‘VISAI’ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้ประโยชน์อะไรกับชีวิตและธุรกิจ?

ในยุคปัจจุบันประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกิดจากการพัฒนาโดยฝีมือคนไทย อันจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดีป้า (depa) ได้ร่วมมือกับ VISTEC จัดตั้ง ‘สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย’ ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการที่ครบวงจรสำหรับการศึกษา การทดลอง วิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ควบคู่กับการพัฒนาและวิจัยชุดข้อมูล เพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการนวัตกรรมดิจิทัล

เหตุเพราะความต้องการใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนี่เอง ส่งผลให้ depa และ VISTEC เปิดตัว VISAI โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการ Digital Solution ด้านการเชื่อมโยงเอไอ (AI-enabled) ในรูปแบบของแพลตฟอร์มที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในภาคธุรกิจและชีวิตประจำวัน

นอกจากนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า “แพลตฟอร์มของ VISAI ส่งเสริมการเรียนรู้ของเครื่อง Machine Learning ที่ล้ำสมัย พร้อมให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเอไอขั้นสูง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้กับพันธมิตร และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีเอไอก่อนก้าวสู่ตลาดสากล”

รศ.ดร.สรณะ นุชอนงค์ CEO บริษัท วิสัย เอไอ จำกัด ผู้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กล่าวถึง VISAI ว่า “เราเล็งเห็นโอกาสในการประยุกต์ใช้ Mega-tech Trend โดยตั้งใจจะพัฒนาและนำเสนอ ‘Al-enabled Solutions’ ที่มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ตามแนวคิด ‘AI for Everyone’ เนื่องจากในทางปฏิบัติ Data-centric AI ที่มีการพัฒนาให้ใกล้เคียงชอฟต์แวร์บริการนั้น มีส่วนช่วยลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอขั้นสูงแก่ผู้ที่ต้องการประยุกต์ใช้เอไอในการพัฒนาธุรกิจได้ และสามารถใช้โมเดลที่ทาง VISAI พัฒนาไว้พร้อมใช้งาน (Off-the shelf Model) จึงช่วยลดต้นทุนด้านเวลา รวมถึงต้นทุนด้านบุคลากร ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการลดข้อจำกัดด้านการใช้งาน (Entry Barrier) และทำให้การเข้าถึงเอไอเกิดขึ้นในวงกว้าง”  

ว่าแต่ว่า จุดเปลี่ยนของ AI ให้ประโยชน์อะไรกับชีวิตและธุรกิจบ้าง?

ดร.ธนชาติ ฤทธิ์บำรุง อาจารย์จากมหาวิทยาลัย NIDA และที่ปรึกษาด้าน Data Science ให้กับองค์กรและบริษัทชั้นนำในหลายประเทศ อธิบายให้เห็นภาพรวมว่า AI คือเทคโนโลยีตัวช่วยในด้านการคิด เขียน พูด ฟัง และอ่านอย่างอัจฉริยะ ซึ่งแล้วแต่ว่าเราจะนำมาใช้ประโยชน์ในแง่มุมไหน

“AI สามารถสร้างคอนเทนต์ช่วยในด้านการเขียน ทุกวันนี้บางองค์กรเริ่มมีการเทรนคนเขียนข่าวไปผูกกับ AI จากนั้นก็สร้าง AI ให้เขียนข่าวเอง หรือ AI สามารถพูดได้ผ่านหุ่นอวตารที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนใครก็ได้ ในด้านการฟัง บริษัทสตาร์ทอัพบางแห่งพยายามคิดทำเรื่องนี้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยให้คนบันทึกเสียงไอไว้ตอนที่ยังไม่ติดเชื้อและตอนที่ติดเชื้อ แล้วให้ AI เรียนรู้ว่าลักษณะการไอแบบไหนที่บ่งบอกอาการติดโควิด ส่วนการอ่าน AI สามารถอ่านเอกสารและรับรู้ได้ว่าเป็นเอกสารจริงหรือปลอม และสิ่งที่เราพยายามทำกันมานาน นั่นคือ เรื่องการคิด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การพยากรณ์ยอดขาย การคาดการณ์ในอนาคต ยกตัวอย่างองค์กรสินเชื่อ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าคนไหนเป็นลูกค้าชั้นดี AI สามารถคิดและคัดกรองให้ได้จากข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป”

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยเพิ่มพูนผลกำไร ลดต้นทุน จัดการแผนธุรกิจ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์การลงทุน รวมไปถึงจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

แต่ทั้งนี้การป้อนข้อมูลเพื่อสร้าง AI Model นั้นต้องคัดกรองคุณภาพของข้อมูลด้วย เพื่อให้ได้ AI ที่มีคุณภาพพร้อมใช้งานอย่างอัจฉริยะแท้จริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี

IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน

'ดีป้า' เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล ยกระดับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน

ดีป้า ส่งเสริมเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เดินหน้าเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ขับเคลื่อนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันภาคการเกษตรสำหรับบันทึก จัดเก็บข้อมูล ติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน

ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท

ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024