สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ลุยสร้างภูมิคุ้มกันแก้ปัญหาข่าวปลอมในสื่อ

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์เปิดตัวโครงการ Stop Fake, Spread Facts จัดเสวนาหาทางออกหยุดการนำเสนอข่าวปลอม ชี้เฟคนิวส์แก้ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีภูมิคุ้มกัน

เมื่อวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 ในงานเสวนา Stop Fake, Spread Facts หยุดข่าวปลอมด้วยข้อเท็จจริง ที่ Convention Hall ชั้น 2 อาคาร D ไทยพีบีเอสสำนักงานใหญ่ เพื่อหาทางออกในการหยุดการนำเสนอข่าวปลอม เพิ่มพื้นที่การสร้างสรรค์การสื่อสารข้อเท็จจริงออกไปให้มากที่สุด ด้วยวิธีการสื่อสารใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์ เราจะช่วยกันเผยแพร่ข่าวจริงได้อย่างไร

ในงานมี นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ที่ปรึกษา Co Fact ประเทศไทย , นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ , นายภูวสิษฏ์ สุขใส บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส, Songkhla Focus , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์นักวิชาการ และ นาย ธนภณ เรามานะชัย Trainer, Google News Initiative ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์

ทั้งนี้ นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ระบุว่า มีความยินดีกับการมีส่วนแก้ไขปัญหาเฟคนิวส์ ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขและหาทองออก รวมถึงเพื่อเป็นบรรทัดฐานของประเทศ

สำหรับปัญหาข่าวปลอมหลายหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศพยายามแก้ไข สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์มีสมาชิกกว่า 40 ราย มียอดวิวเฉลี่ย 40% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศ ถือว่ามีศักยภาพในการช่วยจัดการปัญหานี้ได้ ที่ผ่านมาสื่อในสมาคมฯเองก็พยายามแก้ไขข้อเท็จจริงในข่าวสารต่างๆ แต่ข่าวปลอมส่วนใหญ่แพร่กระจายไปในวงกว้างด้วยความรวดเร็ว เราไม่สามารถแก้ต้นตอได้ แต่แก้การแพร่กระจายได้

อย่างไรก็ดี การรู้เท่าทันหรือมีความเข้าใจในเฟคนิวส์ ต้องยอมรับว่าในประเทศไทย มีคนส่วนน้อยที่เข้าใจตรงนี้ ไม่ได้เข้าใจกันทั้งประเทศ สุดท้ายสิ่งที่สื่อนำเสนอข้อมูลเรื่องเฟคนิวส์ออกไปอาจจะสื่อถึงแค่คนในกรุงเทพหรือหัวเมือง ซึ่งการเข้าถึงกลุ่มคนเชิงประชากรศาสตร์ทำได้ยาก ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ไปในทิศทางเดียวกัน

สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน แล้วเชื่อมโยงกัน ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของทั้งประเทศ โดยไทยยังไม่มีเครื่องมือในการจัดการกับเฟคนิวส์เป็นของตัวเอง หน่วยงานรัฐจึงต้องเข้ามาช่วยสนับสนุน

พร้อมกันนี้สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ยังได้เปิดตัวโครงการ Stop Fake, Spread Facts ซึ่งเป็นโครงการที่ทางสมาคมฯได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ( กทปส.) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัญญ์ทิตา  ชนะชัยภูวพัฒน์ หัวหน้าโครงการฯกล่าวว่า  โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักรู้ในปัญหาข่าวปลอม เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับภาคสื่อ และภาคประชาชนทั่วประเทศ โดยใช้กลยุทธ์ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแพร่กระจายข่าวสาร ข้อเท็จจริงเชิงสร้างสรรค์ ลดข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ โดยเริ่มจากการวิจัยวิเคราะห์สภาพปัญหาทั้งในและต่างประเทศ จัดระดมความคิดเห็น  ผลิตคู่มือสำหรับสื่อและประชาชน และนำแนวคิดที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารควบคู่กับกิจกรรมการรณรงค์ที่ใช้ชื่องานว่า “Fact-Story Festival” ที่จะจัดให้กับสื่อและประชาชนผู้รับสารทั่วประเทศอีกด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนข่าวปลอม! ธนาคารกรุงไทย เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นรอบใหม่

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

ดีอี ระวังข่าวปลอม 'PEA' ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกัน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “PEA ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกันที่ www.การไฟฟ้าสำนักงานใหญ่.com” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

เตือนระวังข่าวปลอม ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “เปิดลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเพจ หน่วยงานคุ้มครองสิทธิ์อาชญากรรมทางออนไลน์” หวั่นปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

ดีอี เตือนอย่าเชื่อข่าว รัฐยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” หวั่นสร้างความเข้าใจผิดให้สังคม

ดีอี เตือน ข่าวปลอม โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น อย่าเขื่อเสี่ยงสูญเงิน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น กำกับดูแลโดย ก.ล.ต.” อย่าเชื่อ-แชร์ เสี่ยงสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

'ดีอี' เตือน ข่าวปลอม 'ปปง.' เปิดเพจแจ้งความรับเงินคืนจากคดีออนไลน์

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “ปปง. เปิดเพจแจ้งความ รับเงินคืนจากคดีออนไลน์” พบ “โจรออนไลน์” ใช้เป็นช่องทางหลอกลวงข้อมูล-หลอกโอนเงิน