สงครามยูเครน-รัสเซีย ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบในช่วงเวลาไหน ได้จุดประกายให้โลกมีประเด็นที่ต้องร่วมกันขบคิดถึงอนาคตอยู่มากมายหลายเรื่อง ทั้งเรื่องอาหาร ระบบขนส่ง และที่ลืมไม่ได้คงต้องยกให้หัวข้อ “พลังงานทดแทน” (Renewable Energy) ที่แม้ปัจจุบันจะมีการคิดค้นออกมาหลายแนวทาง ใช้ได้จริงบ้าง ต้นทุนสูงบ้าง ต้องรอพิสูจน์ประสิทธิภาพในอนาคตบ้าง แต่นี่คือทิศทางที่ดีของพลังงานโลก ที่บ่งบอกว่า มนุษย์ไม่ได้ละเลยเรื่องพลังงานสะอาด ไม่ได้ละเลยเรื่องการใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
เรื่องพลังงานทดแทนนี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านพลังงานชั้นนำของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญและทุ่มเทสรรพกำลังร่วมค้นคว้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลก ถือเป็นหนึ่งในภารกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศที่บริษัทยึดมั่นมาโดยตลอด โดย 5 พลังงานทดแทนแห่งอนาคตที่น่าสนใจ ได้แก่
1.พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งได้ในทุกพื้นผิว (Embeddable Solar Power)
นอกจากแผงโซลาร์เซลล์แล้ว เทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกันก็คือเทคโนโลยีที่สามารถฝังหรือเคลือบเซลล์แสงอาทิตย์ลงบนพื้นผิวของวัตถุต่างๆ ในลักษณะที่โปร่งแสงไม่สามารถมองเห็นได้ แต่สามารถรับแสงอาทิตย์และแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ปัจจุบันแนวคิดนี้ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและคาดว่าจะสามารถนำมาเคลือบบนพื้นผิวของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือต่อยอดไปสู่การใช้งานในรูปแบบอื่นๆ เช่น เคลือบบนหน้าต่าง หรือกระจกด้านนอกอาคาร เพื่อเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าให้แก่อาคาร เป็นต้น นวัตกรรมเหล่านี้ถูกพัฒนาควบคู่ไปกับการออกแบบแผงโซลาร์เซลล์ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดและผลผลิตสูงขึ้น
2.พลังงานลม (Wind Energy)
ลม คือหนึ่งในแหล่งพลังงานที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ ปัจจุบันการใช้ศักยภาพของพลังงานลมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นหนึ่งในแนวโน้มหลักของพลังงานโลก ที่หลายหน่วยงานกำลังคิดค้นกังหันลมนอกชายฝั่ง และในอากาศเพื่อลดความต้องการพลังงานลมบนบกที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ บนภูเขาสูง นวัตกรรมนี้มักจะรวมเข้ากับแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น กังหันลมแบบลอยน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น และมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการออกแบบใบพัดตามหลักอากาศพลศาสตร์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาวัสดุใบพัดของกังหันลมให้ตอบโจทย์ความยั่งยืนเป็นหนึ่งในความท้าทายที่อุตสาหกรรมต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะสามารถหาทางออกในเรื่องนี้ได้
3. พลังงานคลื่น (Wave Power)
ความคิดที่จะนำพลังงานคลื่นมาใช้มีมาหลายทศวรรษ ซึ่งในทางเทคนิคนั้น คลื่น คือรูปแบบที่เกิดขึ้นจากพลังงานลมที่พัดผ่านทะเล พลังงานคลื่นถูกวัดเป็นกิโลวัตต์ (KW) ต่อหนึ่งเมตรของแนวชายฝั่ง เท่าที่เคยวัดได้มีศักยภาพพลังงานคลื่นประมาณ 252 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว ทำให้ปัจจุบันหลายประเทศมีความพยายามในการดำเนินการสร้างฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่น หนึ่งในประเทศที่นำหน้าในเรื่องนี้ ได้แก่ โปรตุเกส ที่ได้ตั้งฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นในเชิงพาณิชย์เป็นแห่งแรกในโลกตั้งแต่ปี 2008 มีกำลังผลิตติดตั้งรวม 2.25 เมกะวัตต์
4.พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Power)
เรารู้จัก ‘ไฮโดรเจน’ ในฐานเป็นก๊าซที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของน้ำ แต่เมื่อแยกองค์ประกอบทางเคมีแล้ว ไฮโดรเจนจะมีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีมากถึง 74% จากองค์ประกอบทั้งหมดในจักรวาล ในขณะที่บนโลกเราพบได้เฉพาะเมื่อรวมกับออกซิเจน คาร์บอน และไนโตรเจน สำหรับการใช้ไฮโดรเจนจะต้องทำการกลั่นแยกออกมาจากองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งก๊าซที่ได้จะให้พลังงานสูง แต่เป็นก๊าซที่ไม่มีมลพิษ แต่กระบวนการในการแยกนั้นค่อนข้างจะใช้ต้นทุนที่สูงมาก ปัจจุบันหลายหน่วยงานกำลังค้นหาเทคนิคที่ทำให้การแยกไฮโดรเจนมีราคาที่ถูกลง และใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องบิน ยานพาหนะอื่นๆ มากที่สุด รวมมีการนำมาใช้เป็นพลังงานในบ้านและอาคารบ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายในวงกว้าง
5. พลังงานชีวภาพ (Bioenergy)
พลังงานชีวภาพเป็นพลังงานหมุนเวียนชนิดหนึ่งที่ได้มาจากแหล่งชีวมวล เชื้อเพลิงชีวภาพเหลวที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำมันเบนซิน มีการผสมโดยตรงเพื่อใช้ในยานยนต์ ปัจจุบันบริษัทต่างๆ ได้ปรับปรุงกระบวนการเชื้อเพลิงชีวภาพและเทคนิคการอัพเกรด กระบวนการแปลงเชื้อเพลิงชีวภาพส่วนใหญ่ เช่น ไฮโดรเทอร์มอลเหลว (HTL) ไพโรไลซิส เทคโนโลยีพลาสมา การทำให้เป็นผงและการแปรสภาพเป็นแก๊ส ใช้การแปลงความร้อนเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงชีวภาพ โดยกระบวนการสร้างพลังงานชีวภาพนั้นมีมากมายหลายวิธี ในประเทศไทยเน้นกระบวนการหมักที่ทำให้เกิดไบโอเอทานอล ซึ่งง่ายต่อการผสมกับน้ำมันเบนซินโดยตรง การหมักยังมีความสามารถในการแปลงของเสีย เมล็ดพืช อาหารและพืชให้เป็นเอทานอลชีวภาพ ซึ่งทำให้สามารถใช้วิธีการและวัตถุดิบได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า พลังงานทดแทนเหล่านี้ คือตัวแทนของอนาคตอย่างแท้จริง และเป็นทิศทางที่ดีที่รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หันมาสนับสนุนอย่างจริงจัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท
ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024