‘นิกร’ เบรก หาร 500 คำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ต้องใช้สูตร 100 ยันรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 กำหนดชัด ปัดเร่งถกกฎหมายลูกโยงกระแสรีบยุบสภา
7 มี.ค. 2565 – นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… รัฐสภา กล่าวถึงกรณีที่ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ เตรียมเสนอคำแปรญัตติขอใช้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยให้เป็นระบบปันส่วนผสม ว่า การเสนอคำแปรญัตติดังกล่าวสามารถเสนอได้ตามสิทธิของ ส.ส.
อย่างไรก็ดีในชั้น กมธ. ต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะประเด็นว่าคำแปรญัตติดังกล่าวจะขัดกับรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่1) พ.ศ. 2564 มาตรา 91 หรือไม่ เพราะมีเนื้อหาที่กำหนดไว้ชัดเจนว่า การคำนวณสัดส่วนส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ให้นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมารวมกัน แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งของพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์โดยตรงกับคะแนนรวมข้างต้น
“เจตนารมณ์ของมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่แก้ไข คือให้หารด้วยจำนวน 100 คน เพื่อให้เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์โดยตรง ไม่ใช่ใช้จำนวน 500 คน ซึ่งเป็นโดยอ้อม ส่วนที่มีการอ้างถึงถ้อยคำในมาตรา 93 และมาตรา 94 ของรัฐธรรมนูญนั้น ในชั้นการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการฯ เห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกัน และแม้ไม่แก้ไขจะไม่มีผลในทางบังคับใช้ เหมือนเป็นไส้ติ่งเท่านั้น มาตรา 93 และมาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวเนื่องกับบัตรเลือกตั้งใบเดียว และกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญเคยแก้ไขแล้ว แต่ถูกร้องว่าส่อขัดหลักการ จึงตัดออกภายหลัง แต่ในที่ประชุมมองว่าแม้คงไว้ไม่มีผลใดๆ ทิ้งไว้แบบเดิมไม่มีปัญหา”นายนิกร ระบุ
ทั้งนี้ หากมีผู้เสนอคำแปรญัตติในประเด็นดังกล่าว กมธ.ต้องรับและพิจารณา แต่จะมีปัญหาว่ารับแล้วจะผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากผู้ที่เสนอคำแปรญัตติแพ้ในชั้น กมธ. สามารถสงวนความเห็นไปสู้ในที่ประชุมรัฐสภาได้ ส่วนกรณีที่ นพ.ระวี ใช้สิทธิยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขกระทบสิทธิของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและพรรคการเมืองขนาดเล็กหรือไม่นั้น การทำงานของกมธ.ต้องเป็นไปตามกลไกของรัฐสภา จะหยุดพิจารณาไม่ได้
นายนิกร กล่าวถึงการประชุมกมธ.ฯ นัดที่สองและสาม ในวันที่ 9-10 มี.ค. ว่า กมธ.จะหารือร่วมกันในประเด็นที่เห็นต่างกัน เช่น การใช้หมายเลขผู้สมัคร จะใช้เบอร์เดียวกันทั้งแบบเขตและบัญชีรายชื่อ หรือแยกใช้คนละหมายเลข, การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นต้น เบื้องต้นจะคุยในหลักการ ก่อนลงรายละเอียดรายมาตรา นอกจากนั้นคือการกำหนดปฏิทินทำงาน โดยตนมองว่าระยะเวลาที่ปิดสมัยประชุม ถึงปลายเดือน พ.ค. เพียงพอในการทำงาน
เมื่อถามว่า การเร่งพิจารณาร่างกฎหมายลูก จะสัมพันธ์กับกระแสเร่งรีบยุบสภาหรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า หากรีบสามารถเปิดวิสามัญได้ แต่หากไม่รีบรอการเปิดประชุมในสมัยสามัญ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุมส่วนใหญ่จะพิจารณา ส่วนกระแสข่าวยุบสภานั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องปกติของสภาฯ ที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะเข้าสู่ช่วงปีที่ 4 ของสภาฯ และเป็นครั้งสุดท้ายของฝ่ายค้านที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ดังนั้นต้องจัดเต็ม เพราะมีโอกาสเดียว ส่วนรัฐบาลต้องตั้งรับเต็มที่ ดังนั้นไม่มีกลิ่นยุบสภาอะไรทั้งสิ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วราวุธ' ย้ำจุดยืน ไม่แตะ 'ม.112' แม้จะมี ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ หลายฉบับ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหั
'ประเสริฐ' โลกสวย! 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ฟาดกันกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่
'ประเสริฐ' ชี้ 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ปะทะคารมกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่ ปัดตอบ สส. เพื่อไทย โหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม โยนถามวิปรัฐบาล
'ภูมิธรรม' ชี้ 'นิรโทษกรรม' จบแล้ว! หลังสภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.
นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎรรับทราบรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง
'ทนายตั้ม' ตามจองเวร 'สามารถ' บี้ 'ปธ.สภา' ปลดพ้น กมธ. ทุกคณะ
'ทนายตั้ม' บุกสภา ยื่น 'วันนอร์' ปลด 'สามารถ' พ้นทุกตำแหน่งใน กมธ. เมินขู่ฟ้อง ประกาศเรียกชื่อดังๆ 3 ครั้ง เชื่อสาวถึงบิ๊กบอสยาก
'นิกร' แจง รายงานมี 3 ข้อเสนอ แต่ส่วนตัวไม่เห็นด้วย นิรโทษกรรม ม.110 ม.112
ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม รับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ
'วิสุทธิ์' เหน็บเห็บสภาฯ มิจฉาชีพแอบอ้างกมธ.ตบทรัพย์ ไม่รู้เป็นใครแต่ต้องจัดการ
ที่รัฐสภา นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะ ประธานวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ถึงที่นายวันมูหะมัดนอ