ในบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้อาจจะเริ่มต้นมาจากการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ของคนในสังคม และขยายเพิ่มมากขึ้นจากการรวมกลุ่ม มาร่วมแรงกำลังและแรงใจ เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็นเรื่องที่คนในสังคมนั้นมีความคิดเห็นเหมือนกัน และเป็นเรื่องที่อยากจะผลักดันให้มีการพัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับที่ปัจจุบันเกือบทุกประเทศบนโลกตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม จากการร่วมมือกันของกลุ่มเล็กๆ กลายเป็นระดับเมือง ระดับประเทศ และปัจจุบันมีความร่วมมือระดับโลกเกิดขึ้น
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเมื่อคนในสังคมเห็นพ้องต้องกันในปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะแย่ลงไปนั้น การร่วมแรงร่วมใจกันผลักดันและปรับเปลี่ยนทั้งแนวความคิดและการปฏิบัติ ก็เป็นเรื่องที่สามารถสร้างให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ เช่นเดียวกับที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ได้เริ่มทำไปในโครงการลมหายใจเพื่อน้องนั้น เพราะจากที่มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยว่าเยาวชนที่จะเติบโตไปเป็นแรงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ กำลังขาดโอกาสในการพัฒนาตัวเอง โดยเฉพาะการได้รับความรู้จากสถาบันการศึกษา เนื่องด้วยความขาดแคลนทุนทรัพย์ของครอบครัว
จากปัญหาต่างๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ากำลังลุกลามไปเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ และจะส่งผลเสียให้กับประเทศในอนาคตอย่างแน่นอน จึงเกิดการพัฒนาโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะคืนโอกาสให้แก่เด็กนักเรียนและเยาวชนในช่วงชั้นรอยต่อ ที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาในปี 2565 ให้สามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมกว่า 60,000 ราย
ผ่านกิจกรรม PTT Virtual Run ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมมาทำร่วมกัน คือการเดินหรือวิ่งสะสมระยะทาง ที่มีผลให้ทุก 1 กิโลเมตร มีมูลค่าเท่ากับ 250 บาท โดย 10 กิโลเมตร จะมีมูลค่าเท่ากับ 2,500 บาท หมายถึงจะช่วยเหลือเด็กได้ 1 คน หวังช่วยเหลือเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 สร้างการมีส่วนร่วมในการลดช่องว่างทางการศึกษา โดยดำเนินโครงการระยะแรกและได้รับเสียงตอบรับอย่างดีเยี่ยม
ประชาชนทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ได้ร่วมสร้างสถิติใหม่สะสมระยะทาง 600,000 กิโลเมตร ด้วยเวลาเพียง 6 วัน รวมมูลค่า 151 ล้านบาท และจากความตั้งใจของทุกคน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ ปตท. มุ่งมั่น เดินหน้าต่อกับกิจกรรมก้าวต่อกับก๊อดจิเพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาในเฟสที่ 2 ต่อไป เพื่อจัดตั้ง “กองทุนแรกเริ่มศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา” 20 ล้านบาท ผ่าน กสศ. สำหรับดูแลเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์หรือเหตุปัจจัยไม่คาดคิด อาทิ อุบัติเหตุ อาชญากรรมต่างๆ ทั้งต่อครอบครัว และตัวเยาวชน ที่ทำให้มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา
และระหว่างดำเนินการระยะที่ 2 นั้น ปตท. ก็ได้ดำเนินการมอบเงินจำนวน 151 ล้านบาท จากการดำเนินโครงการระยะแรก ให้แก่ รศ. ดร. ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อคืนโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนในช่วงชั้นรอยต่อ ที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษาในปี 2565 ให้สามารถกลับเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง โดยมี พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบเงินสนับสนุนการศึกษาเยาวชน จากกิจกรรม PTT Virtual Run อีกด้วย
ทั้งนี้จากการพัฒนาโครงการทั้ง 2 ระยะ ได้รับความร่วมมือ เข้าร่วม และสนับสนุนจากหลายฝ่ายหลายหน่วยงานรวมถึง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ได้แนะนำในขณะที่ตนเองกำลังวิ่งออกกำลังกาย และถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก ว่ากิจกรรมวิ่งสะสมระยะทางของ ปตท. ช่วยเด็กๆ ที่หลุดจากระบบการศึกษาในช่วงโควิด-19 ดำเนินการแล้ว 2 เฟส ซึ่งเด็กคือสมบัติที่มีค่าของประเทศ การลงทุนกับเด็กคือเรื่องสำคัญ ถือเป็นทรัพยากรในอนาคต
จากความร่วมมือเล็กๆ น้อยๆ ของคนในสังคม ทำให้โครงการประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ได้รับความสนใจจากประชาชนทุกภาคส่วนทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น รวม 93,061 คน เป็นระยะทางเดิน-วิ่งสะสม 7,425,061 กิโลเมตร สามารถช่วยเด็กและเยาวชนให้มีโอกาสได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้กว่า 60,000 คน รวม 151 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันจัดตั้ง “กองทุนแรกเริ่มช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา” ผ่าน กสศ. อีก 20 ล้านบาท รวมงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น 171 ล้านบาท
และแน่นอนว่าการรวมพลังของคนไทยในโอกาสนี้ สามารถช่วยเด็กและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่อง พัฒนาความสามารถให้เด็กไทยที่ขาดโอกาส เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนนั้นๆ เติบโตเป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมพัฒนาประเทศต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท
ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024