สสส. ร่วมกับ 16 ภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา จัดงาน “ตลาดปัญญ์สุข”

ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพฯ) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ 16 ภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา อาทิ มูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ธนาคารจิตอาสา มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย มูลนิธิสหธรรมิกชน ศูนย์จิตตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กลุ่ม Peaceful Death กลุ่ม Free Spirit Thailand จัดงาน “ตลาดปัญญ์สุข” เปิดพื้นที่เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้สุขภาวะทางปัญญาให้ประชาชนเข้าใจและรู้เท่าทันตนเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง พร้อมเปิดตัวหนังสือ “ปัญญาความสุขในโลกอันผันผวน (Spiritual Health for Resilient Society)” เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เร่งสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual Health) ผ่านการทำงานกว่า 50 โครงการ สู่การพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา หรือจิตสำนึกใหม่ อาทิ การ์ดพบเพื่อนใจ เพื่อสำรวจความสุขที่อยู่ในตัวเอง กล่องสุ่มความสุข การวางแผนชีวิตก่อนตายอย่างมีความสุข ทำให้เกิดการรู้เท่าทันตัวเองและผู้อื่น เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง มีจิตใจที่มั่นคง นำตัวเองไปสู่ชีวิตที่สมดุลและมีความสุขที่ส่งผลให้เกิดสังคมที่เกื้อกูล มีผู้ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 3,000 คน

“การจัดงานตลาดปัญญ์สุขครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดพื้นที่สร้างประสบการณ์ตรง นำไปสู่การสร้างความร่วมมือที่จะทำให้เกิดการต่อยอดกระบวนการ พื้นที่ หรือนวัตกรรมเครื่องมือใหม่ๆ ในการช่วยเยียวยาฟื้นฟูสุขภาวะทางจิตใจ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองให้เกิดความเข้มแข็ง มีทัศนคติเชิงบวกและเห็นคุณค่าของชีวิต จนนำไปสู่การมีความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ แบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น และพร้อมเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทัน เพื่อให้คนในสังคมมีทักษะและจิตสำนึกที่ฉลาดใช้สื่อให้เป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ” นางญาณี กล่าว

นางจารุปภา วะสี บรรณาธิการหนังสือปัญญาความสุขในโลกอันผันผวน สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า งานด้านสุขภาวะทางปัญญาเริ่มต้นโดยมี อ. ประเวศ วะสี เป็นผู้ริเริ่ม และได้ชักชวนคนที่มองเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญมาทำงานร่วมกัน ทั้งจาก ภาคศาสนาคือ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ภาคการศึกษา ภาคคนทำงานด้านสังคม และมี สสส. มาเป็นเจ้าภาพให้ทุนสนับสนุน ช่วยกันทำงานขับเคลื่อนในเรื่องนี้อย่างจริงจัง  จากนั้นเป็นต้นมาก็ทำงานอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี  ภายใต้ความคิดที่ว่า เมื่อโลกมันวิกฤต จะไม่มีทางออกอื่นนอกจากเปลี่ยนจิตสำนึกใหม่ สำหรับหนังสือปัญญาความสุขในโลกอันผันผวน ถือเป็นการสังเคราะห์บทเรียนความสำเร็จจากกระบวนการทำงานหลากหลายรูปแบบในการร่วมขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะทางปัญญาของภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรที่เป็นไปในวิธีและรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ การนำพาผู้คนในสังคมให้เข้าถึงประสบการณ์ในการพัฒนาตนสู่การเกิดจิตสำนึกใหม่ ตระหนักว่าเราอยู่บนโลกที่เชื่อมโยงทุกชีวิตไว้ด้วยกัน ควบคู่กับเป้าหมายในการขับเคลื่อนสู่สังคมสุขภาวะผ่านการสนับสนุนพื้นที่แห่งการรับฟัง ส่งเสริมสังคมที่เกื้อกูลบนความแตกต่างหลากหลาย และสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาวะทางปัญญาของคนในสังคมไทย”

กิจกรรมในงานตลาดปัญญ์สุข ประกอบด้วยกิจกรรมที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการค้นพบความสุขและเยียวยาจิตใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน อาทิ กิจกรรมพบเพื่อนใจ เกมการ์ดรูปแบบพิเศษเพื่อสำรวจความสุขที่ซ่อนในตัวเอง, กิจกรรมกล่องสุ่มความสุข, Living Will for Leaving Well การวางแผนชีวิตก่อนตายอย่างมีความสุข, การถ่ายภาพ Portrait ข่าวดำ ที่จะทำให้ได้มองเห็นความสุขของตัวเองผ่านภาพถ่าย, บอร์ดเกม A20–Awake To Oneness ฯลฯ นอกจากนี้ในงานดังกล่าวยังได้รับเกียรติจากคนดังมาร่วมเปิดใจ “คนปัญญ์สุข” แบ่งปันประสบการณ์แรงบันดาลใจการค้นหาความสุขในโลกที่ผันผวน ได้แก่ “ได๋ – ไดอาน่า จงจินตนาการ” นักแสดง-พิธีกร ที่ได้เล่าถึงการแบ่งปันแง่มุมชีวิตแรงบันดาลใจท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่ได้อุทิศตนเป็นจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือผู้คนในช่วงโควิด19 ในตลอดมา และ เซเลบริตี้คนดัง “แพรี่พาย-อมตา จิตตะเสนีย์” บิวตี้บล็อกเกอร์ผู้หันมาค้นพบความสุขจากธรรมชาติ 

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ความสุขประเทศไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น