2 บริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ เป็นงง !!! ถูก กปน.ทำแท้ง โครงการประกวดราคาจ้างก่อสร้างขยายกำลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ขนาด 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทั้งที่ 2 บริษัทฯ มีใบรับรองและผลงาน จากหน่วยงานภาครัฐ และมีผลงานประจักษ์ชัดว่ามีความสามารถทำได้ตาม TOR ผลิตน้ำประปา 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน จาก เทศบาลนคร ครบถ้วน จับตาอุทธรณ์ เป็นผลหรือต้องสู้ยาวยัน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) และ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ยื่นหนังสือ ‘ขออุทธรณ์การจัดซื้อจัดจ้าง’ โครงการประกวดราคาจ้างก่อสร้างขยายกำลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ขนาด 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมงานที่เกี่ยวข้องสัญญา GE-MS5/6-9 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) หลังจากถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมประมูล โดยคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาฯ อ้างว่า ทั้ง 2 บริษัท ไม่มีคุณสมบัติตามประกาศประกวดราคาข้อ 11 และเอกสารประกวดราคาจ้าง ข้อ 2.11 ที่ระบุว่า ต้องมีผลงานก่อสร้างไม่น้อยกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน วงเงินไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
การประกวดราคาดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.2564 มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 5 ราย จากเอกชนที่ซื้อซอง 9 ราย ผลปรากฏว่า บริษัทฯที่เสนอราคาต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด เสนอราคา 6,150 ล้านบาท อันดับ 2 บมจ.ซิโน-ไทยฯ เสนอราคา 6,195.3 ล้านบาท และอันดับ 3 ITA Consortium (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) และบริษัท อาควาไทย จำกัด) เสนอราคา 6,460 ล้านบาท
“บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ถูกตัดสิทธิไม่ได้รับการพิจารณา เนื่องจาก กปน. แจ้งว่า วงษ์สยามก่อสร้าง มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เพราะ “มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ตามที่กำหนดในประกาศประกวดราคาข้อ 11 และเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2.11 นอกจากนี้ บมจ.ซิโน-ไทยฯ ซึ่งถูกตัดสิทธิจากการเข้าร่วมประมูลด้วย นั้น กปน. แจ้งว่า บมจ.ซิโน-ไทยฯ มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เนื่องจาก ผลงานก่อสร้างที่ใช้ยื่นเป็นคุณสมบัติ ถูกตีความว่ามีขนาดน้อยกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน”
โดยที่ บมจ.ซิโน-ไทยฯ ทำหนังสือขออุทธรณ์ ลงวันที่ 7 มี.ค.2565 มีสาระสำคัญในการโต้แย้ง คือ หนังสือรับรองผลงานจากเทศบาลนครนครราชสีมา ที่ คณะกรรมการฯ ยกมาประกอบการกล่าวหา นั้น บริษัทฯ ได้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าเทศบาลนครนครราชสีมา มีหนังสือแจ้งข้อมูลเรื่องนี้ไว้ 2 ฉบับ ซึ่งทั้งสองฉบับมีเนื้อความไปในทางสนับสนุน ว่า ผลงานก่อสร้างโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เทศบาลนครนครราชสีมา ตามสัญญาจ้างเลขที่ 3/2550 ที่ถูกนำมาใช้ยื่นเป็นประสบการณ์มีความสอดคล้องกับประกาศประกวดราคาข้อ 11 และเอกสารประกวดราคาจ้าง ข้อ 2.11 แล้ว กล่าวคือ หนังสือชี้แจงข้อมูลจากเทศบาลนครนครราชสีมา ที่ นม 52005/418 ลงวันที่ 19 ม.ค.2565 ชี้แจงว่าเป็นปริมาณซึ่ง “มีกำลังการผลิตน้ำที่รวมปริมาณน้ำสูญเสียไว้ด้วยตามข้อกำหนดไว้ในสัญญา” อันหมายความว่า หลังจากผ่านการคิดคำนวณเรื่องน้ำสูญเสียเสร็จแล้ว ปริมาณการผลิตจริงที่ทำได้ ก็ยังเป็น 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันตามหนังสือรันรองผลงานก่อสร้างที่ออกให้ ดังนั้นหากการประปานครหลวง ยังคงดึงดันจะรับฟังว่า ผลงานผลิตน้ำประปาไม่ถึง 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ก็จะขัดแย้งกับบรรดาเอกสารทั้งปวงที่บริษัทฯ ได้นำเสนอ และอาจจะเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย บริษัทฯ จำต้องขออุทธรณ์ผลการพิจารณาดังกล่าว ขอให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว และแจ้งผลการพิจารณากลับมายังบริษัทฯ ด้วย
ในส่วนของ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ฉบับลงวันที่ 7 มี.ค.2565 ได้ทำหนังสืออุทธรณ์โดยยืนยันว่า บริษัทฯ มีคุณสมบัติตามที่ประกาศประกวดราคาจ้างฯ ของ กปน. “จากผลงานการก่อสร้างระบบประปามาตรฐานของ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ที่มีขนาดตั้งแต่ 500-5,000 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง และผลงานจ้างเหมาก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสุราษฎร์ธานี ตามสัญญาเลขที่ กจห. 24/2556 ลงวันที่ 11 เม.ย.2556 ซึ่งเป็นผลงานประเภทเดียวกันกับผลงานที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาข้อที่ 11 ตามข้อเท็จจริงที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ยืนยันว่า บริษัทฯมีผลงานครบถ้วน เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคา ในการประกวดราคาครั้งนี้ มีมูลเหตุอันควรสงสัยที่ กปน. ควรจะต้องเรียกเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด การที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังในข้อดังกล่าว เป็นเหตุให้ กปน.เสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ผู้เสอนราคาต่ำสุด และมีคุณสมบัติครบถ้วน”
ทั้งนี้ตามระเบียบ เมื่อมีการยื่นเรื่องอุทธรณ์ ทาง กปน. จะรับพิจารณาคำขออุทธรณ์ผลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ วงษ์สยามก่อสร้าง เอาไว้หรือไม่ หาก กปน. ยังยืนยันตามเดิมว่า ทั้ง 2 บริษัท ขาดคุณสมบัติ ก็จะมีการส่งเรื่องไปให้ ‘คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์’ กรมบัญชีกลาง เป็นผู้ชี้ขาด ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
MEA จับมือ กปน. บูรณาการความร่วมมือด้านเทคโนโลยี ยกระดับงานบริการไฟฟ้า-ประปา
วันนี้ (20 กันยายน 2566) นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง พร้อมด้วย นายมานิต ปานเอม ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)
ลุ้น 24 ส.ค.ศาลคดีทุจริตฯ นัดฟังคำสั่ง 'วงษ์สยาม' ฟ้องประธาน กปน.กับพวกปมฮั้วประมูล!
'วงษ์สยาม' ยื่นฟ้องประธาน กปน.กับพวกรวม 30 คนปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-ฮั้วประมูล โครงการก่อสร้างผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ชี้เสนอราคาต่ำสุดเเต่โดนกลั่นเเกล้งตัดคุณสมบัติ ศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดฟังคำสั่ง 24 ส.ค.นี้
กปน. ชูกิจกรรม “ยอดน้ำแอนด์เฟรนด์” ผนึกกำลังสถาบันการศึกษา หนุนเสริมเยาวชนสร้างสรรค์ไอเดียการใช้น้ำอย่างยั่งยืน
การประปานครหลวง (กปน.) เปิดกิจกรรม “ยอดน้ำแอนด์เฟรนด์” ผนึกกำลัง 5 สถาบันการศึกษา จุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ผลงานการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 60,000 บาท
มท. ผวาโดนด่า! กปน. เสนอขึ้นค่าน้ำประปา เหตุขาดทุน-ไร้งบอุดหนุน หวั่นรัฐบาลใหม่ไม่อนุมัติ
ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้หยิบยกเรื่องที่การประปานครหลวง (กปน.) เสนอขึ้นค่าน้ำเข้ามายังกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากที่ผ่านมาผลการดำเนินการขาดทุนมาโดยตลอด
อีกรอบ! เลขาธิการ กกต.ยกบทเรียน 14 พ.ค.เชื่ออนาคตจะไม่ซ้ำรอย
'แสวง' ส่งข้อความไลน์ สนง.กกต. ยกบทเรียนปัญหาจัดเลือกตั้ง ให้คำมั่นจะไม่เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก รับ กปน.ยังเป็นปัญหา แต่เชื่อจะดีขึ้น
การประปานครหลวงร่วมออกร้านงานกาชาดประจำปี 2565 ลุ้นรับของรางวัลมากมาย
นายมานิต ปานเอม ผู้ว่าการการประปานครหลวง เปิดเผยว่า การประปานครหลวงได้ร่วมออกร้านใน งานกาชาดประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 8-18 ธันวาคม 2565 ณ สวนลุมพินี จึงขอเชิญทุกท่านร่วมชมร้าน กาชาดของ กปน.