เพื่อไทย อัดยุบพรรคเล็กควบรวมพรรคใหญ่ ขัดเจตนารมณ์ รธน.

แฟ้มภาพ

ชลน่าน-รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อัดยุบพรรคเล็กรวมพรรคใหญ่ ขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ เปรียบเสมือนเป็นการยึดอำนาจคะแนนเสียงประชาชนเพื่อประโยชน์ของพรรคตัวเอง

22 ต.ค. 2564 - นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคเล็กหลายพรรคมีการยุบพรรคเพื่อรวมกับพรรคใหญ่ว่า รูปแบบการเมืองหลังจากนี้ถ้ามองในมุมลบ ถือเป็นการฝืนเจตนารมณ์ของประชาชนที่มอบอำนาจให้ เพราะการมอบอำนาจให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งนั้น เขาเต็มใจมอบอำนาจให้เพราะนโยบายคุณ แต่พอมีช่องว่างทางกฎหมายแล้วไปยุบรวมกันเช่นนี้ ถือเป็นการขัดเจตนารมณ์ประชาชน ไม่ให้เกียรติประชาชนที่เลือกตั้งมา

น.พ.ชลน่าน กล่าว่าอีกด้านหนึ่งของการยุบรวมเช่นนี้ จะทำให้กลไกของการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติบิดเบี้ยว สามารถใช้ความเป็นพรรคใหญ่ให้สิ่งแลกเปลี่ยน แรงจูงใจต่อพรรคเล็กให้มารวมกับตัวเองได้ เหมือนเป็นการเพิ่มกลไกใช้เสียงในสภาให้เป็นไปตามที่ตัวเองมุ่งหวัง ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ประชาชนตั้งแต่ต้น ถ้าประชาชนอยากให้พรรคพลังประชารัฐทำหน้าที่แทน เขาก็เลือกแต่ต้น แต่ที่เขาเลือกพรรคเล็กแสดงว่าไม่เห็นด้วยกับพรรคพลังประชารัฐเลยไม่เลือก แต่พอใช้กลไกนี้บิดเบือนเจตนารมณ์ประชาชน ถือว่าเป็นการยึดอำนาจคะแนนเสียงประชาชนเพื่อประโยชน์ของพรรคตัวเอง

รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนไม่ดีเยอะ แต่ก็มีที่เป็นส่วนดี เช่นต้องการให้พรรคการเมืองมีความยั่งยืน มีกระบวนการในการพัฒนาตัวเอง จึงมีเจตจำนงไม่ให้มีการยุบรวมหรือควบรวมในระหว่างอายุสภาฯ แต่ในกฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมือง มีบทบัญญติที่ย้อนแย้งกันเองระหว่าง ประเด็นการสิ้นสภาพของพรรคการเมือง ที่ให้การสิ้นสภาพของพรรคการเมืองตามข้อบังคับของพรรค ให้มีลักษณะเหมือนการยุบพรรคเพื่อคุ้มครองส.ส.ของพรรคการเมืองนั้นๆ หาพรรคการเมืองสังกัดใหม่สังกัดได้ตามเวลาที่กำหนดคือ 60 วัน กับการห้ามควบรวมพรรคระหว่างอายุสภา ที่ห้ามพรรคการเมืองหนึ่งไปควบรวมกับอีกพรรคการเมืองหนึ่ง หากจะควบรวมต้องรวมกันเป็นพรรคการเมืองใหม่เท่านั้น ไม่ใช่การยุบรวมตามที่เกิดขึ้น

ประเด็นนี้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากเป็นการย้อนแย้งกันเองในกฎหมายเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่ต้องแก้ไขกฎหมายที่มีความย้อนแย้งกันนี้เพื่อรักษาเจตจำนงของประชาชนไว้ให้ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178

นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178

นายกฯ ปลุกทุกภาคส่วน ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบ

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านวีดิทัศน์ว่า เนื่องในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ประจำปี 2567

'ภูมิธรรม' สดุดี 'ทักษิณ' ครองใจคนอุดรฯ พา พท. ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.

'ภูมิธรรม' ฟุ้งอุดรธานีหัวใจคนเพื่อไทยโดยแท้ ชนะเป็นเรื่องธรรมดา ยํ้า ปชช. ยังรัก 'ทักษิณ' ชอบผลงานที่ทำมา อุบ 'อิ๊งค์' ลงพื้นที่ขอบคุณ

ความจริง 'ชั้น 14' ชี้ชะตา 'รัฐบาลอิ๊งค์'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อายุรัฐบาลขึ้นกับความจริงบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)

'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง