ตลอดเดือนมีนาคมทั่วโลกจะมีเรียกร้องยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศเนื่องในวันสตรีสากล วันที่ 8 มี.ค.ของทุกปี ด้านสหประชาชาติกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ในข้อ 5.2 ระบุให้การขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวเป็นเป้าหมายที่ประเทศต่างๆ ต้องให้ความสำคัญขับเคลื่อนทำให้บรรลุเป้าหมาย
ส่วนองค์การอนามัยโลกยืนยันความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ซึ่งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัว คนใกล้ชิด ทัศนคติของสังคมที่มองว่าความรุนแรงในบ้านเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันพบผู้หญิงถูกทำร้ายในครอบครัวเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ผลพวงเศรษฐกิจฝืดเคือง คนตกงาน มีภาระหนี้สิน เครียดสะสม
นางภรณี ภู่ประเสริฐ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส. ) ขับเคลื่อนงานด้านสิทธิพื้นฐานผู้หญิงผ่านยุทธศาสตร์สุขภาวะผู้หญิง ทั้งการเข้าถึงบริการสุขภาพและการปกป้องคุ้มครองตนเองให้รอดพ้นจากความรุนแรงทุกมิติ วันสตรีสากลปีนี้ สสส. ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่สมัครร่วมกิจกรรม แสดงความคิดเห็น และเสนอทางออกปัญหาการรุนแรงทางเพศผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.นับเราด้วยคน.com โดยจะจัดกิจกรรมปลายเดือนมี.ค.-เม.ย.นี้
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส. ) กล่าวว่า สสส.ผลักดันสิทธิของผู้หญิง เราเน้นกลุ่มผู้หญิงที่มีลักษณะทางกายภาพหรือวัฒนธรรมเฉพาะที่เป็นชายขอบ ได้แก่ ผู้หญิงพิการ ผู้หญิงมุสลิม ผู้หญิงชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้หญิงที่ด้อยโอกาสหรือถูกเลือกปฏิบัติ ได้แก่ ผู้หญิงต้องขัง ผู้หญิงบริการ และผู้หญิงรักผู้หญิง
เมื่อวิเคราะห์ช่องว่างในการพัฒนาสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของผู้หญิงกลุ่มเฉพาะ/ชายขอบหรือด้อยโอกาส พบว่า ผู้หญิงเป็นกลุ่มประชากรที่เผชิญความเหลื่อมล้ำในสังคมสูงจากอคติทางเพศที่ฝังในระบบคิด ติดอยู่ในจารีต และการปฏิบัติในวัฒนธรรมจนส่งผลต่อสุขภาวะผู้หญิง ทำให้เข้าไม่ถึงโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และอำนาจการตัดสินใจในเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และนโยบายสาธารณะที่กำหนดชะตาชีวิต
อ้างอิงตามสถิติ พบว่า ผู้หญิงไทยถูกละเมิดทางเพศ ถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายหรือจิตใจไม่น้อยกว่า 7 คน/วัน และมีสถิติผู้หญิงที่เข้ารับการบำบัดรักษาแจ้งความร้องทุกข์ปีละ 30,000 คน ขณะที่รายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พบว่า กว่าร้อยละ 87 ของคดีการถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยถูกรายงาน
สสส.ขับเคลื่อนงานสิทธิผู้หญิงในพื้นที่ชายแดนใต้
นางภารณีกล่าวต่อว่า จากการสำรวจพบความชุกของความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.6 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 42.2 ในปี 2563 ประเภทความรุนแรงสูงสุดคือ ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 32.3 รองลงมา ความรุนแรงทางร่างกาย ร้อยละ 9.9 และความรุนแรงทางเพศร้อยละ 4.5 เนื่องในวันสตรีสากล สสส. หวังว่า นอกจากส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาคของสตรีแล้ว ทุกภาคส่วนควรร่วมกันลดและขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงทุกรูปแบบ ทั้งความรุนแรงในครอบครัว การข่มขืน ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติ มีความเชื่อว่า ความเป็นธรรมทางสุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา และทำให้คนในสังคมอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมที่เท่าเทียม
สสส. สนับสนุนทุนทำงานด้านสุขภาวะผู้หญิง เน้นลดความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาสำคัญต่อสุขภาวะผู้หญิงให้กับองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ อาทิ สมาคมเพศวิถีศึกษา มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม เป็นต้น รวมถึงหนุนหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการเดินหน้าโครงการต่างๆ ทั้งพัฒนาองค์ความรู้ และหลักสูตรแก้ปัญหา พัฒนาพื้นที่นำร่องระบบงานสหวิชาชีพเพื่อการจัดการกรณีปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง และความรุนแรงในครอบครัว ที่ครบวงจร รวมถึงสร้างพื้นที่ปลอดภัยนำร่องในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ รวมถึงงานสื่อสารสาธารณะผ่านเพจ Free From Fear เพจเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง Safe Cities for Women Thailand สร้างความตระหนักและไม่เพิกเฉยต่อปัญหา
พัฒนาศักยภาพแกนนำสตรี สานพลังเครือข่าย
นางสาววรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ทำให้ผู้หญิงต้องเผชิญปัญหาถูกลิดรอนสิทธิ ไม่มีส่วนร่วมระดับกลไกของรัฐหรือระดับการเมืองท้องถิ่น ถัดมาสถานการณ์โควิดทำให้ความรุนแรงในครอบครัวสูง การหย่าร้างเพิ่มขึ้น โดยกรณีเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องในครอบครัว คนนอกไม่ควรยุ่ง ขณะที่มีผู้หญิงจำนวนมากกล้าหาญไปขอความยุติธรรมจากหน่วยงาน แต่จะถูกบอกว่าให้อดทน แล้วยังมีการไม่ยอมรับให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ ทั้งที่ในพื้นที่ผู้ชายน้อยลงเสียชีวิตในเหตุการณ์ความไม่สงบ หลบหนีกระบวนการยุติธรรม หรือเจอคดียาเสพติด ไม่ให้โอกาสผู้หญิงร่วมตัดสินใจ จากปัญหาที่เพิ่มขึ้นจึงทำงานสิทธิผู้หญิงในชุมชน เคารพความเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กกว่า 6 หมื่นคน โดย สสส.สนับสนุน
“ เราทำงานกับผู้หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้นำที่เป็นผู้หญิง และเด็กผู้หญิง ให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่ดีมากที่สุด เพื่อให้มีทางเลือกในชีวิตมากขึ้น ปัจจุบันพบสัดส่วนผู้หญิงในระบบการศึกษาใน 3 จังหวัดแดนภาคใต้สูงกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ สร้างเสริมศักยภาพผู้หญิงมุสลิมเป็นแกนนำอยู่ในกลไกชุมชน กลไกท้องถิ่น จัดตั้งกลุ่มผู้หญิงที่ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือสำหรับผู้หญิงที่ต้องการเข้าถึงความยุติธรรม รวมถึงขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัวใน จ.ยะลา ร่วมกับ สสส. ดึงทุกภาคส่วนช่วยขับเคลื่อนสร้างความตระหนักเรื่องการแต่งงานของเด็กหญิง การปกป้องเด็กจากอันตราย ส่งเสริมให้เด็กได้รับวัคซีน ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย สร้างสัมพันธภาพในครอบครัว “ นางสาววรรณกนก ผู้หญิงที่มีบทบาทการขับเคลื่อนสิทธิสตรีในพื้นที่ชายแดนใต้ย้ำยังต้องต่อสู้เคียงข้างผู้หญิงอีกหลายประเด็นเพื่อหยุดความรุนแรง การกีดกันในการทำงาน สู่ความเท่าเทียมอย่างแท้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต