“เอนก” ปลื้มโครงการ U2T ทำให้ชาวบ้านพอใจ นักศึกษาได้ความรู้ ลั่นปี 65 มี “ปล่อยของ” รับประชุม APEC

 เมื่อวันที่ 23 ต.ค.ศ(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อม ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ​ทรงศิวิไล ปลัด อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิพย์ ผช.รมต.อว.และคณะผู้บริหาร อว.ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง(มฟล.) จ.เชียงราย มี รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มฟล.และผู้บริหารให้การต้อนรับ

รศ.ดร.ชยาพร รายงานความคืบหน้าโครงการฯ ว่า มฟล.จ้างงานรวม 341 คนลงพื้นที่ทำงานและเก็บข้อมูลร่วมกับชุมชนใน 15 ตำบลของ 6 อำเภอ คือ เมืองเชียงราย ขุนตาล เชียงของ แม่จัน แม่สาย แม่ฟ้าหลวงและเวียงป่า เป้า ทั้งนี้ จากการทำงานร่วมกับชุมชนพบว่าร้อยละ 60 ชุมชนต้องการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่  ต้องการให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้มีการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยววิถีใหม่ ตามลำดับ ขณะที่ ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานของ U2T ได้ก่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชน มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชน เกิดช่องทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ เกิดเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น

ด้าน ศ(พิเศษ)ดร.เอนก กล่าวว่า  ตนประทับใจผลงาน U2T ของ มฟล.โดยเฉพาะในเรื่องการแปรรูปอาหารที่เป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้ชาวบ้านพอใจ นักศึกษาได้ความรู้ อาจารย์ก็ได้ให้วิชาทั้งชุมชน มหาวิท ยาลัย รวมถึงผู้ได้รับการจ้างงานจึงอยากให้โครงการ U2T ได้ทำต่อ โดยหลังจากนี้ จะมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ในโครงการ U2T เพื่อเอาผลผลิตที่ได้ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศให้ได้

“สำหรับโครงการ U2T ระยะที่ 2 จะเป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นและต่อยอดจากระยะที่ 1 ขณะนี้ กำลังดำเนินการส่งข้อเสนอโครงการให้สภาพัฒน์ฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)  โดย U2T ระยะ 2 นี้ จะขยายไปให้ครบทุกตำบล ครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และจะมีการยกระดับการทำงาน โดยเน้นเรื่องของ 1. ขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาตามเขตเศรษฐกิจพิเศษ ใน 5 ภูมิภาค เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาพื้นที่รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ 2. BCG โมเดล ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ” รมว.อว.กล่าวและว่า ทั้งนี้ อว.จะรวบรวมทุกมหาวิทยาลัยในสังกัดมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ เช่น ภาคเหนือ ก็จะให้มหาวิทยาลัยระดับนำในพื้นที่อาทิ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.เชียงใหม่ มรภ.เชียงราย มทร.ล้านนา ฯลฯ มาร่วมกันทำเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือท่องเที่ยว ทำงานร่วมกับทางจังหวัด เช่น เอาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการ U2T มานำเสนอและจำหน่ายในรูปแบบงานมหกรรมสินค้ารูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นผลิตผลที่เกิดจากมหาวิทยาลัย นักศึกษาและชาวบ้านช่วยกันทำและใน U2T ระยะที่ 2 ก็จะเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นจากตำบลขยายสู่จังหวัดและภูมิภาค

“สำหรับโครงการ U2T ถ้าไม่คิดให้ใหญ่ก็จะกลายเป็นแต่อีเว้นท์ อว.ต้องกัดไม่ปล่อย นี่ถือเป็นลมหายใจใหม่ๆ ให้กับมหาวิทยาลัย เราต้องทำเรื่องพวกนี้ให้กับประเทศชาติ เป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน นับแต่วันนี้ถึงปี 65 ให้ถือเป็นปี “ปล่อยของ” ของ อว.ต้องแสดงศักยภาพที่มีให้คนไทยได้เห็น รวมถึงนานาชาติในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC ในปีหน้าด้วย”  ศ.(พิเศษ)ดร.เอนก ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง

"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”

เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล