'สาธิต ปิตุเตชะ' นั่งประธาน กมธ.กฎหมายลูกเลือกตั้ง เฉือน 'ไพบูลย์' 22 ต่อ 21

"สาธิต ปิตุเตชะ" นั่งประธานกมธ.กฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส. เฉือน "ไพบูลย์" 22 ต่อ 21 พร้อมตั้ง รองประธาน 8 คน "ศุภชัย-กาญจนารัตน์-ชินวรณ์-ธีรัจชัย" ไร้ชื่อ "ไพบูลย์" นั่งตำแหน่งสำคัญในกมธ.

1 มี.ค.2565 - ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ครั้งที่ 1 มีนายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ส.ว. ทำหน้าที่ประธานชั่วคราวในการประชุม เพื่อคัดเลือกตำแหน่งประธานกมธ.และตำแหน่งอื่นๆ

รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนของการชิงตำแหน่งประธานกมธ.นั้น ปรากฏว่า นายสมชาย แสวงการ ส.ว. เป็นผู้เสนอชื่อ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ขณะที่นายเกษมสันต์ มีทิพย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย เสนอชื่อนายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติ 22 ต่อ 21 เสียง เลือกนายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข เป็นประธานกมธ.วิสามัญฯ

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมนัดแรก นายสาธิตไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เนื่องจากติดภารกิจประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ทันทีที่มติที่ประชุมออก นายสาธิต ก็ยินดีรับตำแหน่งประธานกมธ.

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า สำหรับตำแหน่งต่างๆในคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ..... รัฐสภา ที่มีการประชุมนัดแรก เพื่อลงมติเลือกตำแหน่งในกมธ. มีดังนี้ 1.นายสาธิต ปิตุเตซะ รมช.สาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมาธิการ รองประธานกมธ. มี 8 คน ได้แก่ 1.นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ส.ว. เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง 2.นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองประธานสภาฯ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง 3.นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม 4.นายสมชาย แสวงการ ส.ว. เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สี่ 5. นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ห้า 6. นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หก 7.นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ส.ว. เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่เจ็ด 8.นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่แปด

ส่วนกรรมาธิการและที่ปรึกษา มี 10 คน ได้แก่ 1.นายกล้านรงค์ จันทิก ส.ว. 2.นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ 3.นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรคเพื่อไทย 4.พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ส.ว. 5.นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจไทย 6.นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีตรัฐมนตรี อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย 7.พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ส.ว. 8.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ 9.นายกิตติ วะสีนนท์ ส.ว. 10. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ส.ว.

ขณะที่ตำแหน่งโฆษกกรรมาธิการฯ มี 7 คน ดังนี้ 1.นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. 2.นายรงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ 3.นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) 4.น.ส.ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม ส.ว. 5.นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ 6.นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย และ 7.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล

ส่วนเลขานุการคณะกรรมาธิการ ได้แก่ นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา และนายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน

ปูดดีลใหญ่พลิก! จับตาสอย 'เศรษฐา' ดัน 'อนุทิน' นายกฯ

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

‘สรรเพชญ’ เบรก รบ.อย่าคิดขายชาติ ย้อน ‘พท.’ อย่าถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองซ้ำอีก

นายกรัฐมนตรีที่ได้รับสมญานามว่าเป็น เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ที่มีความต้องการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้สังคมเกิดความสงสัยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือต้องการเอื้อผลประโยชน์ให้กับใครหรือไม่

เหลียวหลังแลหน้า 92 ปี ปชต. กรีดดีลลับอันตราย! รัฐบาล มีโอกาสอยู่ครบเทอม

ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป การเมืองในรัฐสภาทั้งสภาล่างคือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงคือวุฒิสภา ที่ตอนนี้ผ่านกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

สภาฮั้วค่าย 'สีน้ำเงิน' ยึดสว. วงจรอุบาทว์การเมืองไทย

ผลการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้รายชื่อว่าที่ สว.จำนวน 200 คน และสำรอง 100 คน ครบแล้ว โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)