เพราะ "สงครามโรค" อันเนื่องมาจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ทุกครอบครัวในสังคมไทยทุกวันนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต เพื่ออยู่ให้ได้อยู่ให้เป็นกับ..โควิด
แต่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เราเริ่มคุ้นชินแล้วกับวิถีชีวิต new normal ไม่ว่าจะเป็นการ work from home ของผู้ใหญ่ และการเรียนออนไลน์ของเด็กๆ กลับมีตัวเลขสถิติที่น่าสนใจบ่งชี้ว่า ในความพยายามที่จะฝ่าวิกฤตสงครามโรคนั้น พื้นที่แห่งความสุขภายในครอบครัวของคนส่วนใหญ่กลับถดถอย
"โควิด-19 ระบาดส่งผลให้ความสุขลดน้อยถอยลงไปเยอะ มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานให้ Work from Home หลายคนตกงาน วัยรุ่นเข้ามาปรึกษาหมอที่คลินิก 90% มีปัญหาทางด้านจิตใจเป็นโรคซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล เด็กติดเกมในช่วงโควิด เกิดความสูญเสียของคนในครอบครัว พลัดพรากกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายครอบครัว” ข้อมูลจาก ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในโอกาสที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม Happy Workplace Talk ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “Happy Family (ให้) Happy Balance” ระดมความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง สร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งในครอบครัวและสถานที่ทำงาน ก้าวผ่านวิกฤตโควิดไปด้วยกันอย่างมีความสุขและสมานฉันท์
ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. (สำนัก 4)
"การสร้างโมเดล Happy Life Happy Family เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งต้องใช้หลักจิตวิทยาเชิงบวก การสร้างอารมณ์เชิงบวก เพื่อสร้างครอบครัวให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย มีความสงบ สนุกสนาน พ่อแม่ควรแสดงออกให้ลูกรู้ว่าเขามีคุณค่า ทำให้เรามีความสุขในชีวิต บ้านเป็นพื้นที่สำคัญที่จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าเรามีคุณค่า ได้รับการยอมรับ เป็นขุมพลังแห่งความสุข เกิดการ Relax ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพกับใครสักคนอย่างมีความสุข ดีต่อตัวเอง ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีและมีพลัง" กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยรุ่นกล่าว และแนะนำได้อย่างน่าคิดว่า
"เด็กไม่สามารถโฟกัสออนไลน์ได้ตลอด 8 ชั่วโมง เพราะการเรียนออนไลน์ไม่สนุก พ่อแม่ก็ต้องรับฟังปัญหาและต้องทำใจ อย่าไปคาดหวังลูกสูงเกิน หมอถือว่าลูกทำการบ้านส่งครูได้ครบก็เพียงพอแล้ว จะให้เขาตั้งใจเรียนตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได้ เขาได้เกรดใช้ได้ก็ควรจะพอใจ พ่อแม่ควรเข้าใจลูกเมื่อเรียนออนไลน์อยูในที่แคบๆ ภายในคอนโดฯ เป็นชีวิตที่ไม่ปกติ เด็กเครียด ให้มองเรื่องใหญ่ๆ มองข้ามจุดเล็กๆฝากพ่อแม่มีสติ อย่าโกรธหรือโมโห ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ให้มองกลับว่าเป็นเรื่องท้าทายที่เรารอดจากสงครามใหญ่ ทุกคนในบ้านปลอดภัยจากโควิด ต้องขอบคุณว่าเราได้รางวัล เป็นหนทางรอดของชีวิต"
หัวข้อเสวนา Happy Workplace Happy Family (ให้)
นายชูชัย นิจไตรรัตน์ รอง ผอ.มูลนิธิแพธทูเฮลท์ ผู้ร่วมเสวนาอีกคนก็ตอกย้ำเช่นเดียวกันว่า Happy Family Work Place มีส่วนสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน บ้านมีความสุขย่อมส่งผลต่อที่ทำงาน ถ้าบ้านไม่มีความสุข ทำงานก็เป็นทุกข์ ทำอย่างไรที่จะทำให้เจ้าของกิจการหรือสถานประกอบการเข้าใจปัญหาเหล่านี้ด้วย ปัญหาโควิดที่เกิดขึ้นกับชนชั้นกลางทำให้ไม่มีความสุข ค่าแรงงานวันละ 300-400 บาท โควิดส่งผลกระทบทำให้คนตกงาน ไม่มีเงินโอที เกิดความเครียดภายในบ้าน ใจจดจ่อกับค่าใช้จ่ายในบ้านที่กลายเป็นภาระ อยู่ในบรรยากาศอยู่ร้อนนอนทุกข์
"ชีวิตต้องดำเนินต่อ พ่อแม่ควรทบทวนตัวเอง อย่าใช้มาตรฐานของตัวเองมาจู้จี้กับลูก อย่าใช้วิธีการบังคับลูกด้วยคำพูดว่า “นี่เธอเข้าใจพ่อแม่บ้างสิ” การสื่อสารกับลูกควรใช้ทักษะที่ไม่ซับซ้อน ใช้คำพูดว่ารักและเป็นห่วง Happy Family ก็จะเกิดขึ้นได้ด้วยความเข้าใจกัน ทำบ้านให้เป็นบ้านแห่งความรักที่เป็นจริง" ผู้บริหารมูลนิธิแพธทูเฮลท์ชี้ช่องทาง และเสนอว่า "หลายบ้านไม่มีความสุข ส่งผลถึงชุมชนด้วย ดังนั้นหลายหน่วยงานต้องช่วยกัน"
“Happy Family (ให้) Happy Balance” อันเป็นหัวข้อหลักในกิจกรรม Happy Workplace Talk ครั้งที่ 3 นี้ นับว่าสะท้อนอย่างชัดเจนเป็นที่สุดว่า หน่วยสังคมที่เล็กที่สุด และเป็นรากฐานของมนุษย์ที่เรียกว่า "ครอบครัว" นี้ เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างสุข ทั้งนี้ คำยืนยันของ นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (สำนัก 8) สสส. สามารถเปรียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า
พงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (สำนัก 8) สสส.
"เรามองครอบครัวเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด อะไรที่กระทบกับสังคมด้วย สังคมเปรียบเสมือนร่างกาย ครอบครัว เหมือนการมีเซลล์ที่ดี การที่มีเซลล์ไม่ดีย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย เมื่อมีการคุยกันเรื่องครอบครัว ความนิยมแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความรัก ความเข้าใจทุกคน"
ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรเล็งเห็นปัญหาพร้อมแปรวิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาสด้วยแนวคิดว่า ภาพครอบครัวท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เป็นโอกาสสร้างแนวทางการทำงานใน Happy Work Place
"การออกแบบจิต ปัญญา ครอบครัว สังคม ความสุขไม่ใช่เฉพาะตัวเราเท่านั้น แต่อยู่กับคนที่อยู่รอบข้างของสังคม อยากให้เกิดพฤติกรรมส่งผลต่อครอบครัวด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในครอบครัว การสื่อสารเพื่อการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน จึงเป็นเรื่องท้าทายมาก ในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เราไม่รู้ว่าเส้นแบ่งเวลาในครอบครัว งานที่จะวัดความสุขในองค์กร ทำในระดับประเทศ 2 ปีในสถานการณ์ของโควิดระบาด ครอบครัวจะต้องดูแลคนในครอบครัวให้มากยิ่งขึ้นด้วย การที่คนมาอยู่ด้วยกันทำให้การใช้ space ส่วนตัวของแต่ละคนลดลง การแบ่งเวลาทำงาน ส่วนหนึ่งก็ต้องอยู่กับลูกมากขึ้น มิฉะนั้นจะเกิดความไม่เข้าใจกันในมิติใหม่ เป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะการที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียน ต้องเรียนออนไลน์ ไม่ได้พบปะเพื่อนฝูง กิจกรรมทางกายลดลง ดังนั้นการออกแบบเป็นเรื่องสำคัญ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะเป็นการ Work From Home เพราะครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญในการสร้างพลัง"
สื่อสารเชิงบวกสร้างสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
ความร่วมมือร่วมใจของภาคีเครือข่ายภายใต้การสนับสนุนของ สสส. เพื่อขับเคลื่อนหัวใจแห่งสุขภาวะเริ่มต้นที่ครอบครัวนี้ มีรายงานข่าวเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องว่า ทุกฝ่ายยังคงเดินหน้ามุ่งมั่นท่ามกลางวิถีชีวิต new normal ซึ่ง นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. (สำนัก 4) กล่าวว่า การทำงานของสำนัก 4 และสำนัก 8 เป็นการจับมือกันทำงานอย่างเอาจริงเอาจังเป็นเวลาหลายปี การผลักดัน Happy Family Happy Workplace ใช้กลยุทธ์เครือข่ายช่วยเหลือองค์กร หน่วยงานต่างๆ มีนโยบายเพื่อให้คนทำงานมีชีวิตครอบครัวคุณภาพ ที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัว
"ทุกวันนี้สังคมไทยเด็กเกิดใหม่น้อยลง ในขณะที่ผู้สูงวัยเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในฐานะขององค์กรก็ต้องปรับตัว องค์กรที่มีความเป็น Family-Friendly Work Place ก็มีตัวอย่างอยู่ไม่น้อยกว่า 20องค์กร หากใครสนใจก็สามารถกด Link เข้าไปดูข้อมูลได้ เพื่อร่วมกันสร้างสุขทั้งในที่ทำงานแล้วกระจายต่อไปถึงบ้าน เมื่อพนักงานมีความสุขกับการทำงาน ผลงานก็จะดีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นความร่วมมือกันหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิด Happy Society เชื่อมกันเป็นชีวิตที่เราอยากอยู่ อยากเป็น อยากมีด้วยการทำให้เป็นจริง"
ดูและฟังการระดมสมองทางออนไลน์ในครั้งนี้ ต้องสรุปว่า อยู่ที่ตรงไหนก็สร้างสุขได้ ไม่ว่าจะทำงานที่บ้าน ที่ออฟฟิศ พร้อมๆ กับการใช้พื้นที่ส่วนกลางในครอบครัวให้เป็นห้องเรียนออนไลน์ของลูก เพียงแค่คนอาบน้ำร้อนมาก่อนอย่างผู้ใหญ่ต้องมีสติ และไม่ใช้มาตรฐานตนเองเป็นเครื่องตัดสินผิดถูกลูกเล็กเด็กแดงนั่นเอง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต