การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลให้โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ทุกวันนี้มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งจากรายงานของโครงการ Copernicus Climate Change Service (C3S) ของสหภาพยุโรป พบว่า อุณหภูมิโลกเพิ่มเฉลี่ยในปี 2021 อยู่ที่ 1.1 - 1.2 องศาเซลเซียส สูงกว่าระดับในปี 1850 - 1900 โดยปีที่ร้อนที่สุดในประวัติการณ์คือปี 2016 และ 2020 ขณะที่รายงานขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในปี 2018 ระบุว่า อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยน่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.5 องศาเซลเซียสในช่วงระหว่างปี 2030 - 2052 หากยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งหากเมื่อมาดูถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นไปที่ 1.5 - 2 องศาเซลเซียส จะเกิดผลกระทบไปทุกด้าน โดยรายงานพิเศษจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ที่เผยแพร่ออกมาในปี 2018 ชี้ว่า ทุกการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้นจะส่งผลกระทบที่สำคัญ ได้แก่ สภาพอากาศร้อนจัดที่จะเพิ่มขึ้น โดยประชากรโลกจะเผชิญกับคลื่นความร้อนสูงในทุกๆ 5 ปี
ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.26 - 0.87 เมตร ในปี 2100 เมื่อเทียบกับช่วงปี 1986 - 2005 ความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง โดยคาดว่าภายในปี 2100 แมลง 6% พืช 8% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4% จะสูญเสียพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ไปมากกว่าครึ่ง แต่หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส คาดว่าผลกระทบจะรุนแรงเป็น 2 - 3 เท่า ซึ่งพื้นที่บนบกจะเผชิญการเปลี่ยนผ่านของระบบนิเวศจากประเภทหนึ่งไปสู่อีกประเภทหนึ่ง
ขณะเดียวกัน การละลายของน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกจะเกิดเหตุการณ์ปราศจากน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อนประมาณทุกๆ 10 - 100 ปี ซึ่งจะเป็นการเร่งให้ระดับอุณหภูมิโลกเพิ่มเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากน้ำทะเลที่เป็นสีน้ำเงินเข้มจะดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ ซึ่งจะเกิดความเสี่ยงต่อแนวปะการังทั่วโลกลดลงอีก 70 - 99% ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียที่รุนแรงต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งหลายแห่งแบบไม่มีทางย้อนกลับ ต่อเนื่องไปถึงการทำประมงทั่วโลกจะลดลง ปริมาณการจับสัตว์น้ำประจำปีสำหรับการทำประมงทางทะเลทั่วโลกลดลงหลายล้านตัน
ส่วนด้านประชาชนเองก็จะเผชิญกับภาวะความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ต้องพึ่งพิงการเกษตรหรือการหาเลี้ยงชีพจากทรัพยากรตามแนวชายฝั่ง ซึ่งการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส อาจช่วยลดจำนวนประชาชนทั่วโลกที่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศลงได้หลายร้อยล้านคน เมื่อเทียบกับการปล่อยให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นถึงระดับ 2 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังมีเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพ ที่คาดว่าจะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อนจัดหรือติดเชื้อจากพาหะนำโรค เช่น โรคมาลาเรียหรือไข้เลือดออกได้มากกว่าเดิม
ซึ่งจากผลกระทบทั้งหมดนั้นเป็นผลเสียให้กับมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่บนโลกอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อหลายคนบนโลกตระหนักถึงเรื่องผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว จึงได้เกิดแผนงานที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและอุณหภูมิของโลกนี้ไม่ให้สูงเกินไปกว่าที่กำหนด โดยจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในวาระประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP ที่ทำให้เกิดข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ขึ้น ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมุ่งมั่นที่จะสร้างการมีส่วนร่วมและทำเป้าหมายให้เป็นจริง
ประเทศไทยเองที่ผ่านมาก็มีความชัดเจนเรื่องนี้อยู่หลายเรื่อง ขณะที่ภาคเอกชนเองก็มีการดำเนินงานตามความตั้งใจของประเทศ ซึ่งมีหลายแผนงานที่ถูกกำหนดออกมา หนึ่งในนั้นคือเรื่องการรีไซเคิล และลดใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง โดยหนึ่งในวัตถุดิบที่หลายคนมองข้ามและอาจจะไม่ได้ใส่ใจว่าเป็นเรื่องของความสิ้นเปลืองและเป็นบ่อเกิดของผลกระทบด้านอุณหภูมิก็คือการใช้ “กระดาษ”
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีสถิติการใช้กระดาษในปี 2016 เฉลี่ยคนละ 50 กิโลกรัมต่อปี โดยทั่วประเทศนั้นมีความต้องการกระดาษทุกชนิดรวมกันประมาณ 3.6 ล้านตันต่อปี ไม่ว่าจะเป็นกระดาษที่นำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ กระดาษสำหรับเขียน สำหรับพิมพ์ และอื่นๆ หมายความว่าจะต้องมีการตัดต้นไม้ประมาณ 18 ต้น/คน และถ้ารวมทั้งประเทศต้องตัดต้นไม้มากถึง 66.3 ล้านต้น/ปี เนื่องจากในการผลิตกระดาษทั่วไป 1 ตัน จากเยื่อไม้บริสุทธิ์ จะต้องใช้ไม้ยูคาลิปตัสอายุ 5 ปี จำนวน 17 ต้น ใช้ไฟฟ้าจำนวน 4,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้น้ำถึง 31,500 ลิตร และมีการปล่อยมลพิษคือ คลอรีน สู่สิ่งแวดล้อมประมาณ 7 กิโลกรัม
และเมื่อมนุษย์ใช้กระดาษมากขึ้น นอกจากจะเพิ่มการผลิตที่สูงขึ้นจนเปลืองทรัพยากรแล้ว ยังเป็นการเพิ่มขยะให้สูงขึ้นอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีเอกชนหลายรายทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง และผู้ที่ตระหนักถึงผลกระทบที่กำลังจะมาถึงในอนาคต ได้เดินหน้าโครงการต่างๆ เพื่อลดการใช้กระดาษ และนำกระดาษมารีไซเคิลเพื่อให้โลกมีต้นไม้ที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ต่อเนื่อง อาทิ แคมเปญไปรษณีย์ reBOX ภายใต้แนวคิด “reBOX to School” ที่จะนำกล่องกระดาษไปรีไซเคิลเป็นสิ่งของใช้ประโยชน์ อาทิ ชุดโต๊ะเก้าอี้ ชั้นหนังสือ อุปกรณ์การเรียน เตียงกระดาษสำหรับห้องพยาบาล เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศต่อไป
โดยดำเนินงานผ่านความร่วมมือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่ง ปตท. ได้ร่วมสนับสนุนพื้นที่ในการติดตั้งจุดรับบริจาครวมทั้งสิ้น 48 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปได้มาร่วมโครงการในครั้งนี้
พร้อมเชิญชวนทุกท่านนำกล่องพัสดุและซองไปรษณีย์ที่ไม่ใช้แล้วมาบริจาคได้ที่ ปตท. สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต อาคารเอเนอร์ยี่ คอมเพลกซ์ โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง และสถานีบริการ NGV ปตท. ที่เข้าร่วมแคมเปญ ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 ตุลาคม 2565
นอกจากนี้ยังรวบรวมกล่องพัสดุ/ซองที่ไม่ใช้แล้วมาบริจาคได้ที่จุด Drop Box จุด Drive Thru ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ และหน่วยงานพันธมิตร ซึ่งจะได้รับแต้มสะสม POST FAMILY และสำหรับเดือนมิถุนายนนี้ สามารถนำแต้มสะสมมาแลกเป็นส่วนลดค่าจัดส่งได้ตั้งแต่ 50 บาท สูงสุดถึง 1,000 บาท เพื่อใช้ในบริการส่งด่วน EMS ในประเทศ ส่งด่วนต่างประเทศ EMS World ลงทะเบียนในประเทศ และลงทะเบียนต่างประเทศ
การทำงานร่วมกันนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเหลือให้ประเทศไทยลดการใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลือง เป็นการลดการใช้ทรัพยากรที่จะช่วยลดผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกลงและยังสามารถนำไปพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเพื่อส่งต่อให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานอย่างแท้จริงอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
เก็บขยะศึกษาแหล่งที่มาในทะเล ปลุกความรับผิดชอบผู้ผลิต
กรม ทช. เก็บตัวอย่างขยะทะเลและศึกษาปริมาณขยะบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อตรวจสอบบาร์โค้ดเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิตตระหนักถึงพลาสติกและขยะที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือย่อยสลายได้
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท
ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024