“อรรถพล” ชูมาตรการ 3P ดัน ปตท. ลดคาร์บอน

จากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกที่นับวันยิ่งเข้าสู่ขั้นวิกฤตมากขึ้น เพราะในปัจจุบันโลกที่กำลังพัฒนาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องปล่อยของเสียที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศในโลกตระหนักและเข้าใจถึงวิกฤตครั้งนี้เป็นอย่างมาก จึงเกิดการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) ซึ่งในปี 2564 นั้นก็เป็นการประชุมครั้งล่าสุดถือว่าเป็นสมัยที่ 26 แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นครั้งสำคัญที่เห็นความชัดเจนมากที่สุดของกลุ่มประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทยด้วย

เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เป็นขั้นต้นของกระบวนการทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการนาน รวมถึงต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีแผนงานที่ชัดเจนจากการประชุมครั้งดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย หลังเข้าร่วม COP26 ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญคือประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 และ Net Zero ภายในปี 2065

แม้ว่าจะเป็นเป้าหมายที่ท้าทายแต่หากหลายฝ่ายร่วมมือกัน ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องกังวล ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศแผนชัดเจนแล้วของประเทศไทย เอกชนยักษ์ใหญ่ในประเทศที่มองเห็นถึงแนวโน้ว หรือมีการดำเนินงานด้านนี้มาตลอดระยะเวลาอยู่แล้ว ก็ทยอยประกาศแผนที่เริ่มเห็นแนวทางที่ชัดเจน รวมถึงบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เดิมก็ได้ดำเนินงานเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ จึงต้องปรับปรุงวิธีการทำงานให้เหมาะสมอยู่ตลอด

และล่าสุด นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังได้ร่วมงานเสวนา “ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” (Better Thailand Open Dialogue) ในหัวข้อ "สิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจ" ว่าการเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อตอบโจทย์ประชาคมโลกนั้น ปตท. ได้มีการจัดตั้งกรุ๊ปเน็ต ซีโร่ ขึ้นมาตั้งแต่ที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบาย และเริ่มดำเนินงานอย่างจริงจังแล้ว

เป้าหมายของกลุ่ม ปตท. คือจะทำให้เร็วกว่าที่ประเทศประกาศไว้ในปี 2065 เนื่องจากมองว่าการทำได้ดีกว่า เร็วกว่าจะช่วยในเรื่องค่าเฉลี่ยรวมของประเทศ และในขณะเดียวกันกลุ่มพลังงานมีสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนที่เยอะกว่ากลุ่มงานอื่น เนื่องจากเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งการปรับแผนให้เร็วขึ้นนั้นจะสามารถช่วยผ่อนแรงและไม่เป็นการโยนภาระให้กับกลุ่มธุรกิจรายเล็กในประเทศด้วย โดยภายในปีนี้ ปตท. จะประกาศเป้าหมายที่ชัดเจนอีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประกาศไปแล้วจะมีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน

และเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero กลุ่ม ปตท. จึงจะใช้กลยุทธ์ 3P คือ 1. Pursuit of Lower Emissions โดยคำนึงว่า ปตท. จะใช้พลังงานอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนที่ปล่อยมาจากหน่วยผลิตกลับมาเก็บไว้ใต้ผิวอากาศ โดยแหล่งที่ดีที่สุด คือแหล่งก๊าซและแหล่งน้ำมันที่อยู่ใต้ดินเพื่อไม่ออกมาทำลายโลก ซึ่ง ปตท. เริ่มทำแล้วที่แหล่งอาทิตย์ ในพื้นที่อ่าวไทย โดยจะเก็บได้ประมาณ 400,000 ตันต่อปี และยังเชื่อมั่นว่าศักยภาพของแหล่งอื่นๆ ในประเทศไทย จะสามารถเก็บได้ถึง 40 ล้านตันต่อปี ซึ่ง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะดำเนินการรวมถึงนำคาร์บอนที่เก็บไว้มาใช้ประโยชน์ด้วย

นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนด้วย อาทิ การติดตั้งโซลาร์ในหน่วยบริการของกลุ่ม ปตท. และในส่วนการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตนั้น ปตท. ได้ทดลองเป็นผู้ซื้อก่อน โดยใช้วิธีเรือขนส่งจะต้องเติมน้ำมันที่มีการปล่อยคาร์บอนออกมา ปตท. ก็ไปซื้อคาร์บอนมาชดเชย ดังนั้น การส่งน้ำมันในรอบดังกล่าวจึงถือว่าเป็น Green Shipment เป็น Net Zero และในอนาคต ปตท. จะดำเนินงานต่อเนื่องอย่างแน่นอน

พร้อมกันนี้ยังมีการทดลองใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน จากที่ทราบกันว่าไฮโดรเจนเป็นพลังงานที่ไม่มีมลพิษแต่ต้นทุนจะสูง จึงได้เริ่มศึกษาและทดลองใช้แล้วประเทศไทย โดยจะมีสถานีบริการน้ำมันไฮโดรเจนแห่งแรกโดยจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ที่พัทยา รวมถึงได้มีการศึกษาหลายแบบในการเอาไฮโดรเจนมาใช้ อาทิ นำมาผสมในเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นการศึกษาที่คิดว่าไฮโดรเจนเป็นพลังงานอนาคตที่จะมาในช่วง 10 ปีนี้

2.Portfolio Transformation โดยกลุ่ม ปตท. ได้ปรับพอร์ตธุรกิจและการลงทุนทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาพลังงานส่วนใหญ่ที่คนไทยใช้อยู่คือ ฟอสซิล ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ แต่เมื่อปัญหาโลกร้อนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงต้องปรับธุรกิจฟอสซิล โดย ปตท. จะขายธุรกิจถ่านหินทั้งหมดภายในปีนี้ และโรงกลั่นน้ำมันจะไม่มีการขยายต่อ แต่จะหันมาใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การผลิตน้ำมันสู่มาตรฐานยูโร 5 ส่วนก๊าซเป็นเชื้อเพลิงที่ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด ถือเป็นเชื้อเพลิงช่วงเปลี่ยนผ่านไปเป็นพลังงานทดแทน จึงมองว่ายังต้องขยายอยู่ในช่วง 10 ปีข้างหน้า

"ด้านพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็น ลม หรือแสงอาทิตย์ ปตท. ได้ตั้งเป้าหมาย ที่จะลงทุนในพลังงานทดแทนเข้ามาในพอร์ตธุรกิจไฟฟ้ามากขึ้นภายในปี 2030 ต้องมีพลังงานทดแทนเข้ามาในพอร์ตกว่า 12,000 เมกะวัตต์"

ต้องยอมรับว่าการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจของประชาชน รวมถึงบุคลากรขององค์กรเองด้วย โดย นายอรรถพล กล่าวว่า ปตท. ได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่เป็น “Powering Life with Future Energy and Beyond” โดยโฟกัสไปที่ด้านพลังงานทดแทน รวมถึงห่วงโซ่คุณค่าด้านรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หลังจากที่รัฐบาลได้ส่งเสริมมากขึ้น รวมถึงกลุ่มพลังงาน ที่จะมุ่งเน้นไปทำธุรกิจไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทนมากขึ้น

โดยได้จัดตั้ง บริษัท อรุณ พลัส จำกัด มาลงทุนใน EV ที่ครบวงจร อาทิ การลงทุนในเรื่องของแบตเตอรี่ สถานีชาร์จ โรงงานผลิตรถ EV และ Ecosystem ของ EV นอกจากนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนทั้งประเทศได้ใช้รถ EV กลุ่ม ปตท. จึงได้เปิดบริการเช่ารถ EV เพื่อทดลองขับผ่าน แอปพลิเคชัน EVme สามารถเข้าไปใช้งานเช่ารถ EV ได้หลายรุ่น หลายยี่ห้อในระยะเวลา 3 วัน 5 วัน 7 วัน หรือ 1 เดือน เป็นต้น ถือเป็นการส่งเสริมธุรกิจ EV ในประเทศไทยเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น

3.Partnership with Nature and Society โดยเข้าไปเป็นหุ้นส่วนกับพาทเนอร์ควบคู่กับการทำธุรกิจ ปตท. เช่นในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาดำเนินกิจกรรม ปตท. ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ ซึ่งก็ได้ทะลุเป้าหมายไปแล้ว โดย ปตท. ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเข้าไปประเมินตัวเลขป่า ปรากฏว่าป่าที่ปลูก 1 ล้านไร่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ 2.1 ล้านตันต่อปี และปล่อยออกซิเจนสู่บรรยากาศ 1.7 ล้านตันต่อปี

โดยในอนาคตกลุ่ม ปตท. มีแผนจะปลูกเพิ่มป่าอีก 2 ล้านไร่ และคาดว่าจะสามารถดูดซับได้ประมาณ 4 ล้านตันต่อปี โดย ปตท. จะเป็นอีกแรงกำลังที่จะทำให้ประเทศไทยไปถึงเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และ Net Zero ที่วางไว้ได้แน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปตท. มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ ผลักดันทักษะ STEM ให้เยาวชนไทย ในโครงการ PTT Group STEM Camp 2024

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ PTT Group STEM Camp 2024 เพื่อมุ่งสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้าน STEM ให้กับเยาวชนในดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากทั่วประเทศ

ศูนย์ฯ สิรินาถราชินี สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. รับประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ได้รับประกาศเกียรติคุณ “โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จับมือ TOA เดินหน้าพิชิต Net Zero มุ่งใช้นวัตกรรมสีรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยกระดับที่อยู่อาศัย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร “TOA” ผู้นำเบอร์หนึ่งในตลาดสีทาอาคาร เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง

เปิดรับสมัครแล้ว PTT Gaskathon 2024 Tech Forum

เปิดรับสมัครแล้ว PTT Gaskathon 2024 Tech Forum การแข่งขันสุดเข้มข้นเพื่อมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรมและไอเดียด้านเทคโนโลยี จากมุมมองภายนอกสู่โอกาสต่อยอดทางธุรกิจของ ปตท. เปิดโอกาสให้ นิสิต/นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไป และบริษัท Startup เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อพัฒนาและต่อยอดโอกาสทางธุรกิจก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

กลุ่ม ปตท. เร่งฟื้นฟู บรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ชมรม PTT Group SEALs พร้อมด้วยตัวแทนจากชมรมพลังไทยใจอาสา ปตท. และโออาร์ ลงพื้นที่เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

P-Dictor สตาร์ทอัพกลุ่ม ปตท. คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2567

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลาง) และนายปฏิพัตร์ สำโรงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี-ดิกเตอร์ จำกัด (P-Dictor) (ซ้าย) รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรม