28 ก.พ.2565 - น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยน่าเป็นห่วงมาก ทั้งจากการบริหารเศรษฐกิจที่ผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี การบริหารจัดการการระบาดของโควิด-19 ทั่วประเทศ และสถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซียกับยูเครน ที่ไทยอาจได้รับผลกระทบ ใน 2 ด้าน ได้แก่
1.สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจจะพุ่งเกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และจะเพิ่มสูงขึ้นทุบสถิติในรอบ 10 ปี ส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันในประเทศพุ่งขึ้นอีก 2.ธัญพืช ข้าวสาลี อาหารสัตว์ ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่ไทยนำเข้าจากยูเครน ราคาได้ปรับขึ้นแล้วเฉลี่ย 50% ซึ่งจะทำให้ราคาอาหารสัตว์ และราคาปุ๋ยที่ปัจจุบันราคาสูงอยู่แล้ว จะเพิ่มสูงขึ้นอีก เกษตรกรนาไร่ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์จะได้รับผลกระทบหนัก
น.ส.ตรีชฎากล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้คนไทยทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ประสบวิบากกรรมซ้ำเติม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อการนำเข้าและส่งออกของไทย หากรัฐบาลไม่เตรียมพร้อมในการรับมือได้ทันท่วงที ผู้ประกอบการด้านขนส่งคมนาคม และผู้ใช้รถเดือดร้อนหนัก พลเอกประยุทธ์คงไม่สามารถเอารถทหารมาขนส่งสินค้าแทนไม่ไหวแน่ เพราะทุก 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร และกรณีเลวร้าย หากเกิดสงคราม คาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นถึง 120 ดอลลาร์ต่อบาเรล และจะกระทบต่อราคาน้ำมันถึง 6 บาทต่อลิตร รัฐบาลได้เตรียมมาตรการในการแก้ไขปัญหาตรงนี้อย่างไรบ้าง
สำหรับรัสเซียและยูเครนเป็นประเทศผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก เมื่อเกิดสงครามทำให้ระดับราคาข้าวสาลีพุ่งสูงขึ้นทันที เป็น 12.75 บาท/กก. จากราคา 8.91 บาท/กก.ในปี 2564 ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย พุ่งสูงกว่าตลาดโลกไปอยู่ที่ 12 บาท/กก. และมีแนวโน้มขยับต่อเนื่องไปถึง 15 บาท/กก.
ขณะนี้ไม่มีข้าวโพดในประเทศเหลือให้ซื้อ เกิดปัญหาไม่มีวัตถุดิบป้อนโรงงาน ล่าสุด โรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลืองอ้างผลกระทบจากสงครามยูเครน ประกาศราคาขายกากถั่วเหลืองที่ 22.50 บาท/กก. จากราคา 18.91 บาท/กก.ในปี 2564 กระทบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคหนัก ราคาน้ำมันพืชขยับตัวสูงมาก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ไม่มีอาหารเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรต้องพักเล้างดการเลี้ยง จะส่งผลถึงความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของประเทศหากวางแผนรับมือไม่ทัน รัฐบาลยุคนี้อาจจะเป็นยุคที่เกษตรกรเลิกเป็นเกษตรกรทั้งประเทศเพราะไม่สามารถทานทนต่อต้นทุนการผลิตไม่ไหว
“พล.อ.ประยุทธ์ เป็นทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กุมบังเหียนคุมเศรษฐกิจ ท่านต้องสั่งการให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชยย์ออกมาตรการล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหาช่วยพี่น้องเกษตรและผู้ประกอบการขนส่งและประชาชนทันที อย่าปล่อยให้ปัญหาเกิดแล้วมาวิ่งตามเหมือนปัญหาราคาหมู ท่านต้องแก้ปัญหาต้นทาง ไม่ใช่แก้ปลายทาง หากแก้ปลายทางท่านก็เหมาะกับการเป็นผู้ตาม ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแลัวให้คนมีความสามารถมาแก้ปัญหา ก่อนจะพังกันหมด” น.ส.ตรีชฎา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476