ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแปลกๆ ที่ชวนให้ตื่นตระหนกอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้เริ่มละลายในปริมาณที่น่าตกใจ พายุไต้ฝุ่นที่ก่อตัวรุนแรงขึ้นในหลายๆ แห่งบนโลก และล่าสุด เมื่อปลายเมษายนที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย รายงานว่า ที่รัฐอุตตรประเทศ พบอุณหภูมิสูงสุดในประเทศอินเดียอยู่ที่ 45.9°C ในขณะที่พื้นที่อื่นๆ ได้ถูกบันทึกสถิติอุณหภูมิสูงถึง 42 - 44 °C เช่น ในรัฐมหาราษฏระ ทางภาคตะวันตกของอินเดีย ทำให้มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดกว่า 25 ราย ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอากาศร้อนผิดปกตินี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้คนมากกว่า 1,000 ล้านคน ในอินเดียและปากีสถานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน มีความเสี่ยงที่จะล้มป่วยหรือเสียชีวิตจากอากาศที่ร้อนจัดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปากีสถาน รัฐบาลประกาศเตือนภัยคลื่นความร้อน หลังอากาศร้อนจัดที่สุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทุบสถิติในรอบ 61 ปีนับตั้งแต่ปี 1961 เป็นต้นมา หลังจากที่เมืองลาร์คานา จังหวัดซินด์ ทางใต้ของปากีสถาน อุณหภูมิพุ่งสูงสุด 47 °C พร้อมกับเตือนว่า คลื่นความร้อนอาจทำให้ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยละลาย จนอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
โรซี แมทธิว คอลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศจากสถาบันอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนแห่งอินเดียได้อธิบายถึงสถานการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในอินเดียครั้งนี้ว่า เป็นผลพวงมาจากภาวะโลกร้อนโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับคำอธิบายของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (IPCC) ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อินเดียจะต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงและบ่อยครั้ง ในขณะที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเป็นการตอกย้ำความท้าทายของรัฐบาลอินเดียในเรื่องการจัดการกับปัญหาก๊าซเรือนกระจก
ไม่ใช่แค่อินเดียที่ต้องเผชิญกับภาวะโลกร้อนและปัญหาก๊าซเรือนกระจกประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทด้านพลังงานแห่งชาติ ตระหนักถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี และอยากชวนตั้งคำถามเพื่อแสวงหาแนวทางที่เราจะมีส่วนร่วมในการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงนี้ได้อย่างไรบ้าง ?
สิ่งที่ต้องตระหนักในลำดับต้นๆ เลยก็คือ เรากำลังบริโภคพลังงานเกินความจำเป็นใช่หรือไม่ พลังงานในความหมายนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การใช้น้ำมันหรือก๊าชธรรมชาติเท่านั้น แต่กินความกว้างไปถึง การบริโภคอาหาร การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง รวมถึงระบบการผลิตสิ่งต่างๆ ในอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งล้วนต้องอาศัยพลังงานหลักๆ จำพวกน้ำมัน ถ่านหิน ที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกทั้งสิ้น
ฉะนั้น การตั้งคำถามเพียงแค่ เราบริโภคพลังงานเกินความจำเป็นใช่หรือไม่นั้น อาจไม่สามารถจัดการได้อย่างลุล่วงเท่ากับการตั้งคำถามว่า เราจะบริหาร “ความอยากเกินพอดี” ของตัวเราได้อย่างไร ? ง่ายนิดเดียว
“อย่าอยากกินของไกลเกินตัว” การลดการบริโภคของต่างถิ่นหรือของต่างประเทศที่ต้องผ่านการขนส่งระยะทางไกล จะช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้อย่างเห็นผล เพราะการขนส่งระยะทางไกลๆ สิ้นเปลื้องทั้งน้ำมัน เวลา และจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทางอ้อมด้วย อย่าลืมว่า การฟรีซอาหารหรือการยืดอายุอาหารให้อยู่ได้นานๆ นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นตัวช่วย ฉะนั้นเลือกบริโภคสินค้าในท้องถิ่นหรือสินค้าที่ไม่ต้องพึ่งพาการขนส่งระยะทางไกลๆ เป็นทางเลือกที่เตือนตัวเองได้เป็นอย่างดี
“อย่าอยากกินเนื้อสัตว์มากเกินไป” ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าการทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่นั้น จำเป็นต้องใช้เนื้อที่ในการทำถึง 2 ใน 3 ของการทำการเกษตรทั้งหมด เมื่อต้องใช้พื้นที่มากจึงทำให้เกิดการเผาทำลายป่าเพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวมาเลี้ยงสัตว์ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของลูปที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกหรือสภาวะโลกร้อน เพราะพื้นที่สีเขียวลดจำนวนลงเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้การทำปศุสัตว์ยังก่อให้เกิดก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาล ฉะนั้นลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง และหันไปทานผักแทนบ้าง เป็นทางเลือกที่ดี นอกจากจะทำให้คุณกลายเป็นผู้ร่วมพิทักษ์โลกแล้ว ยังดีกับสุขภาพด้วย
“อย่าอยากใช้ของใหม่ตลอดเวลา” การรู้จักนำของเก่ามาใช้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย แต่กินความไปถึงกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อาทิ ถุงพลาสติก ที่นำวนกลับมาใช้ซ้ำได้หลายรอบ แค่เราลดการใช้ของใหม่ได้เพียงครึ่งหนึ่งที่เราเคยซื้อ จะส่งผลทางอ้อมไปสู่ผู้ผลิตโดยตรงว่า เขาควรจะปรับตัวอย่างไร และนั่นหมายความว่า เราได้ช่วยโลกใบนี้ประหยัดพลังงานได้อย่างมหาศาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท
ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024