่างข้างต้นนับเป็นเครื่องยืนยันว่า เจ้าของธุรกิจหรือผู้นำองค์กรมีบทบาทสำคัญทำให้พนักงานมีความสุขกายและสบายใจในการทำงาน และแนวคิด  Happy Workplace ส่งผลดีต่อการสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน "สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย" เล็งเห็นความสำคัญนี้ ส่งผลให้พนักงานทำงานด้วยพลังความสุข สอดคล้องกับพันธกิจของ สสส. ที่เชื่อมั่นว่าคนทำงานจะมีความสุขต่อเมื่อมีการจัดสมดุลของความสุขในโลก 3 ใบที่ทับซ้อนกันอยู่ ความสุขของตนเอง   ความสุขของครอบครัว ความสุขขององค์กร/สังคมนั่นเอง.

 

สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทยในสถานการณ์โควิด

สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทยเกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องเรือนที่ใช้วัตถุดิบเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้ยางพารา ไม้อัด ไม้พาร์ติคัล ไม้เอ็ม.อี.เอฟ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตเพื่อส่งออกและจำหน่ายภายในประเทศ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยขยายตัวอย่างมาก ทั้งด้านการผลิตและการส่งออก จนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกติดอันดับ 1 ใน 10ของรายการสินค้าส่งออกของไทย เพราะผู้ผลิตจากต่างประเทศได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ มีไม้ประเภทต่างๆ และยังมีแรงงานที่มีฝีมือประณีต อีกทั้งภาครัฐให้การส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในด้านการลงทุน ทำให้สินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยได้รับการพัฒนาตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตไปจนกระทั่งการส่งออก ทำให้เฟอร์นิเจอร์ไทยมีคุณภาพและเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในต่างประเทศ

ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของประเทศมีทั้งผู้ผลิตรายย่อย มีโรงงานขนาดเล็ก มีผู้ผลิตที่มีโรงงานขนาดกลาง และผู้ผลิตที่มีโรงงานขนาดใหญ่ ตลาดส่งออกสำคัญคือประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงวิกฤตโควิดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ work from home ยังมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น ด้วยจุดแข็งเรื่องวัตถุดิบและแรงงานที่มีฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญและประณีตมากขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อแรงงานมีปัญหาติดโควิด ก็ต้องแยกกักตัวที่บ้านจนกว่าจะหายป่วย เป็นการลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่มขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming

ระดมความคิด"ถก"กม.โลกร้อน ชี้ทุกประเทศต้องร่วมมือพิทักษ์โลก

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนฐานสิทธิมนุษยชน ณ ห้อง 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ