หนึ่งในหัวข้อการลดการใช้พลังงานที่พูดกันมาเนิ่นนานแต่ปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้น้อยมาก นั่นก็คือการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลข้าวของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์จำเป็นต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะวัสดุที่มีส่วนทำลายธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานในการผลิตอย่าง พลาสติก กระป๋อง แก้ว อลูมิเนียม และกระดาษ เพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและสามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ขอพาสำรวจความเป็นไปได้เรื่องการ “นำกลับมาใช้ใหม่” ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อนที่จะลงรายละเอียดต่างๆ มีคำ 3 คำ ที่อยากให้ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เนื่องจากมีความใกล้เคียงกันมาก จนบ่อยครั้งเราเองก็สับสนใช้ปนกันจนมั่ว ได้แก่ Reduce หรือ การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น Reuse หรือการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle หรือการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประโยชน์
แม้ทั้งสามคำนี้ จะมีนัยยะไปในทิศทางเดียวกัน คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่สองคำแรกนั้นเป็นการใช้ของเดิมที่มีอยู่ ส่วนคำว่า รีไซเคิล ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ นั้น ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปวัสดุต่างๆเสียก่อนจึงจะกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยกระบวนการแปรรูปใหม่นี้ ใช้ทั้งต้นทุนและพลังงานที่น้อยกว่าการทำใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งมีขั้นตอนวุ่นวายและสิ้นเปลืองพลังงานอีกซะมากกว่า
นอกจากนี้ Reduce, Reuse และ Recycle ยังมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ลดจำนวนขยะบนโลกให้น้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรม และลดปริมาณการโค่นไม้ทำลายป่าได้อีกด้วย
ทั้งนี้การหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวะการเกิดฝนกรดเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น คำว่า “นำกลับมาใช้ใหม่” ในบทความนี้ จะกินพื้นที่ของคำทั้งสามคำ
เพื่อให้การนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด หรือภาษาคนร่วมสมัยที่เรียกกันว่า เวิร์กสุดๆ นั้น เป็นจริงและเป็นรูปธรรม ลองเริ่มต้นจากคำสามคำนี้กันเลยดีกว่า
คิดก่อนใช้ ต้นตอของปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหมดทั้งมวลล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของตนเองหลายสิ่งอย่างที่เรากินใช้อยู่ทุกวันนี้จะสามารถทำให้มีคุณค่ามากกว่าพฤติกรรมเดิมๆ ได้ เช่น การซื้อของชิ้นใหม่จะซื้ออย่างไรให้ใช้งานได้ยาวแบบไม่ต้องมานั่นเปลี่ยนกันบ่อยๆ ไปร้านกาแฟก็นำแก้วของตัวเองติดตัวไปด้วยจะดีกว่าการใช้แก้วพลาสติกของทางร้าน
ใช้แล้วใช้อีก ยุคนี้เราจำเป็นต้องลิสต์รายการข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันบ้างแล้ว ว่ามีอะไรบ้างที่ใช้แล้วใช้ได้อีกใช้วนไปได้ยาวไม่จบไม่สิ้น แถมยังเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้เหลือพอการใช้ของประชากรโลกในอนาคตได้อีกด้วย เช่น ถ่านไฟฉายแบบชาร์จไฟ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ที่อาจจะดูเก่าแต่เพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปสักหน่อยก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกไม่ยาก
แปรรูปเพื่อนำมาใช้ใหม่ เมื่อมีของใช้อื่นๆ สามารถนำวนกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ แล้ว ยังมีของอีกประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องนำไปแปรรูปก่อนเพื่อจะได้ของที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ พลาสติก แก้ว กระดาษ อลูมิเนียม ของเหล่านี้จำเป็นต้องช่วยกันแยกในสองขั้นตอนแรก คือคิดก่อนใช้ แล้วคัดเฉพาะที่นำวนกลับมาใช้ได้อีกนำกลับมาใช้ซ้ำ ส่วนที่เหลือจากการบริโภครายวัน ก็นำมาแยกประเภท เพื่อให้เกิดการนำไปแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีกรอบ
ทั้งหมดนี้อาจจะฟังดูง่าย แต่เชื่อหรือไม่ว่าหลายๆ คน มักจะบอกว่าวุ่นวายมากๆ โดยยังไม่ได้ลองเริ่มต้นลงมือทำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
เก็บขยะศึกษาแหล่งที่มาในทะเล ปลุกความรับผิดชอบผู้ผลิต
กรม ทช. เก็บตัวอย่างขยะทะเลและศึกษาปริมาณขยะบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อตรวจสอบบาร์โค้ดเป้าหมายเพื่อให้ผู้ผลิตตระหนักถึงพลาสติกและขยะที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลหรือย่อยสลายได้
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท