เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรี อว. ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด อว. ร่วมลงพื้นที่พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้กับประชาชนในพื้นที่ ภายใต้กิจกรรม สวทช. เสริมแกร่งภูมิภาค ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG “ขับเคลื่อนโปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ที่ จ.ศรีสะเกษ
ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า การลงพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ครั้งนี้ อยู่ภายใต้แผนงาน “ขับเคลื่อนโปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งนำโดย สวทช. และยังมีอีกหลายหน่วยงานของ อว. ทั้งสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยเข้ามาบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งคลอบคลุมถึง 5 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร และสุรินทร์ โดยพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และต่างมีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอันเป็นรากเหง้าที่เข้มแข็ง มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นออกมามากมาย แต่สิ่งที่ อว.จะมาช่วยขับเคลื่อน คือ การนําองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปต่อยอดพัฒนาฐานทุนเดิมอันเป็นจุดแข็งของทุ่งกุลาให้สามารถสร้างมูลค่า สร้างโอกาสทางการตลาด และสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ที่มุ่งให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีรายได้ พ้นความยากจน
รมว.อว.กล่าวต่อว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ของ อว. จะทำงานร่วมกับทางจังหวัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ โดยมุ่งขับเน้นให้ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการของทุ่งกุลาฯ มีอัตลักษณ์โดดเด่นยิ่งขึ้น เช่น การยกระดับผ้าทอโดยใช้เอนไซม์เอนอีซ "ENZease" สารจากธรรมชาติที่ช่วยทำความสะอาดและลอกแป้งออกจากเส้นใยในขั้นตอนเดียว ทำให้ย้อมสีธรรมชาติได้ดีขึ้น สีสวย สม่ำเสมอ ช่วยลดต้นทุน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี มาเพิ่มสมบัติพิเศษต่างๆ ทั้งความนุ่มลื่น การป้องกันรังสียูวี การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงการเติมกลิ่นหอม โดยนำ ‘กลิ่นดอกลำดวน’ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษมาเติมลงในผ้าทอเบญจศรี เพื่อสร้างเสน่ห์และอัตลักษณ์ให้กับผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษ ขณะเดียวกันในส่วนของการอนุรักษ์ภูมิปัญญา
ที่สำคัญ สวทช. ยังได้ร่วมกับหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาสายพันธุ์ถั่วเขียวที่ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคราแป้งและใบจุด และถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรทั้งกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ และเกษตรกรผู้ผลิตถั่วเขียวเข้าโรงงานอุตสาหกรรม มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน พื้นที่ปลูก 500 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 120 -150 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรเฉลี่ย 2,600 – 3,300 บาทต่อไร่ และยังเชื่อมโยงกับภาคเอกชนให้เข้ามารับซื้อ ได้แก่ บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) มีปริมาณการรับซื้อ 1,000 ตันต่อปี และบริษัท กิตติทัต จำกัด มีปริมาณการรับซื้อ 3,500 ตันต่อปี เพื่อให้มีผลผลิตถั่วเขียวที่เพียงพอ ต่อความต้องการของตลาดต้องการพื้นที่ปลูก จำนวน 30,000 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 150 กิโลกรัมต่อไร่
“พื้นที่ทุ่งกุลาฯ มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่นวัตกรรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการรักษาเอกลักษณ์เดิมไม่ให้เลือนหาย โดยเฉพาะ จ.ศรีสะเกษ ที่มีศักยภาพโดดเด่นในด้านนี้มาก และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจะต้องเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน เอาความรู้ออกมาสู่ชุมชน และควรจะมีการจัดทำหลักสูตรแซนด์บอกส์ที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคนให้เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ เพราะต่อไปนี้ผลผลิตจาก อว. จะต้องสามารถรับใช้ประเทศชาติ สังคม และประชาชนได้” ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล