เมื่อพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน แม้มันจะดูกว้างขวางกว่ามหาสมุทรทั้งหมดรวมกัน และการแก้ปัญหาดูจะซับซ้อนและยากจนใครหลายๆ คนมักผลักภาระให้พ้นตัวด้วยการ “โยน” ว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ทุกคนกลับลืมไปว่า ฟันเฟืองเล็กๆ อย่าง ‘ตัวเรา’ กลับกลายเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนลดปัญหาด้านพลังงานที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านพลังงานชั้นนำของประเทศไทย สานต่อภารกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศใน 3 มิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ชวนทุกท่านปลุกสำนึกเพื่อเป็นหนึ่งพลังในการรักษาสมดุลของพลังงานโลกตามแนวคิดพลเมืองโลก (Global Citizen) ด้วยสิ่งที่ทำยากที่สุด นั่นก็คือเริ่มต้นจาก “ตัวเรา”
ทำไมการเปลี่ยน “ตัวเรา” จึงเป็นงานที่ท้าทายที่สุด ?
คำตอบภายใต้คำถามที่แสนง่ายนี้ สุดแสนจะยาก เพราะมนุษย์มักเริ่มต้นจากความ “คุ้นเคยและเคยชิน” เช่น ถ้าบ้านไม่สว่างในทุกๆ จุด เราจะรู้สึกหดหู่ แต่จริงๆ แล้ว หากเรานั่งชมโทรทัศน์ในห้องนั่งเล่น หรือนั่งทำงานเฉพาะจุดเป็นประจำ พื้นที่อื่นๆ ในบ้านก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟให้สว่างจ้าก็ได้ นี่ยังไม่รวมพฤติกรรมอื่นๆ อย่าง บ้านต้องเย็นเฉียบไปเสียทุกตารางเมตร ต้องซักผ้าทุกๆ วันผ่านเครื่องซักผ้า แทนที่จะซักอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง ซึ่งเป็นการใช้น้ำและไฟอย่างคุ้มค่ามากกว่า
แล้วจะเริ่มต้นอย่างไรดี อันดับแรก การลดการใช้พลังงานในบ้านและเพิ่มการประหยัดพลังงานนั้น คุณไม่จำเป็นต้องออกไปซื้อผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานใหม่หมด เพราะถ้าคุณได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟ แต่คุณต้องเสียเงินก้อนใหญ่ นั่นไม่ใช่วิธีการที่ฉลาดเลย สิ่งแรกที่ต้องทำเพียงแค่หากระดาษที่ใช้แล้วและยังไม่ได้ทิ้ง กลับหน้าที่ว่างอีกด้าน เพื่อนั่งลิสต์ “รายการใช้พลังงานของคุณ” เช่น ที่บ้าน/คอนโด มีไฟกี่ดวง มีแอร์กี่เครื่อง เครื่องซักผ้าที่มีใช้งานบ่อยแค่ไหน การเริ่มต้นจากการลิสต์รายการเหล่านี้ จะนำไปสู่การทบทวนตัวเองในหลายๆ เรื่อง เช่น ปกติเราอยู่บ้านวันละกี่ชั่วโมง เรานั่งทำงานตรงไหนมากที่สุด วันละกี่ชั่วโมง สิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้จะทำให้คุณรู้ว่า ส่วนอื่นๆ ของบ้าน/คอนโด มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน ดังนั้น ปิดไฟ และเปิดแอร์เฉพาะพื้นที่ๆ ใช้งานก็พอแล้ว
สเต็ปต่อมา รายการที่ถูกแจกแจงออกมานั้น จะนำไปสู่การสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ อันไหนเก่า อันไหนใหม่ ชิ้นไหนกินไฟมาก ชิ้นไหนสมควรแก่เวลาที่จะหาใหม่ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าจะประหยัดพลังงานได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งใช้เงินซื้ออุปกรณ์ใหม่เท่าที่จำเป็น (แทนที่จะต้องตะบี้ตะบันซื้อใหม่หมดให้สิ้นเปลืองเงินทอง) เช่น
ถ้าที่บ้าน/คอนโดยังมีหลอดไฟแบบดั้งเดิมที่ใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่มากเกินไป ควรเปลี่ยนไปสู่หลอดประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ๆ เช่น หลอดไดโอดเปล่งแสง (หรือหลอดไฟ LED ที่เราเรียกติดปาก) หลอดไฟประเภทนี้ ใช้ไฟฟ้าน้อยลง 25 – 80%และใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟทั่วไป 3 ถึง 25 เท่า แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลย เพราะหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานจะมีราคาแพงกว่าหลอดไส้แบบดั้งเดิม แต่เมื่อคำนวนการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นนั่นหมายความว่าคุณมีต้นทุนที่ต่ำลงในระยะยาว ในด้านความคุ้มค่า ถือว่ามีมากกว่าเช่นกัน
สิ่งที่เรามักละเลยหรือเพิกเฉย หรืออาจจะไม่รู้จริงๆ ก็คือ “Phantom Loads” หรือไฟฟ้าที่ใช้โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ปิดเครื่องหรืออยู่ในโหมดสแตนด์บาย เหล่านี้เป็นแหล่งพลังงานหลักที่สูญเสียไปโดยไม่จำเป็น ลองคิดดูว่า คุณไม่ได้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ แต่เสียบปลั๊กคาไว้ตลอดเดือน ต้องไม่ลืมว่า มันมีไฟฟ้าหล่อเลียงอุปกรณ์นั้นอยู่ ในทางปฏิบัติมีการคำนวณว่า 75% ของพลังงานที่ใช้ในการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือนนั้นถูกใช้ไปเมื่อปิดเครื่อง ซึ่งอาจทำให้คุณเสียค่าใช้จ่ายสูงราวๆ 10,000 บาทต่อปี ไปกับอุปกรณ์เหล่านี้โดยไม่จำเป็น
นอกจากงานบ้านอื่นๆ แล้ว การอุ่นอาหารเป็นกระบวนการที่จำเป็นและต้องเสียพลังงานมาก ในความคิดใครหลายๆ คน เตาไฟฟ้าอาจรักษารสชาติของอาหารได้ดีกว่า แต่ข้อเท็จจริงมันเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าคุณไม่ได้ยึดติดว่า ต้องปรุงหรืออุ่นอาหารที่เตาไฟฟ้า เราอยากแนะนำว่า มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหารนั้นประหยัดพลังงานมากกว่า เพราะลักษณะของเตาไฟฟ้าถูกออกแบบมาทำให้สูญเสียพลังงานได้ง่าย ส่วนไมโครเวฟใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากก็จริง แต่เป็นการใช้พลังงานที่ค่อนข้างสั้นหรือในช่วงเวลาเพียงเล็กน้อยก็สามารถปรุงอาหารให้สุกได้เท่ากัน นั่นเท่ากับประหยัดพลังงานไปได้มากทีเดียว
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเหล่านี้ เริ่มต้นได้ที่ตัวเราและทำได้ทันทีตั้งแต่วันนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท
ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024
ปตท. มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ ผลักดันทักษะ STEM ให้เยาวชนไทย ในโครงการ PTT Group STEM Camp 2024
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ PTT Group STEM Camp 2024 เพื่อมุ่งสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้าน STEM ให้กับเยาวชนในดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากทั่วประเทศ